ประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อราต่อการควบคุมโรคกล้าเน่าของข้าวและผลกระทบต่อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์

Main Article Content

ดวงกมล บุญช่วย
ชณินพัฒน์ ทองรอด
จิราพร แจ้งประดิษฐ์
บุษกร เศรษฐีโพธิ์
วันพร เข็มมุกด์
สุกัญญา อรัญมิตร
พยอม โคเบลลี่

บทคัดย่อ

การปลูกข้าวโดยวิธีปักดำด้วยเครื่อง มักประสบปัญหาโรคกล้าเน่าที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น Curvularia lunata, Bipolaris oryzae และ Fusarium spp. เป็นต้น ต้นกล้าข้าวที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายจะแสดงอาการเจริญเติบโตที่ผิดปกติไม่เหมาะที่จะนำไปปักดำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเชื้อรา และวิธีการใช้ที่เหมาะสม ในการควบคุมโรคกล้าเน่าในกระบะเพาะกล้าข้าว รวมทั้งศึกษาผลกระทบต่อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ในสภาพโรงเรือนทดลองและแปลงเพาะกล้าข้าว ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ปี พ.ศ. 2565 ผลการทดลองพบว่า การแช่เมล็ด และการคลุกเมล็ด เป็นเวลา 12 ชั่วโมง การพ่นสาร fenbuconazole 24% W/V SC อัตรา 8-40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และสาร hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 4-20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร บนเมล็ดพันธุ์ข้าว สามารถลดการเกิดโรคกล้าเน่าได้ร้อยละ 71.55-83.88 ส่วนผลกระทบของสารป้องกันกำจัดต่อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์บนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) และ nutrient agar (NA) พบว่า สาร fenbuconazole 24% W/V SC สาร hexaconazole 5% W/V SC สาร carbendazim 50% SC และสาร metalaxyl 35% DS มีผลกระทบต่อการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Beauveria bassiana, Metarhizium anisopliae และ Trichoderma harzianum และสาร metalaxyl 35% DS และมีผลต่อการสร้างสปอร์ของ T. harzianum แต่สารดังกล่าวนี้ไม่มีผลต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens

Article Details

บท
Articles

References

กนกกร นาคอ้น, ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล และรัติยา พงศ์พิสุทธา. 2560. การตอบสนองต่อสารเคมีกำจัดโรคพืชของเชื้อรา Trichoderma spp. ที่แยกได้จากพื้นที่ปลูกทุเรียน จังหวัดจันทบุรี. สืบค้นจาก: https://kukr.lib.ku.ac.th/proceedings/KUCON/searchdetail/result/382780. (26 มกราคม 2566)

กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. สืบค้นจาก: http://www.ricethailand.go.th/rkb3. (26 มกราคม 2566)

กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนล่าง. 2560. เทคโนโลยีการผลิตข้าวนาชลประทานในเขตภาคเหนือตอนล่าง ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก. โฟกัสพริ้นติ้ง จำกัด, จ.พิษณุโลก. 304 หน้า.

ดวงกมล บุญช่วย. 2562. การจัดการโรคข้าวที่สำคัญในกระบะเพาะกล้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว. เอกสารประกอบการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ. ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, กรุงเทพฯ. 96 หน้า.

ดวงกมล บุญช่วย, ชณินพัฒน์ ทองรอด, จิราพร แจ้งประดิษฐ์ และวันพร เข็มมุกด์. 2565. ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเชื้อราต่อการควบคุมโรคกล้าเน่าในกระบะเพาะกล้าข้าว. หน้า 147-148. ใน: การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 15. 22-24 พฤศจิกายน 2565. โรงแรมรามาการ์เด้นส์, กรุงเทพฯ.

ดวงกมล บุญช่วย, วิไล ปาละวิสุทธิ์ และชญานิศา สีพรม. 2560. สถานการณ์โรคข้าวที่สำคัญในกระบะเพาะกล้าในเขตชลประทานและการป้องกันกำจัด. หน้า 82-95. ใน: การประชุมวิชาการอารักขาพืช ครั้งที่ 13. 21-23 พฤศจิกายน 2560. โรงแรมเรือรัษฎา, จ.ตรัง.

