จริยธรรมการในตีพิมพ์
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
- ในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์หลักต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ร่วม (ถ้ามี)
- ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัยนั้นจริง
- ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
- ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของผลงานที่ส่งตีพิมพ์ในทุกกรณี
- เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดของ “วารสารวิชาการข้าว”
- ผู้นิพนธ์ต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำงานวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
- ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารวิชาการข้าวกำหนดไว้ใน “คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ”
- ผู้นิพนธ์จะต้องจัดเตรียมบทความให้เป็นไปตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์มการจัดเตรียมต้นฉบับบทความ (template) ของวารสารวิชาการข้าว
- ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น ในกรณีที่นำมาใช้กล่าวอ้างในเนื้อหาของผลงาน รวมทั้งจัดทำเอกสารอ้างอิงท้ายบทความให้ถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ทุกรายการตามรูปแบบที่กำหนดใน “คำแนะนำสำหรับการตรวจเอกสารและการเขียนอ้างอิง” และ “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
- ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับคำวิจารณ์จากผู้ประเมินบทความ หากมีข้อโต้แย้งหรือการแก้ไข ต้องชี้แจงตอบกลับผู้ประเมินบทความด้วยข้อมูลทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับและถูกต้องครบถ้วน
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความต้องได้รับการปกป้องข้อมูลหรือไม่ถูกเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตน ในระหว่างที่ตนพิจารณาประเมินผลบทความนั้น
- ผู้ประเมินบทความต้องปกปิดข้อมูลของบทความที่ตนพิจารณาประเมินผล โดยต้องรักษาให้เป็นความลับต่อบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาที่ตนพิจารณาประเมินผลบทความ
- ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบเพื่อปฏิเสธการประเมินและเปลี่ยนผู้ประเมิน หากตนอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมงานวิจัย เป็นที่ปรึกษางานวิจัย รู้จักคุ้นเคยเป็นการส่วนตัวกับผู้นิพนธ์ หรือด้วยเหตุผลประการอื่น ที่จะส่งผลให้ผู้ประเมินไม่สามารถให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และคำวิจารณ์ต่อผลงานได้อย่างอิสระ เป็นต้น
- ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้การวิเคราะห์ วิจารณ์ และข้อเสนอแนะต่อผลงานมีความเข้มข้นเป็นไปตามหลักการทางวิชาการ ปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาและตัดสินบทความ
- หากผู้ประเมินพบความซ้ำซ้อนหรือความเหมือนของบทความที่กำลังพิจารณา กับบทความแหล่งข้อมูลอื่นๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการของวารสารทราบทันที
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
- บรรณาธิการมีหน้าที่คัดเลือกบทความที่เหมาะสมและตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสารและพิจารณาคุณภาพ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
- บรรณาธิการต้องตัดสินใจในการยอมรับหรือปฏิเสธบทความ ต้องพิจารณาตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และปฏิเสธบทความที่เคยตีพิมพ์จากที่อื่นแล้ว
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระหว่างระยะเวลาของการประเมินบทความ
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ มีสาระสำคัญ มีความชัดเจน เป็นความรู้ใหม่ และสอดคล้องกับขอบเขตของเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของวารสารเป็นสำคัญ 5. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะเหตุผลส่วนตัว เช่น ความสงสัย ความแคลงใจ เป็นต้น แต่ต้องตรวจสอบหาข้อพิสูจน์ให้ชัดเจนก่อน และแจ้งให้ผู้นิพนธ์ชี้แจงหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมก่อนปฏิเสธบทความนั้น
- บรรณาธิการต้องวางตัวเป็นกลางและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องเปิดโอกาสให้ผู้นิพนธ์ได้ชี้แจง หากมีความเห็นที่แตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
- หากตรวจสอบพบว่าบทความมีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการพิจารณาประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความนั้น และติดต่อผู้นิพนธ์ทันที เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณา “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ โดยบรรณาธิการมีอำนาจในการตัดสินใจยุติการประเมินบทความนั้นได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์