ข้าวเจ้าพันธุ์ กข103 (หอมชัยนาท 72)

Main Article Content

อนรรฆพล บุญช่วย
สมพงษ์ เฉยพันธ์
ดวงกมล บุญช่วย
ชัยรัตน์ จันทร์หนู
ดวงพร วิธูรจิตต์
ชณินพัฒน์ ทองรอด
วราลี เจียมเงิน
พงศา สุขเสริม
อภิชาติ เนินพลับ
เปรมกมล มูลนิลตา
อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ
สอาง ไชยรินทร์
ดวงอร อริยพฤกษ์
ควพร พุ่มเชย
สุมาลี สังข์เปรม
ภมร ปัตตาวะตัง
เจตน์ คชฤกษ์
สุพัตรา สุวรรณธาดา
มณฑิชา ถุงเงิน
พิกุล ซุนพุ่ม
เกสินี ทบด้าน
จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์
วิภาวดี ทองเอก
นัยกร สงวนแก้ว

บทคัดย่อ

พื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางประมาณ 4.27 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเพียงพอในการให้ผลผลิตข้าวได้ เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกข้าวไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งพันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงที่มีคุณภาพในการหุงต้มและรับประทานดี โดยเฉพาะข้าวพื้นนุ่มแต่อายุข้าวค่อนข้างหนัก เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวอายุปานกลาง ซึ่งไม่เหมาะสำหรับพื้น ที่ที่ต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตเร็ว นอกจากนี้การระบาดของโรคข้าวที่รุนแรง ก็ทำให้คุณภาพของข้าวลดลง และผลผลิตเสียหายร้อยละ 20-50 ดังนั้น เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพสำหรับการบริโภคที่ต้องการข้าวพื้นนุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม รวมทั้ง มีอายุเบา ผลผลิตสูง คุณภาพดี ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง สำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง จึงดำเนินการพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยการผสมสามทางระหว่าง สายพันธุ์ KLG88028-22-1-2-2 กับลูกผสมชั่วที่ 1 ของสายพันธุ์ SPR88096-17-3-2-2 และพันธุ์ IR60 ปลูกและคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 1 และ 2 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ต่อมาปลูกและคัดเลือกแบบสืบประวัติตั้งแต่ชั่วที่ 3-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท จนได้สายพันธุ์ PSL97060-17-CNT-1-2-1 จากนั้น ดำเนินการตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่การเปรียบเทียบผลผลิต ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี คุณภาพการสี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน จนถึงการยอมรับของเกษตรกรในพื้นที่และเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษาในปี พ.ศ. 2567 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง โดยใช้ชื่อว่าข้าวเจ้าพันธุ์ “กข103” (หอมชัยนาท 72) ชึ่งเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเบา ออกดอกประมาณวันที่ 15 ตุลาคม ความสูง 139 เซนติเมตรรวงยาว 30.9 เซนติเมตร ผลผลิตเฉลี่ย 596 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 178 เมล็ด เมล็ดข้าวกล้องยาว 8.22 มิลลิเมตร ระยะพักตัว 6-7 สัปดาห์ ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 54.0 เป็นข้าวอมิโลสต่ำ (ร้อยละ17.3) ข้าวสวยมีสีขาวนวล นุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม (ปริมาณ 2AP = 0.98-1.25 ppm) ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งในเขตภาคกลาง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาอาศัยน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทั้งในพื้นที่ลุ่มและที่ดอน สำหรับข้อควรระวัง คือ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งในเขตภาคเหนือตอนล่าง ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว

Article Details

บท
Articles

References

กรมการข้าว. 2559ก. โรคขอบใบแห้ง. องค์ความรู้เรื่องข้าวเวอร์ชั่น 3.0. กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นจาก: https://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.phpfile=content.php&id=120-1.htm. (31 มกราคม 2566)

กรมการข้าว. 2559ข. โรคไหม้. องค์ความรู้เรื่องข้าว เวอร์ชั่น 3.0. กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นจาก: https://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.phpfile=content.php&id=112-1.htm. (31 มกราคม 2566)

กรมการค้าต่างประเทศ. 2565. ข้อมูลข้าวเชิงลึกภูมิภาคอเมริกา. กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นจาก: https://www.dft.go.th/Portals/49/ebook/ข้อมูลข้าวเชิงลึกภูมิภาคอเมริกา%20อธ%20เห็นชอ.pdf. (25 มกราคม 2566)

ชณินพัฒน์ ทองรอด, ดวงกมล บุญช่วย, ชัยรัตน์ จันทร์หนู และดวงพร วิธูรจิตต์. 2564. สถานการณ์การระบาดของโรคไหม้ในเขตพื้นที่นาชลประทาน จังหวัดชัยนาท อุทัยธานี และนครสวรรค์. หน้า 269-270. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการข้าวกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2564 . 29-31 มีนาคม 2564. ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท, จ.ชัยนาท.

ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท. 2564. เอกสารการประชุมสรุปการทดลอง ประจำปี 2563 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง สำหรับนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 5 พฤษภาคม 2564. ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท, จ.ชัยนาท. 16 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา และศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี. 2565. เอกสารการประชุมสรุปการทดลองประจำปี 2564 โครงการเปรียบเทียบผลผลิตและประเมินลักษณะทางการเกษตร และโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไวต่อช่วงแสงคุณภาพดีที่ให้ผลผลิตสูง. 19-20 พฤษภาคม 2565. ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี, จ.ลพบุรี. 69 หน้า.

____________________.2566. เอกสารการประชุมสรุปการทดลอง ประจำปี 2565 โครงการเปรียบเทียบผลผลิตและประเมินลักษณะทางการเกษตร และโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไวต่อช่วงแสงคุณภาพดีที่ให้ผลผลิตสูง. 25-26 พฤษภาคม 2566. ศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี, จ.ราชบุรี. 91 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท และศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี. 2550. เอกสารการประชุมวางแผนการทดลองประจำปี 2549 โครงการ: การวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ รหัสโครงการ 01-19-49-01 กิจกรรมวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน กิจกรรมย่อยการพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือ การทดลองการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่างพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 30 มีนาคม 2550. ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก, จ.พิษณุโลก. 71 หน้า.

__________________.2551. เอกสารการประชุมวางแผนการทดลอง ประจำปี 2550 โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 7-8 พฤษภาคม 2551. โรงแรมลิตเตอร์ดัก, จ.เชียงราย. 79 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท และศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี. 2553. เอกสารการประชุมวางแผนการทดลองประจำปี 2553 โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 7-8 เมษายน 2553. โรงแรมเดือนฉาย รีสอร์ท, จ.กาญจนบุรี. 67 หน้า.

_________________. 2554. เอกสารการประชุมวางแผนการทดลอง ประจำปี 2554. โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 5-7 เมษายน 2554. โรงแรม หัวหิน บลูเวฟ บีช รีสอร์ท, จ.ประจวบคีรีขันธ์. 72 หน้า.

_________________. 2555. เอกสารการประชุมวางแผนการทดลอง ประจำปี 2555. โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง ระยะที่ 2. 3-5 เมษายน 2555. โรงแรมริมโขง, จ.นครพนม. 73 หน้า.

_________________. 2556. เอกสารการประชุมวางแผนการทดลอง ประจำปี 2556 โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง ระยะที่ 2. 22-24 เมษายน 2556. โรงแรมคริสตัน และโรงแรมกระบี่รอยัล, จ.กระบี่. 65 หน้า.

_________________. 2557. เอกสารการประชุมวางแผนการทดลอง ประจำปี 2557 โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง ระยะที่ 2. 27 พฤษภาคม 2557. ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก, จ.พิษณุโลก. 50 หน้า.

_________________. 2559. เอกสารการประชุมสรุปการทดลอง ประจำปี 2558 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง สำหรับนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 25-27 เมษายน 2559. โรงแรม เซนต์ โทรเปส บีชรีสอร์ท, จ.จันทบุรี. 50 หน้า.

_________________. 2560. เอกสารการประชุมสรุปการทดลอง ประจำปี 2559 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง สำหรับนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 2-4 พฤษภาคม 2560. โรงแรมหัวหิน บลูเวฟรีสอร์ท, จ.ประจวบคีรีขันธ์. 54 หน้า.

_________________. 2561. เอกสารการประชุมสรุปการทดลอง ประจำปี 2560 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง สำหรับนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 2-4 พฤษภาคม 2561. โรงแรมบ้านสวนคุณตากอล์ฟ รีสอร์ท, จ.อุบลราชธานี. 55 หน้า.

_________________. 2562. เอกสารการประชุมสรุปการทดลอง ประจำปี 2561 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง สำหรับนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 18-19 มิถุนายน 2562. ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง, จ.พัทลุง. 60 หน้า.

_________________. 2563. เอกสารการประชุมสรุปการทดลอง ประจำปี 2562 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง สำหรับนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง. 2-3 มิถุนายน 2563. ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท, จ.ชัยนาท. 52 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี และศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี. 2552. เอกสารการประชุมวางแผนการทดลอง ประจำปี 2552 โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่างและตะวันตก. 7-9 พฤษภาคม 2552. โรงแรม หินสวยน้ำใส รีสอร์ท, จ.ระยอง. 77 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. สืบค้นจาก: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ jounal/2565/yearbook2564.pdf. (8 พฤษภาคม 2565)

Heinrichs, E.A., F.G. Medrano and H.R. Rapusus. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines. 352 p.

IRRI. 2014. Standard Evaluation System for Rice (SES). International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines. 57 p.