https://li03.tci-thaijo.org/index.php/TRRJ/issue/feed วารสารวิชาการข้าว 2024-12-19T01:57:17+07:00 กองบรรณธิการ ploypilin.t@rice.mail.go.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการข้าว</strong> เป็นวารสารราย 6 เดือน ของกรมการข้าว ประกอบด้วย 2 ฉบับต่อปี ได้แก่ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและบทความวิชาการด้านข้าว</p> <p>โดยบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ต้องเป็นบทความวิจัย (research articles) และบทความปริทัศน์ (review articles) ทางวิชาการด้านข้าว ที่มีเนื้อหาสาระทั้งทางด้านพันธุ์ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม เทคโนโลยีการผลิต การอารักขา เทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป วิทยาการเมล็ดพันธุ์และมาตรฐานพันธุ์ รวมทั้งสาขาและวิทยาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าว ครอบคลุมทั้งประเภทงานวิจัยพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์ โดยบทความที่ตีพิมพ์ทุกเรื่องต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองด้วยระบบการตรวจอ่านแบบผู้ประเมินบทความและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (double-blinded review system) โดยผู้ประเมินบทความจากภายนอกหน่วยงาน (external reviewers) จำนวน 2 ท่าน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>วารสารวิชาการข้าว</strong> เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Citation Index, TCI) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI วารสารกลุ่มที่ 1 ตามผลผลการประเมินคุณภาพวารสารใหม่เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยมีระยะเวลาการรับรองคุณภาพวารสารตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ไปจนถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567</p> https://li03.tci-thaijo.org/index.php/TRRJ/article/view/107 ข้าวเจ้าพันธุ์ กข103 (หอมชัยนาท 72) 2024-04-11T21:17:46+07:00 อนรรฆพล บุญช่วย anakpol.boo@rice.mail สมพงษ์ เฉยพันธ์ thairrj.rd@gmail.com ดวงกมล บุญช่วย thairrj.rd@gmail.com ชัยรัตน์ จันทร์หนู thairrj.rd@gmail.com ดวงพร วิธูรจิตต์ thairrj.rd@gmail.com ชณินพัฒน์ ทองรอด thairrj.rd@gmail.com วราลี เจียมเงิน thairrj.rd@gmail.com พงศา สุขเสริม thairrj.rd@gmail.com อภิชาติ เนินพลับ thairrj.rd@gmail.com เปรมกมล มูลนิลตา thairrj.rd@gmail.com อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ thairrj.rd@gmail.com สอาง ไชยรินทร์ thairrj.rd@gmail.com ดวงอร อริยพฤกษ์ thairrj.rd@gmail.com ควพร พุ่มเชย thairrj.rd@gmail.com สุมาลี สังข์เปรม thairrj.rd@gmail.com ภมร ปัตตาวะตัง thairrj.rd@gmail.com เจตน์ คชฤกษ์ thairrj.rd@gmail.com สุพัตรา สุวรรณธาดา thairrj.rd@gmail.com มณฑิชา ถุงเงิน thairrj.rd@gmail.com พิกุล ซุนพุ่ม thairrj.rd@gmail.com เกสินี ทบด้าน thairrj.rd@gmail.com จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์ thairrj.rd@gmail.com วิภาวดี ทองเอก thairrj.rd@gmail.com นัยกร สงวนแก้ว thairrj.rd@gmail.com <p>พื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางประมาณ 4.27 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเพียงพอในการให้ผลผลิตข้าวได้ เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกข้าวไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งพันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงที่มีคุณภาพในการหุงต้มและรับประทานดี โดยเฉพาะข้าวพื้นนุ่มแต่อายุข้าวค่อนข้างหนัก เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวอายุปานกลาง ซึ่งไม่เหมาะสำหรับพื้น ที่ที่ต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตเร็ว นอกจากนี้การระบาดของโรคข้าวที่รุนแรง ก็ทำให้คุณภาพของข้าวลดลง และผลผลิตเสียหายร้อยละ 20-50 ดังนั้น เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพสำหรับการบริโภคที่ต้องการข้าวพื้นนุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม