ข้าวเจ้าจาปอนิกาพันธุ์ กขจ1 (วังทอง 72)

Main Article Content

เบญจวรรณ พลโคต
อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ
สอาง ไชยรินทร์
บุษกร มงคลพิทยาธร
ภมร ปัตตาวะตัง
ควพร พุ่มเชย
เจตน์ คชฤกษ์
สุมาลี สังข์เปรม
เกษศิณี พรโสภณ
พูลเศรษฐ์ พรโสภณ
ชโลทร หลิมเจริญ
คณิตา เกิดสุข
มณฑิชา ถุงเงิน
อลิษา เสนานุชย์
อาทิตย์ กุคำอู
บังอร เฉยบาง
ประดิษฐ์ อุ่นถิ่น
ชัชชัย ทิพย์เคลือ
ชวนชม ดีรัศมี
ชัยรัตน์ จันทร์หนู
ดวงกมล บุญช่วย
ปรารถนา สุขศิริ
โสพิต บุญธรรม
อำนวย รอดเกษม
วัชรีย์ อยู่สิงห์
นิตยา ขุนบรรเทา
วิภาวดี ทองเอก
ณัฏฐนิช ถาวรแก้ว
อุรัสยาน์ ขวัญเรือน
กรสิริ ศรีนิล
ศิริลักษณ์ ใจบุญทา
กัลยา บุญสง่า
ปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม
อาทิตยา ยอดใจ
ไพโรจน์ โชตินิสากรณ์
พิชชาทร เรืองเดช
อัญชลี ตาคำ
คคนางค์ ปัญญาลือ
พันนิภา ยาใจ
กาญจนา พิบูลย์
เฉลิมขวัญ ฉิมวัย
มุ่งมาตร วังกะ
กุลชนา ดาร์เวล
อภิชาติ เนินพลับ
กัลย์ฐิตา สวงโท

บทคัดย่อ

ข้าวจาปอนิกา จัดอยู่ในกลุ่มข้าวตลาดเฉพาะ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีจำกัด อีกทั้งคุณภาพผลผลิตยังมีข้อบกพร่อง พื้นที่ปลูกหลักอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศ เนื่องจากมีอากาศค่อนข้างเย็น เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ปัจจุบันตลาดมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นร้อยละ 15-20 ทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้ภายในประเทศ ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปภาคเหนือตอนล่าง เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าจาปอนิกา ให้ต้านทานต่อโรคไหม้ มีคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ หุงต้มและรับประทานดี เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย และศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จึงได้ร่วมกันปรับปรุงพันธุ์โดยการผสมเดี่ยว ระหว่างสายพันธุ์ข้าว PSL95037-25-1-2-PAN-1 กับพันธุ์ Shubu ปลูกคัดเลือกชั่วที่ 2 ถึง 8 ได้สายพันธุ์ CRI12026-6-9-PSL-4-1-1-1 ปลูกศึกษาพันธุ์และศึกษาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอน คือ การเปรียบเทียบผลผลิต ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี คุณภาพการสี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน และการยอมรับของเกษตรกรในพื้นที่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2555-2563 และเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2567 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ใช้ชื่อว่าข้าวพันธุ์ “กขจ1” (วังทอง 72) เป็นข้าวเจ้าจาปอนิกาไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกโดยวิธีปักดำ อายุเก็บเกี่ยว 98-113 วัน (ฤดูนาปี) และ 105-123 วัน (ฤดูนาปรัง) ลักษณะทรงกอตั้งสูงประมาณ 93 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวเข้ม ใบตั้งตรง ใบธงยาว 37.1 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร มุมใบธงปานกลาง รวงยาว 21.5 เซนติเมตร รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว 5.4 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 116 เมล็ด เมล็ดร่วงยาก ผลผลิตเฉลี่ย 755 กิโลกรัมต่อไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิตสูง 953 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเปลือกสีฟาง มีหาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 7.65 มิลลิเมตร กว้าง 3.36 มิลลิเมตร หนา 2.25 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง รูปร่างป้อม เมล็ดยาว 5.41 มิลลิเมตร กว้าง 2.85 มิลลิเมตร หนา 2.00 มิลลิเมตร ข้าวสารเมล็ดยาว 5.18 มิลลิเมตร กว้าง 2.79 มิลลิเมตร หนา 1.99 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย (0.61) คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 65.5 ไม่มีระยะพักตัว เป็นข้าวอมิโลสต่ำ (ร้อยละ 17.31) ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (ระยะทางการไหลของน้ำ แป้ง 94 มิลลิเมตร) อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ อัตราการยืดตัวของข้าวสุกปกติ (1.85 เท่า) ข้าวหุงสุก มีลักษณะนุ่มเหนียว ไม่มีกลิ่นหอม สีขาวนวล เลื่อมมันเล็กน้อย ความเกาะตัวค่อนข้างเหนียว เนื้อสัมผัสค่อนข้างนุ่ม มีรสหวานเล็กน้อย ต้านทานต่อโรคไหม้ อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนบน และตอนล่างที่มีอากาศเหมาะสม

Article Details

บท
Articles

References

บุญดิษฐ์ วรินทร์รักษ์. 2562. เทคโนโลยีการผลิตข้าวจาปอนิกาในประเทศไทย. กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 68 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย. 2561ก. ข้อมูลการระบาดของโรคไหม้ในข้าวญี่ปุ่น. 1 หน้า.

________________. 2561ข. เอกสารประกอบการประชุมการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวจาปอนิกาในเขตภาคเหนือ ฤดูนาปี 2560 - ฤดูนาปรัง 2551. 12 มิถุนายน 2561. ณ ห้องประชุม ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย. 65 หน้า.

________________. 2562. เอกสารประกอบการประชุมการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวจาปอนิกา ในเขตภาคเหนือ ฤดูนาปี 2561-ฤดูนาปรัง 2562. 11 มิถุนายน 2562. ณ ห้องประชุม ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย. 70 หน้า.

________________. 2563. เอกสารประกอบการประชุมการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวจาปอนิกาในเขตภาคเหนือ ฤดูนาปี 2562-ฤดูนาปรัง 2563. 19 มิถุนายน 2563. ณ ห้องประชุม ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่. 67 หน้า.

Heinrichs, E.A., F.G. Medrano and H.R. Rapusus. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines. 352 p.

IRRI. 2014. Standard Evaluation System for Rice (SES). International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines. 57 p.