โมเดลการส่งเสริมเพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าวในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบและการใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าว 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการวิจัยและใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าว และ 3) พัฒนาและประเมินโมเดลการส่งเสริมและใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าว การวิจัยแบบผสมวิธี แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสังเคราะห์งานวิจัยจากข้อมูลงานวิจัยด้านข้าวย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2563 จำนวน 147 โครงการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยมากำหนดเป็นประเด็นแบบสอบถามเพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้นักวิจัย จำนวน 133 คน นักส่งเสริมการเกษตร จำนวน 175 คน และเกษตรกรจำนวน 232 คน ขั้นที่ 2 การพัฒนาโมเดลส่งเสริมเพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าวใประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว นักวิจัย นักส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกร จำนวน 20 คน และขั้นที่ 3 การประเมินโมเดล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว นักวิจัย นักส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกร จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การสังเคราะห์ผลงานวิจัยด้านข้าว ส่วนใหญ่ผลงานวิจัยด้านข้าวมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อการศึกษา หน่วยงานที่ผลิตงานวิจัยเป็นสถาบันการศึกษา หมวดหมู่งานวิจัยด้านข้าวส่วนใหญ่เป็นด้านเทคโนโลยีการผลิต และเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยการตีพิมพ์และเผยแพร่ ผ่านคู่มือ/สิ่งพิมพ์ และมีการใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการวิจัยและใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าว ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการวิจัยด้านข้าวเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่มาจากแหล่งทุนวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนา มีการกำหนดสมมติฐานการวิจัยผลงานวิจัยใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนางาน พัฒนาเกษตรกรและชุมชน แหล่งวรรณกรรมมีการสืบค้นผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต นักวิจัยมีความต้องการศึกษาประชากรและตัวอย่างเป็นพันธุ์ข้าว สุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นแบบมีระบบ และสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบ สำหรับนักส่งเสริมการเกษตรมีความต้องการศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกร สุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นแบบง่ายและสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีการวัดความเที่ยงของเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา การเผยแพร่งานวิจัยให้ความสำคัญผ่านสื่อบุคคล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (2) การใช้ประโยชน์งานวิจัยใช้ในเชิงวิชาการ เชิงสังคม/ชุมชน และเชิงเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน (3) ปัญหาการพัฒนาและใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าว ได้แก่ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการทำงานวิจัยมีอายุยาวนาน ไม่ทันสมัย ไม่เพียงพอ ขาดการวิจัยด้านการตลาดเชื่อมโยงกับงานวิจัยด้านการผลิต ขาดระบบสารสนเทศ ผลงานวิจัย แหล่งข้อมูลที่มีอยู่เข้าถึงได้ยาก การนำเสนอผลงานวิจัยและการสื่อสารผลงานวิจัยยากต่อการทำความเข้าใจและประยุกต์ใช้ (4) การส่งเสริมการวิจัยและการใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าว ประเด็นด้านความรู้ส่วนใหญ่ต้องการความรู้ด้านพันธุ์ ผ่านสื่อบุคคล คือ นักวิชาการ ช่องทางหรือสื่อต้องการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบ/วิธีการส่งเสริมต้องการผ่านการอบรม ดูงาน ฝึกปฏิบัติ 3) โมเดลการส่งเสริมและใช้ประโยชน์งานวิจัยด้านข้าวในประเทศ เริ่มต้นจากการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านข้าวที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกร และเกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ โดยการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยด้านข้าว ถ่ายทอดผ่านสื่อบุคคลและเทคโนโลยี ทำให้เกิดกระบวนการยอมรับ โดยใช้หลัก 6Rs เป็นกรอบในกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ได้แก่ การออกแบบการวิจัย (research design) ที่ปรึกษาการวิจัย (research advisor) รูปแบบการวิจัยด้านข้าว (rice research pattern) วิธีการวิจัย (research method) การสื่อสารการวิจัย (research communications) และเป้าหมายการวิจัย (research target) ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจ เชิงชุมชนและสังคม เชิงนวัตกรรมข้าว และเชิงวิชาการเปลี่ยนแปลงจากเดิมสู่การพัฒนาในด้านนโยบาย การทำงาน การส่งเสริมด้านข้าว และด้านวิชาการในอนาคต เพื่อนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีสู่การปฏิบัติจริงจนเกิดผลดีในการผลิตข้าว เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
Article Details
References
กฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล. 2561. กรมการข้าวเตรียมพร้อมเร่งสรุป เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานอย่างมีเอกภาพเพื่อการวิจัยพัฒนา-ส่งเสริมการผลิตข้าวของประเทศไทย. สืบค้นจาก: http://www.ricethailand.go.th/web/index.php/mactivities/4224-2018-09-13-03-55-35. (26 มีนาคม 2565)
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์. 2561. ข้าวไทยในโลกอนาคต. สืบค้นจาก: https://www.thairath.co.th/content/1401772. (11 มีนาคม 2565)
ชุติมา บุณยประภัศร. 2559. เปลี่ยน! ได้เวลาปฏิวัติข้าวไทยทั้งวงจร. ข้าวไทย 8(53): 38-47.