รวมทั้ง มีอายุเบา ผลผลิตสูง คุณภาพดี ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง สำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง จึงดำเนินการพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยการผสมสามทางระหว่าง สายพันธุ์ KLG88028-22-1-2-2 กับลูกผสมชั่วที่ 1 ของสายพันธุ์ SPR88096-17-3-2-2 และพันธุ์ IR60 ปลูกและคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 1 และ 2 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ต่อมาปลูกและคัดเลือกแบบสืบประวัติตั้งแต่ชั่วที่ 3-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท จนได้สายพันธุ์ PSL97060-17-CNT-1-2-1 จากนั้น ดำเนินการตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่การเปรียบเทียบผลผลิต ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี คุณภาพการสี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน จนถึงการยอมรับของเกษตรกรในพื้นที่และเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษาในปี พ.ศ. 2567 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง โดยใช้ชื่อว่าข้าวเจ้าพันธุ์ “กข103” (หอมชัยนาท 72) ชึ่งเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเบา ออกดอกประมาณวันที่ 15 ตุลาคม ความสูง 139 เซนติเมตรรวงยาว 30.9 เซนติเมตร ผลผลิตเฉลี่ย 596 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 178 เมล็ด เมล็ดข้าวกล้องยาว 8.22 มิลลิเมตร ระยะพักตัว 6-7 สัปดาห์ ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 54.0 เป็นข้าวอมิโลสต่ำ (ร้อยละ17.3) ข้าวสวยมีสีขาวนวล นุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม (ปริมาณ 2AP = 0.98-1.25 ppm) ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งในเขตภาคกลาง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาอาศัยน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทั้งในพื้นที่ลุ่มและที่ดอน สำหรับข้อควรระวัง คือ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งในเขตภาคเหนือตอนล่าง ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 กรมการข้าว https://li03.tci-thaijo.org/index.php/TRRJ/article/view/117 ข้าวเจ้าจาปอนิกาพันธุ์ กขจ1 (วังทอง 72) 2024-10-21T20:57:28+07:00 เบญจวรรณ พลโคตร benjap@rice.mail อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ thairrj.rd@gmail.com สอาง ไชยรินทร์ thairrj.rd@gmail.com บุษกร มงคลพิทยาธร thairrj.rd@gmail.com ภมร ปัตตาวะตัง thairrj.rd@gmail.com ควพร พุ่มเชย thairrj.rd@gmail.com เจตน์ คชฤกษ์ thairrj.rd@gmail.com สุมาลี สังข์เปรม thairrj.rd@gmail.com เกษศิณี พรโสภณ thairrj.rd@gmail.com พูลเศรษฐ์ พรโสภณ thairrj.rd@gmail.com ชโลทร หลิมเจริญ thairrj.rd@gmail.com คณิตา เกิดสุข thairrj.rd@gmail.com มณฑิชา ถุงเงิน thairrj.rd@gmail.com อลิษา เสนานุชย์ thairrj.rd@gmail.com อาทิตย์ กุคำอู thairrj.rd@gmail.com บังอร เฉยบาง thairrj.rd@gmail.com ประดิษฐ์ อุ่นถิ่น thairrj.rd@gmail.com ชัชชัย ทิพย์เคลือ thairrj.rd@gmail.com ชวนชม ดีรัศมี thairrj.rd@gmail.com ชัยรัตน์ จันทร์หนู thairrj.rd@gmail.com ดวงกมล บุญช่วย thairrj.rd@gmail.com ปรารถนา สุขศิริ thairrj.rd@gmail.com โสพิต บุญธรรม thairrj.rd@gmail.com อำนวย รอดเกษม thairrj.rd@gmail.com วัชรีย์ อยู่สิงห์ thairrj.rd@gmail.com นิตยา ขุนบรรเทา thairrj.rd@gmail.com วิภาวดี ทองเอก thairrj.rd@gmail.com ณัฏฐนิช ถาวรแก้ว thairrj.rd@gmail.com Urassaya Kuanruen thairrj.rd@gmail.com กรสิริ ศรีนิล thairrj.rd@gmail.com ศิริลักษณ์ ใจบุญทา thairrj.rd@gmail.com กัลยา บุญสง่า thairrj.rd@gmail.com ปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม thairrj.rd@gmail.com อาทิตยา ยอดใจ thairrj.rd@gmail.com ไพโรจน์ โชตินิสากรณ์ thairrj.rd@gmail.com พิชชาทร เรืองเดช thairrj.rd@gmail.com อัญชลี ตาคำ thairrj.rd@gmail.com คคนางค์ ปัญญาลือ thairrj.rd@gmail.com พันนิภา ยาใจ thairrj.rd@gmail.com กาญจนา พิบูลย์ thairrj.rd@gmail.com เฉลิมขวัญ ฉิมวัย thairrj.rd@gmail.com มุ่งมาตร วังกะ thairrj.rd@gmail.com กุลชนา ดาร์เวล thairrj.rd@gmail.com อภิชาติ เนินพลับ thairrj.rd@gmail.com กัลย์ฐิตา สวงโท thairrj.rd@gmail.com <p>ข้าวจาปอนิกา จัดอยู่ในกลุ่มข้าวตลาดเฉพาะ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีจำกัด อีกทั้งคุณภาพผลผลิตยังมีข้อบกพร่อง พื้นที่ปลูกหลักอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศ เนื่องจากมีอากาศค่อนข้างเย็น เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ปัจจุบันตลาดมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นร้อยละ 15-20 ทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้ภายในประเทศ ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปภาคเหนือตอนล่าง เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าจาปอนิกา ให้ต้านทานต่อโรคไหม้มีคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ หุงต้มและรับประทานดี เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย และศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จึงได้ร่วมกันปรับปรุงพันธุ์โดยการผสมเดี่ยว ระหว่างสายพันธุ์ข้าว PSL95037-25-1-2-PAN-1 กับพันธุ์ Shubu ปลูกคัดเลือกชั่วที่ 2 ถึง 8 ได้สายพันธุ์ CRI12026-6-9-PSL-4-1-1-1 ปลูกศึกษาพันธุ์และศึกษาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอน คือ การเปรียบเทียบผลผลิต ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี คุณภาพการสี คุณภาพการหุงต้มและรับประทานและการยอมรับของเกษตรกรในพื้นที่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2555-2563 และเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2567 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ใช้ชื่อว่าข้าวพันธุ์ “กขจ1” (วังทอง 72) เป็นข้าวเจ้าจาปอนิกาไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกโดยวิธีปักดำ อายุเก็บเกี่ยว 98-113 วัน (ฤดูนาปี) และ 105-123 วัน (ฤดูนาปรัง) ลักษณะทรงกอตั้งสูงประมาณ 93 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวเข้ม ใบตั้งตรง ใบธงยาว 37.1 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร มุมใบธงปานกลาง รวงยาว 21.5 เซนติเมตร รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว 5.4 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 116 เมล็ด เมล็ดร่วงยาก ผลผลิตเฉลี่ย 755 กิโลกรัมต่อไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิตสูง 953 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเปลือกสีฟาง มีหาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 7.65 มิลลิเมตร กว้าง 3.36 มิลลิเมตร หนา 2.25 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง รูปร่างป้อม เมล็ดยาว 5.41 มิลลิเมตร กว้าง 2.85 มิลลิเมตร หนา 2.00 มิลลิเมตร ข้าวสารเมล็ดยาว 5.18 มิลลิเมตร กว้าง 2.79 มิลลิเมตร หนา 1.99 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย (0.61) คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 65.5 ไม่มีระยะพักตัว เป็นข้าวอมิโลสต่ำ (ร้อยละ 17.31) ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (ระยะทางการไหลของน้ำ แป้ง 94 มิลลิเมตร) อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ อัตราการยืดตัวของข้าวสุกปกติ (1.85 เท่า) ข้าวหุงสุก มีลักษณะนุ่มเหนียว ไม่มีกลิ่นหอม สีขาวนวล เลื่อมมันเล็กน้อย ความเกาะตัวค่อนข้างเหนียว เนื้อสัมผัสค่อนข้างนุ่ม มีรสหวานเล็กน้อย ต้านทานต่อโรคไหม้ อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำ ตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนบน และตอนล่างที่มีอากาศเหมาะสม</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 กรมการข้าว https://li03.tci-thaijo.org/index.php/TRRJ/article/view/116 ข้าวเหนียวพันธุ์ กข26 (เชียงราย 72) 2024-10-21T21:01:18+07:00 