ธิดา เดชฮวบ. 2559. สารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคพืช. เอเชียดิจิตอลการพิมพ์จำกัด, กรุงเทพฯ. 19 หน้า.

พยอม โคเบลลี่ และธีรดา หวังสมบูรณ์ดี. 2562. สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นสารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ: ผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวไทย. วารสารวิชาการข้าว 10(1): 108-119.

วิไล ปาละสุทธิ์, จิตติชัย อนาวงษ์, ชโลทร หลิมเจริญ, อดุลย์ กฤษวดี และนริศรา จำรูญวงษ์. 2555. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยใช้เครื่องปักดำ. หน้า 439-442. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 2. 21-23 ธันวาคม 2555. สวิสโซเทลเลอคองคอร์ด, กรุงเทพฯ.

ศิริลักษณ์ ใจบุญทา, รัฐพล ใจคำ, อัญชลี ตาคำ, นุจรินทร์ จังขันธ์ และปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม. 2562. ประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ และสารเคมีกำจัดเชื้อราในการยับยั้งโรคกล้าเน่าของข้าวจาปอนิกาในห้องปฏิบัติการ. หน้า 27. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าว ประจำปี 2562. 12-13 มีนาคม 2562. โรงแรมมารวยการ์เด้น, กรุงเทพฯ.

สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสอาด และอภิรัชต์ สมฤทธิ์. 2554. ประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Curvularia eragrostidis สาเหตุโรคพืช. หน้า 803-808. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2554 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

Adachi, N., T. Shoichi, I. Yasuhiro and A. Koji. 2012. Control of bacterial seedling rot and seedling blight of rice by bacteriophage. Plant Disease 96(7): 1033-1036.

Akter, S., M.A. Latif, A.T. Mia, T.H. Ansari, M.T. Islam and M.Y. Rafi. 2013. Efficacy of fungicides against grain spot disease in rice (Oryza sativa). Life Science Journal 10(4): 3005-3008.

Fungicide resistance action committee (FRAC). 2017. Action and mechanism of resistance. Available source: http://www.frac.info/expert-for. (January 26, 2023)

Kindo, D., R.K. Bhagat and P.K. Tiwari. 2015. Efficacy of fungicides for the management of sheath rot disease in rice under in vitro and in vivo conditions. Oryza 52(3): 227-230

Kumar, M.P., D.S. Gowda, R. Moudgal, N.K. Kumar, K.P. Gowda and K. Vishwanath. 2013. Impact of fungicides on rice production in India. Fungicidesshowcases of integrated plant disease management from around the world pp.77-98.

Lewis, K.A., J. Tzilivakis, D. Warner and A. Green. 2016. An international database for pesticide risk assessments and management. Human and Ecological Risk Assessment: An International Journal 22(4): 1050-1064.

National Center for Biotechnology Information (NCBI). 2023. PubChem compound summary for CID86138, fenbuconazole. Available source: https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Fenbuconazole. (February 9, 2023)

Ons, L., D. Bylemans, K. Thevissen and B.P.A. Cammue. 2020. Combining biocontrol agents with chemical fungicides for integrated plant fungal disease control. Available source: https://doi.org/10.3390/microorganisms8121930. (February 9, 2023)

Prakash, G., U.D. Singh, P. Sharma and R.T.P. Pandian. 2013. Evaluation of pesticides against rice sheath blight caused by Rhizoctonia solani. Indian Phytopath 66(4): 351-355

Vincent, J.M. 1927. Distortion of fungi hyphae in the presence of certain inhibitors. Available source: https://www.nature.com/articles/159850b0. (February 9, 2023)

Yilmaz, B., H. Terekeci, S. Sandal and F. Kelestimur. 2012. Endocrine disrupting chemicals: exposure, effects on human health, mechanism of action, models for testing and strategies for prevention. Available source: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31792807. (February 9, 2023)