ข้าวเจ้าพันธุ์หอมหัวบอน 35 (กระบี่ 72)

Main Article Content

อริณย์ทพัช สงไกรรัตน์
กนกอร เยาว์ดำ
รชนิศ พานิชกิจ
ภิวนุช ชูเรือง
สุดารัตน์ จิตเขม้น
นุชนาถ ขุนทอง
ดลตภร โพธิ์ศิริ
เสรี พลายด้วง
อนุชิตา รัตนรัตน์
พัชราภรณ์ รักษ์ชุม
ชนสิริน กลิ่นมณี
ชลวิทย์ แก้วนางโอ
กันต์ธณวิชญ์ ใจสงฆ์
บุปผารัตน์ รอดภัย
กฤษณะ ศิริรัตน์
รัตนวรรณ จันทร์ศศิธร
รณชัย ช่างศรี

บทคัดย่อ

ข้าวไร่เป็นพืชที่เกษตรกรทางภาคใต้นิยมปลูกในพื้นที่โค่นยางพาราหรือปาล์มน้ำมันใหม่ หรือปลูกเป็นพืชแซมในระหว่างแถวยางพาราและปาล์มน้ำมัน ข้าวหอมหัวบอนเป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดกระบี่ กลิ่นหอมเหมือนเผือกข้าวหุงสุกมีรสสัมผัสดีนุ่มหุงขึ้นหม้อ เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง มีสารแกมมาออไรซานอล และปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมค่อนข้างสูง แต่มีปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ ส่งผลให้คุณภาพและปริมาณผลผลิตข้าวที่ได้ต่ำ เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวไร่หอมหัวบอนให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ และรักษาคุณภาพเมล็ดและคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เหมาะสำหรับปลูกแซมยางพาราและปาล์มน้ำมันในภาคใต้ ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ได้เก็บรวบรวมพันธุ์จากอำเภอเขาพนม อำเภอเกาะลันตา อำเภอเหนือคลอง และอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ปลูกพัฒนา เพื่ออนุรักษ์พันธุ์จนได้สายพันธุ์ KBIC16003-35 ศึกษาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอน คือ การเปรียบเทียบผลผลิต ความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน และการยอมรับของเกษตรกร และเนื􀃉องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2567 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ใช้ชื่อว่าข้าวเจ้าพันธุ์ “หอมหัวบอน 35” (กระบี่ 72) เป็นข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง ข้าวเปลือกเมล็ดสีฟาง กระน้ำตาล ก้นจุด ความยาวเฉลี่ย 10.06 มิลลิเมตร กว้าง 2.34 มิลลิเมตร และหนา 1.84 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ความยาวเมล็ดข้าวกล้องเฉลี่ย 7.75 มิลลิเมตร กว้าง 2.07 มิลลิเมตร หนา 1.71 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว (อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 3.74) ท้องไข่น้อย (0.04) คุณภาพการสีดีมากได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว ร้อยละ 51.00 น้ำหนักข้าวเปลือก 23.40 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด และ 10.72 กิโลกรัมต่อถัง เป็นข้าวที่มีอมิโลสปานกลาง (ร้อยละ 21.58) คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกมีความนุ่ม ค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอม (2AP = 1.46 ppm) มีปริมาณสารแกมมาออไรซานอล 452.62 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวม 581.29 มิลลิกรัม TE ต่อ 100 กรัม ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ในระยะกล้า เหมาะสำหรับปลูกแซมยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่ อายุ 1-3 ปี ในภาคใต้ ข้อควรระวังคือ อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

Article Details

บท
Articles

References

ร่วมจิตร นกเขา. 2555. การปลูกข้าวไร่ของภาคใต้ตอนบน: กรณีศึกษาในจังหวัดชุมพร. หน้า 1-7. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคใต้ประจำปี 2555. 3-4 กรกฎาคม 2555. โรงแรมทวินโลตัส, จ.นครศรีธรรมราช.

ลัดดา แสงเดือน วัฒนศิริธรรม. 2561. น้ำมันรำข้าวเพื่อสุขภาพ. วารสารอาหาร 48(1): 50-55.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2566. ข้อมูลผลิตสินค้าเกษตร. สืบค้นจาก: http://www.oae.go.th. (5 มกราคม 2567)

Heinrichs, E.A., F.G. Medrano and H.R. Rapusus. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines. 352 p.

IRRI. 2014. Standard Evalulation Sysem for Rice. International Rice Research Institute. Los Baños, Philipines. 56 p.

Watson, R.R., R. Victor and Z. Sherma, (eds.). 2014. Wheat and Rice in Disease Prevention and Health: Benefits, risks and mechanisms of whole grains in health promotion. Academic Press, London. 576 p.