พายัพภูเบศวร์ มากกูล payapp@rice.mail นุจรินทร์ จังขันธ์ โกเมส เด ฟาเรียส thairrj.rd@gmail.com กัลยา บุญสง่า thairrj.rd@gmail.com กรสิริ ศรีนิล thairrj.rd@gmail.com ศิริลักษณ์ ใจบุญทา thairrj.rd@gmail.com อุรัสยาน์ ขวัญเรือน thairrj.rd@gmail.com ปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม thairrj.rd@gmail.com ดนัย จันต๊ะคาด thairrj.rd@gmail.com จรัญ ลือเลิศ thairrj.rd@gmail.com จิณณ์ณณัช อาษา thairrj.rd@gmail.com ภิรุณ ตั้งเจริญโกศล thairrj.rd@gmail.com เมวิกา นางแล thairrj.rd@gmail.com อาทิตยา ยอดใจ thairrj.rd@gmail.com อภิวัฒน์ หาญธนพงศ์ thairrj.rd@gmail.com อัญชลี ตาคำ thairrj.rd@gmail.com สกุล มูลคำ thairrj.rd@gmail.com คคนางค์ ปัญญาลือ thairrj.rd@gmail.com กุลชนา ดาร์เวล thairrj.rd@gmail.com เฉลิมขวัญ ฉิมวัย thairrj.rd@gmail.com อดุลย์ สิทธิวงศ์ thairrj.rd@gmail.com กาญจนา พิบูลย์ thairrj.rd@gmail.com พันนิภา ยาใจ thairrj.rd@gmail.com ปิยะวรรณ ใยดี thairrj.rd@gmail.com เปรมฤดี ปินทยา thairrj.rd@gmail.com นงนุช ประดิษฐ์ thairrj.rd@gmail.com ผกากานต์ ทองสมบูรณ์ thairrj.rd@gmail.com ศิวะพงศ์ นฤบาล thairrj.rd@gmail.com วัชรี สุขวิวัฒน์ thairrj.rd@gmail.com ปราณี มณีนิล thairrj.rd@gmail.com อภิชาติ เนินพลับ thairrj.rd@gmail.com <p>เกษตรกรในภาคเหนือตอนบนปลูกข้าวเหนียวเพื่อการค้าและการบริโภค พื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด ข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก เนื่องจากคุณภาพหุงต้มและรับประทานดี ผลผลิตสูง แต่อายุเก็บเกี่ยวมากกว่า 130 วัน ประกอบกับเชื้อสาเหตุโรคไหม้ในปัจจุบันมีความหลากหลายของสายพันธุ์เชื้อ เป็นสาเหตุให้ผลผลิตข้าวลดต่ำลง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสงผลผลิตสูง อายุเก็บเกี่ยวสั้น ลงและต้านทานต่อโรคไหม้ของภูมิภาค ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ได้ดำเนินการผสมแบบผสมเดี่ยว ระหว่างข้าวเหนียวสายพันธุ์ PRE98002-PAN-B-12-1-1 เป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 ผลผลิตสูงต้านทานต่อโรคไหม้ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เป็นพันธุ์พ่อ ปลูกข้าวสายพันธุ์ผสมชั่วที่ 1-6 แบบสืบตระกูลทั้งฤดูนาปรังและนาปี ได้สายพันธุ์ CRI13055-1-1-2-1 ศึกษาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอน คือ ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว ทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ประเมินการยอมรับของเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการโรงสี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2565 และเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2567คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ใช้ชื􀃉อว่าข้าวเหนียวพันธุ์ “กข26 (เชียงราย 72)” เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี􀃉ยวประมาณ 130 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีปักดำ ผลผลิตเฉลี่ย 780 กิโลกรัมต่อไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิต 1,152 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงกอตั้งความสูงประมาณ 111 เซนติเมตร ลำต้นแข็ง ความยาวรวง 28.5 เซนติเมตร ลักษณะรวงค่อนข้างแน่น คอรวงยาว จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 117 เมล็ด น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 32.41 กรัม ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์ เปลือกสีฟาง ข้าวเปลือกความยาวเฉลี่ย 10.67 มิลลิเมตร กว้าง 3.08 มิลลิเมตร หนา 2.16 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว เมล็ดยาว ความยาวเฉลีย􀃉 7.55 มิลลิเมตร กว้าง 2.44 มิลลิเมตร หนา 1.93 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 57.8 อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวนึ่ง สุกเนื้อสัมผัสนุ่ม ค่อนข้างเหนียว ต้านทานต่อโรคไหม้ระยะกล้าในภาคเหนือตอนบน เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนบน ข้อควรระวัง คือ อ่อนแอต่อโรคไหม้คอรวง โรคขอบใบแห้ง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 กรมการข้าว https://li03.tci-thaijo.org/index.php/TRRJ/article/view/98 ประสิทธิภาพของสารสกัดข้าวป่า Oryza officinalis Wall และ O. punctata Kotschy ต่อการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens (Stål) 2024-04-19T19:32:51+07:00 รัตติกาล อินทมา rattigan.int@rice.mail.go.th รัตนวรรณ จันทร์ศศิธร thairrj.rd@gmail.com ผกามาศ วงค์เตย์ thairrj.rd@gmail.com สุภาพร มีประเสริฐ thairrj.rd@gmail.com กมลวรรณ แย้มบุญทับ thairrj.rd@gmail.com ปนัดดา มาเพ้า thairrj.rd@gmail.com พีรพล ม่วงงาม thairrj.rd@gmail.com กนกอร วุฒิวงศ์ thairrj.rd@gmail.com กุลชนา ดาร์เวล thairrj.rd@gmail.com <p>การรวบรวมอนุรักษ์พันธุ์ข้าวป่าทีสำรวจพบในประเทศไทยโดยศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมการข้าว เพื่อเป็นฐานทรัพยากรข้าวป่าสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรม โดยข้าวป่า O. officinalis ที่รวบรวมจากจังหวัดชุมพร เชียงราย สระบุรี นนทบุรี และกรุงเทพฯ มีรายงานการศึกษา พบว่า มีปฏิกิริยาต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สารชีวเคมีในสารสกัดข้าวป่า และทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การออกฤทธิ์เป็นสารไล่ ยับยั้งการกินอาหาร ระยะเวลาและอัตราที่เหมาะสม ดำเนินการภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการควบคุมอุณหภูมิ 27±1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 เปอร์เซ็นต์ และสภาพโรงเรือนทดลองอุณหภูมิ 37±1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 40-45 เปอร์เซ็นต์ ณ สถาบัน<br />วิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563-กันยายน 2566 ผลการศึกษา พบว่า สารชีวเคมีที่ได้จากข้าวป่า และมีความเกี่ยวข้องกับกลไกการยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ได้แก่ สาร neophytadiene, phytol, stigmasterol และ dibutyl สารสกัดข้าวป่า O. officinalis มีประสิทธิภาพการไล่ตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากทีสุดร้อยละ 72.50 ในเวลา 24 ชั่วโมง หลังได้รับสาร และร้อยละ 68.75 ในเวลา 48 ชั่วโมง สารสกัดข้าวป่า O. punctata สามารถยับยั้งการดูดกินอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้มากที่สุด การพ่นสารสกัดข้าวป่าลงบนพันธุ์ข้าว PTB33 และปทุมธานี 1 พบจำนวนตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับพันธุ์ ไทชุงเนทีฟ 1 และ กข43 และระยะเวลาการพ่นที่เหมาะสมคือทุก 15 วัน ด้วยความเข้มข้นของสาร 10 เปอร์เซ็นต์ (v/v) จากผลการศึกษานี้เป็นแนวทางนำสารสกัดข้าวป่ามาพัฒนาต่อยอดในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพื่อการผลิตข้าวอย่างปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพันธุ์ข้าวป่าต่อไป</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 กรมการข้าว https://li03.tci-thaijo.org/index.php/TRRJ/article/view/105 การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีของเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2024-05-03T19:03:50+07:00 พัชร์ธนวัญญ์ สมานิตย์ pattanawansam@rice.mail.go.th มานะชัย รอดชื่น thairrj.rd@gmail.com <p>การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการผลิตข้าวได้ แต่เมล็ดพันธุ์ดีที่ผลิตจากภาครัฐและเอกชนยังมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะกระจายให้เกษตรกรได้ใช้ยังไม่ทั่วถึง ปี พ.