ข้าวเหนียวพันธุ์ กข26 (เชียงราย 72)

Main Article Content

พายัพภูเบศวร์ มากกูล
นุจรินทร์ จังขันธ์ โกเมส เด ฟาเรียส
กัลยา บุญสง่า
กรสิริ ศรีนิล
ศิริลักษณ์ ใจบุญทา
อุรัสยาน์ ขวัญเรือน
ปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม
ดนัย จันต๊ะคาด
จรัญ ลือเลิศ
จิณณ์ณณัช อาษา
ภิรุณ ตั้งเจริญโกศล
เมวิกา นางแล
อาทิตยา ยอดใจ
อภิวัฒน์ หาญธนพงศ์
อัญชลี ตาคำ
สกุล มูลคำ
คคนางค์ ปัญญาลือ
กุลชนา ดาร์เวล
เฉลิมขวัญ ฉิมวัย
อดุลย์ สิทธิวงศ์
กาญจนา พิบูลย์
พันนิภา ยาใจ
ปิยะวรรณ ใยดี
เปรมฤดี ปินทยา
นงนุช ประดิษฐ์
ผกากานต์ ทองสมบูรณ์
ศิวะพงศ์ นฤบาล
วัชรี สุขวิวัฒน์
ปราณี มณีนิล
อภิชาติ เนินพลับ

บทคัดย่อ

เกษตรกรในภาคเหนือตอนบนปลูกข้าวเหนียวเพื่อการค้าและการบริโภค พื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด ข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก เนื่องจากคุณภาพหุงต้มและรับประทานดี ผลผลิตสูง แต่อายุเก็บเกี่ยวมากกว่า 130 วัน ประกอบกับเชื้อสาเหตุโรคไหม้ในปัจจุบันมีความหลากหลายของสายพันธุ์เชื้อ เป็นสาเหตุให้ผลผลิตข้าวลดต่ำลง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสงผลผลิตสูง อายุเก็บเกี่ยวสั้น ลงและต้านทานต่อโรคไหม้ของภูมิภาค ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ได้ดำเนินการผสมแบบผสมเดี่ยว ระหว่างข้าวเหนียวสายพันธุ์ PRE98002-PAN-B-12-1-1 เป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 ผลผลิตสูงต้านทานต่อโรคไหม้ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เป็นพันธุ์พ่อ ปลูกข้าวสายพันธุ์ผสมชั่วที่ 1-6 แบบสืบตระกูลทั้งฤดูนาปรังและนาปี ได้สายพันธุ์ CRI13055-1-1-2-1 ศึกษาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอน คือ ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว ทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ประเมินการยอมรับของเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการโรงสี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2565 และเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2567คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ใช้ชื่อว่าข้าวเหนียวพันธุ์ “กข26 (เชียงราย 72)” เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีปักดำ ผลผลิตเฉลี่ย 780 กิโลกรัมต่อไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิต 1,152 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงกอตั้งความสูงประมาณ 111 เซนติเมตร ลำต้นแข็ง ความยาวรวง 28.5 เซนติเมตร ลักษณะรวงค่อนข้างแน่น คอรวงยาว จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 117 เมล็ด น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 32.41 กรัม ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์ เปลือกสีฟาง ข้าวเปลือกความยาวเฉลี่ย 10.67 มิลลิเมตร กว้าง 3.08 มิลลิเมตร หนา 2.16 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว เมล็ดยาว ความยาวเฉลี่ย 7.55 มิลลิเมตร กว้าง 2.44 มิลลิเมตร หนา 1.93 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 57.8 อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวนึ่งสุกเนื้อสัมผัสนุ่ม ค่อนข้างเหนียว ต้านทานต่อโรคไหม้ระยะกล้าในภาคเหนือตอนบน เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนบน ข้อควรระวัง คือ อ่อนแอต่อโรคไหม้คอรวง โรคขอบใบแห้ง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

Article Details

บท
Articles

References

กรมวิชาการเกษตร. 2546. ข้าวและธัญพืชเมืองหนาวพันธุ์ดี 30 ปี กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย เขตจตุจักร กรุงเทพฯ. 229 หน้า.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2566ก. พื้นที่ปลูกข้าวนาปีและนาปรัง 2565 จังหวัดเชียงราย (ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร). 69 หน้า.

__________________ . 2566ข. รายงานการระบาดโรคไหม้ พ.ศ. 2562-2566. สืบค้นจาก: http://www.ppsf.doae.go.th/wordpress/?page_id=3331. (6 มกราคม 2567)

พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์ และวีณา เมฆวัฒนากาญจน์. 2559. โรคไหม้ของข้าว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 140 หน้า.

วัชระ ภูรีวิโรจน์กุล. 2542. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานโรคแมลง. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 200 หน้า.

Cagampang, G.B., C.M. Perez and B.O. Juliano. 1973. A gel consistency test for eating quality rice. J. Sci. Food Ag. 24: 1589-1594.

Gypmantasiri, P., K. Thong-Ngam, B. Limnirankul, A. Polthanee, W. Palalak, C. Augkrasaeng, V. Treloges, S. Srila, A. Phaitakum, B. Jongdee and G. Puntuwan. 2003. Integration of Farmer Participatory Plant Breeding for Rainfed Lowland Rice Improvement in North and Northeast Thailand: I Bio-physical and Socio-economic Characterization of Rainfed Lowland Rice Production Systems of the North and Northeast of Thailand. Report full paper. 88 p.

Heinrichs, E.A., F.G. Medrano and H.R. Rapusus. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines. 352 p.

IRRI. 2014. Standard Evaluation System for Rice (SES). 5thedition. International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines: 57p.

Little, R.R., G.B. Hilder and E.D. Dawson. 1958. Differential effect of dilute alkali on 25 varieties of milled rice. Cereal Chem. 35: 111-126.