ชุติมา บุณยประภัศร. 2560. การพัฒนาข้าวไทยอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก: https://www.prachachat.net/ economy/news-12331. (5 มีนาคม 2565)
ดวงกมล วงศ์จันทร์, แววตา เตชาทวีวรรณ และธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. 2554. การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทยที่เผยแพร่ระหว่างพ.ศ. 2542-2551. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 4(1): 29-39
นิพนธ์ พัวพงศกร. 2557. ทิศทางการพัฒนาด้านการเกษตรและการวิจัยเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง. แก่นเกษตร 42(1): 1-6.
บุหลัน กุลวิจิตร. 2560. สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ 10(3): 2440-2454.
พีรเดช ทองอำไพ. 2556. ทิศทางวิจัยข้าวไทย. สืบค้นจาก: https://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=6166&s=tblrice. (6 มีนาคม 2565)
มยุรา ฉลูทอง. 2563. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะโดยการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 7(11).
ศักดิ์ชาย ตั้งประเสริฐ และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร. 2557. การถ่ายทอดความรู้ในบริบท การบูรณาการระบบสารสนเทศ: การทบทวนวรรณกรรม อย่างเป็นระบบ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ 10(2): 70-84.
สดศรี ทุมมาเกตุ. 2559. แนวทางการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตรสำหรับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา. หน้า 1-17. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 6. 25 พฤศจิกายน 2559. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.
สมพร อิศวิลานนท์ และศานิต เก้าเอี้ยน. 2552. ความเป็นพลวัตของเศรษฐกิจการผลิตของข้าวไทยและการมองไปข้างหน้า. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 148 หน้า.
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. 2565. เปรียบเทียบการส่งออกข้าวของประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับ. สืบค้นจาก: http://www.thairicerexportera.or.th. (2 เมษายน 2565)
สุนันทา ศรีม่วง. 2558. การสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปี พ.ศ. 2555-2556. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(2): 80-90.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). 2560. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านข้าว พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก: http://www.research.nu.ac.th/th/uploads/files/Gov%20Budget%2061/3.pdf. (18 มีนาคม 2565)
อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ และคณะวิจัย บริษัท ไลออน จำกัด. 2562. โครงการประเมินความสอดคล้องการจัดสรรทุนมุ่งเป้าเรื่องข้าวและแนวทางการจัดสรรทุนเพื่อรองรับนโยบายเร่งด่วนในการพัฒนาข้าวของประเทศ ระยะที่ 2. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน), กรุงเทพฯ. 229 หน้า.
Creswell, J.W. 2013. Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. (4th ed.). Sage Publications, Inc., London.
Poapongsakorn, N. 2012. Development of Thai rice industry and public rice research. In: Presentation of the 1st International rice science conference in Thailand “Rice Research: The Way Forward”. August 30-31, 2012. IMPACT Exhibition Center, Bangkok.