ข้าวเหนียวพันธุ์ กข24 (สกลนคร 72)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ฤดูปลูกปี 2563/2564 ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวเหนียวร้อยละ 85 ใช้สำหรับบริโภคภายในประเทศ และประมาณร้อยละ 9 สำหรับการส่งออก พันธุ์ กข6 นิยมปลูกมากที่สุดเพราะคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีกลิ่นหอม แต่ให้ผลผลิตต่ำ ลำต้นสูง หักล้มง่าย และอ่อนแอต่อโรคไหม้ เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ลำต้นเตี้ย ต้านทานการหักล้ม ต้านทานต่อโรคไหม้ ดีกว่าพันธุ์ กข6 และ กข18 เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมการข้าว และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จึงร่วมกันพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยการผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยวระหว่างข้าวเหนียวสายพันธุ์ RGDU07585-7-MAS35-4 ซึ่ง ลำต้นเตี้ย มีชิ้นส่วนพันธุกรรม (quantitative trait loci (QTL)) ให้เกิดความต้านทานต่อโรคไหม้ 1 ตำแหน่ง บนโครโมโซม 11 (qBl11) และมียีนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง xa5 เป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเหนียวสายพันธุ์ RGDU07123-12-22-5 ซึ่งลำต้นสูง คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีความต้านทานต่อโรคไหม้แบบกว้าง (broad-spectrum resistance) มี QTL ความต้านทานต่อโรคไหม้ 4 ตำแหน่งบนโครโมโซม 1 2 11 12 (qBl1, qBl2, qBl11, qBl12) เป็นพันธุ์พ่อ โดยการผสมพันธุ์แบบเดี่ยว ปลูกคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ผสมชั่วที่ 3 ถึง 6 แบบสืบตระกูล ปลูกคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ผสมชั่วที่ 7 ถึง 10 แบบสืบตระกูล จนได้สายพันธุ์ RGDU10017-1-MAS-49-4-1-NKI-1-3-1-2 ศึกษาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอน คือ การเปรียบเทียบผลผลิต ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณภาพการสีคุณภาพเมล็ดทางเคมี คุณภาพการหุงต้ม และรับประทาน และการยอมรับของเกษตรกรในพื้นที่ และเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2567 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ใช้ชื่อว่า ข้าวเหนียวพันธุ์ “กข24” (สกลนคร 72) เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี ออกดอกร้อยละ 50 ประมาณวันที่ 21 ตุลาคม เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 23 พฤศจิกายน ผลผลิตเฉลี่ย 663 กิโลกรัมต่อไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุด 1,002 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงกอตั้ง ความสูงประมาณ 96 เซนติเมตร ลำต้นเตี้ย แข็งมาก ต้านทานการหักล้มดีกว่าพันธุ์ กข6 และ กข18 รวงยาว 25.7 เซนติเมตร ลักษณะรวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้น จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 170 เมล็ด น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 27.0 กรัม เปลือกสีน้ำตาล ข้าวเปลือกมีความยาวเฉลี่ย 10.13 มิลลิเมตร กว้าง 2.78 มิลลิเมตร หนา 2.03 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว มีความยาวเฉลี่ย 7.08 มิลลิเมตร กว้าง 2.22 มิลลิเมตร หนา 1.76 มิลลิเมตร จัดเป็นข้าวเหนียวเมล็ดยาว รูปร่างเรียว (อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 3.19) คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 42.2 อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ เมื่อนึ่ง สุกเนื้อ สัมผัสนุ่ม ระยะพักตัวของเมล็ด 9 สัปดาห์ ต้านทานต่อโรคไหม้ระยะกล้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนะนำให้ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการระบาดของโรคไหม้ แต่อ่อนแอต่อโรคไหม้คอรวง โรคขอบใบแห้ง แมลงบั่ว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
Article Details
References
กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง. 2561. รายงานผลการทดลองโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2560. กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง, กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 67 หน้า.
_____________________. 2562. รายงานผลการทดลองโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2561. กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง, กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 73 หน้า.
_____________________. 2563. รายงานผลการทดลองโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2562. กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง, กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 99 หน้า.
_____________________. 2564. รายงานผลการทดลองโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2563. กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง, กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 70 หน้า.
_____________________. 2565. รายงานผลการทดลองโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2564. กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง, กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 50 หน้า.
_____________________. 2566. รายงานผลการทดลองโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2565. กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง, กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 58 หน้า.
ดารา เจตนะจิตร, นงรัตน์ นิลพานิชย์, พากเพียร อรัญนารถ, วิชิต ศิริสันธนะ, วิชชุดา รัตนากาญจน์, วันชัย โรจนหัสดิน, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ และธัญลักษณ์ อารยาพันธ์. 2550. โรคข้าวและการป้องกันกำจัด. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 68 หน้า.
วัชระ ภูรีวิโรจน์กุล. 2542. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานโรคแมลง. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีสถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 200 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. สืบค้นจาก: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/พันธุ์ข้าวนาปี%2063.pdf. (5 กรกฎาคม 2565)
สมศักดิ์ ทองดีแท้. 2543. โรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด. กลุ่มอารักขาข้าว, ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี. จ.ปทุมธานี. 110 หน้า.
Heinrichs, E.A., F.G. Medrano and H.R. Rapusus. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines. 352 p.
IRRI. 2014. Standard Evaluation System for Rice (SES). IRRI (International Rice Research Institute). Los Baños. Philippines.
Kahn, R.P. and J.L. Libby. 1958. The effect of environmental factors and plant age on the infection of rice by the blast fungus Pyricularia oryzae. Phytopathology 48: 25-30.
Kasaka, T. 1969. Control of rice diseases with resistant varieties. Agriculture and Horticulture 44: 230-242.
Keller, M., C.H. Karutz, J.E. Schmid, P. Stamp, M. Winzerler, B. Keller and M.M. Messmer. 1999. Quantitative trait loci for lodging resistance in a segregating wheat x spelt population. Theory Apply Genetic 98: 1171-1182.
Koutroubas, S.D., D. Katsantonis, D. A. Ntnos and E. Lupotto. 2009. Blast fungus inoculation reduces accumulation and remobilization of pre-anthesis assimilates to rice grains. Phytopathologia Mediterranea 48: 240-252.
Lang, Y., X. Yang, M. Wang and Q. Zhu. 2012. Effects of lodging at different filling stages on rice yield and grain quality. Rice Science 19(4): 315–319.
Ou, S.H. 1984. Rice diseases. 2nd ed. Commonweath Mycological Institute. Kew Surrey. England. 380 p.
Salassi, M.E., M.A. Deliberto, S.D. Linscombe, C.E. Wilson, T.W. Walker, G.N. McCauley and D.C. Blouin. 2013. Impact of harvest lodging on rough rice milling yield and market price. Agronomy Journal 105(6): 1860-1867.
Setter, T.L., E.V. Laureles and A.M. Mazaredo. 1997. Lodging reduces yield of rice by self-shading and reductions in canopy photosynthesis. Field Crops Research 49: 95-106.