ศ. 2563-2564 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกลุ่มภาคเหนือตอนบน ได้มีการกระจายเล็ดพันธุ์ดีไปจังหวัดเชียงราย จำนวน 2,233.9 ตัน แต่ร้อยละ 38 ของพื้นที่จังหวัดเชียงรายยังขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีของเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวในปีการผลิต 2563/64 จำนวน 399 ราย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลอง logistic regression พบจำนวนเกษตรกร 366 ราย เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และเกษตรกรที่ไม่เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวน 33 ราย โดยพบว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง คือ ข้าวเหนียวพันธุ์กข6 โดยมีการให้ความสำคัญกับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีตราสินค้า พื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ในทางตรงกันข้าม เกษตรกรที่เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ราคาถูก และเกษตรกรที่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง มีโอกาสที่จะเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีน้อยกว่าเกษตรกรที่ไม่สนใจด้านราคาของเมล็ดพันธุ์ข้าว หรือจะมีการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อใช้เพาะปลูกเป็นประจำ</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 กรมการข้าว https://li03.tci-thaijo.org/index.php/TRRJ/article/view/103 ผลของปัจจัยด้านประชากร การเกษตร และเครื่องจักรกลเกษตร ที่มีต่อผลผลิตข้าวและอ้อย 2024-04-11T21:23:48+07:00 วรางค์รัตน์ ฎาณวรรณ chwarangrat@gmail.com นพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์ thairrj.rd@gmail.com <p>เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลต่อจำนวนเกษตรกรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้ความสามารถในการทำการเกษตรลดลง และอาจมีผลต่อผลผลิตการเกษตร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและผู้ปลูกอ้อย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากทะเบียนเกษตรกร ปี พ.ศ. 2564 จากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เกณฑ์คัดเลือกอายุตั้งแต่ 20 ปี เป็นต้นไป มากำหนดช่วงอายุของหัวหน้าครัวเรือน 3 ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 20-45 ปี วัยแรงงานตอนต้น ช่วงอายุ 46-59 ปี วัยแรงงานตอนปลาย และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ของหัวหน้าครัวเรือนที่เพาะปลูกข้าวและอ้อย จำนวนของครัวเรือนที่ปลูกข้าว 3,050,426 ครัวเรือน และจำนวนครัวเรือนที􀃉ปลูกอ้อย 18,947 ครัวเรือน โดยผู้วิจัยใช้ผลผลิตเป็นตัวแปรตาม ปัจจัยด้านประชากร (เพศ อายุ การศึกษา) ด้านการเกษตร (เขตพื้นที่ การถือครอง และแหล่งน้ำ) และเครื่องจักรกลเกษตร (เครื่องจักรกลเกษตร 8 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 เครื่องต้นกำลัง กลุ่ม 2 เครื่องมือเตรียมดิน กลุ่ม 3 เครื่องปลูก กลุ่ม 4 เครื่องมือดูแลรักษา กลุ่ม 5 เครื่องมือเก็บเกี่ยว กลุ่ม 6 เครื่องสูบน้ำ กลุ่ม 7 รถบรรทุกการเกษตร และกลุ่ม 8 เครื่องมือหลังเก็บเกี่ยว) เป็นตัวแปรอิสระ จำนวน 17 และ 16 ตัวแปรสำหรับข้าว และอ้อย ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาสำหรับข้าว พบว่า ด้านประชากร หัวหน้าครัวเรือนเพศชาย อายุ 60 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น สามารถสร้างผลผลิตได้ดี ด้านการเกษตร เขตพื้นที่ภาคกลาง การเช่าที่ดินในการเกษตร พื้นที่เกษตรอยู่ในเขตชลประทาน และอยู่ใกล้แหล่งน้ำการเกษตร สามาถสร้างผลผลิตได้ดี และในด้านเครื่องจักรกลเกษตร การถือครองเครื่องจักรกลเกษตรกลุ่ม 1 สามารถสร้างผลผลิตได้มากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่ม 3 7 และ 4 สำหรับอ้อย พบว่า ด้านประชากร หัวหน้าครัวเรือนเพศหญิง ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย และมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มากกว่า 2 คนขึ้นไป สามารถสร้างผลผลิตได้ดี ด้านการเกษตร เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การถือครองที่ดิน พื้นที่เกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน และอยู่ใกล้แหล่งน้ำ การเกษตรสามารถสร้างผลผลิตเพิ่ม และในด้านเครื่องจักรกลเกษตร การถือครองเครื่องจักรกลเกษตรกลุ่ม 5 สามารถสร้างผลผลิตได้มากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่ม 2</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 กรมการข้าว