ประสิทธิภาพของสารสกัดข้าวป่า Oryza officinalis Wall และ O. punctata Kotschy ต่อการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens (Stål)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การรวบรวมอนุรักษ์พันธุ์ข้าวป่าทีสำรวจพบในประเทศไทยโดยศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมการข้าว เพื่อเป็นฐานทรัพยากรข้าวป่าสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรม โดยข้าวป่า O. officinalis ที่รวบรวมจากจังหวัดชุมพร เชียงราย สระบุรี นนทบุรี และกรุงเทพฯ มีรายงานการศึกษา พบว่า มีปฏิกิริยาต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สารชีวเคมีในสารสกัดข้าวป่า และทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การออกฤทธิ์เป็นสารไล่ ยับยั้งการกินอาหาร ระยะเวลาและอัตราที่เหมาะสม ดำเนินการภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการควบคุมอุณหภูมิ 27±1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 เปอร์เซ็นต์ และสภาพโรงเรือนทดลองอุณหภูมิ 37±1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 40-45 เปอร์เซ็นต์ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563-กันยายน 2566 ผลการศึกษา พบว่า สารชีวเคมีที่ได้จากข้าวป่า และมีความเกี่ยวข้องกับกลไกการยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ได้แก่ สาร neophytadiene, phytol, stigmasterol และ dibutyl สารสกัดข้าวป่า O. officinalis มีประสิทธิภาพการไล่ตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากทีสุดร้อยละ 72.50 ในเวลา 24 ชั่วโมง หลังได้รับสาร และร้อยละ 68.75 ในเวลา 48 ชั่วโมง สารสกัดข้าวป่า O. punctata สามารถยับยั้งการดูดกินอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้มากที่สุด การพ่นสารสกัดข้าวป่าลงบนพันธุ์ข้าว PTB33 และปทุมธานี 1 พบจำนวนตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับพันธุ์ ไทชุงเนทีฟ 1 และ กข43 และระยะเวลาการพ่นที่เหมาะสมคือทุก 15 วัน ด้วยความเข้มข้นของสาร 10 เปอร์เซ็นต์ (v/v) จากผลการศึกษานี้เป็นแนวทางนำสารสกัดข้าวป่ามาพัฒนาต่อยอดในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพื่อการผลิตข้าวอย่างปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพันธุ์ข้าวป่าต่อไป
Article Details
References
เฉลิมขวัญ ฉิมวัย, พีระพล ม่วงงาม, ขวัญชนก ปฏิสนธิ์ และประจักษ์ เหล็งบำรุง. 2562. ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกความต้านทานและสารสกัดที่ได้จากใบข้าวป่าต่อการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาวในเขตภาคเหนือตอนบน. รายงานฉบับสมบูรณ์. กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. 81 หน้า.
ฐานัฎ ณ พัทลุง และวิภา ตังคนานนท์. 2560. พฤติกรรมการทำลายข้าวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่นาชลประทานภาคกลางของประเทศไทย. Thai Journal of Science and Technology. 6(4) ฉบับเสริม: 369-391.
วันทนา ศรีรัตนศักดิ์, จินตนา ไชยวงศ์, กัลยา บุญสง่า, พลอยไพลิน ธนิกกุล, พยอม โคเบลลี่, ศุภลักษณา หล่าจันทึก, วันพร เข็มมุก, สุกัญญา อรัญมิตร และอริษา จิตรติกรกุล. 2562. ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด. กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. กรุงเทพมหานคร. 220 หน้า.
สงกรานต์ จิตรากร. 2537. ข้าว: ทรัพยากรพันธุกรรม. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพมหานคร. 74 หน้า.
สงกรานต์ จิตรากร. 2543. ความหลากหลายทางชีวภาพของข้าวป่าในประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการข้าวแห่งชาติ: การวิจัยและพัฒนาพันธุข้าวด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ. 31 สิงหาคม-1 กันยายน 2543. โรงแรมสีดารีสอร์ท, จ.นครนายก. 10 หน้า.
Azad, M.A.K. 2012. Effect of botanical extract on pest control in Brinjal field. Journal of Environmental Sciences & Natural Resources 5(2): 173-176.
Fabrick, J.A., A.J. Yool and D.W. Spurgeon. 2020. Insecticidal activity of marigold Tagetes patula plants and foliar extracts against the hemipteran pests, Lygus hesperus and Bemisia tabaci. PLoS ONE 15(5): e0233511.
Cheng, J., D.D. Duan, Y.N. Wang, L.Q. Ma, Y.B. Liu and G.I. Shi. 2012. Acaricidal Activity of Stigmasterol from Inula Britannica against Tetranychus cinnabarinus. In: Zhu, E., S. Sambath, (eds) Information Technology and Agricultural Engineering. Advances in Intelligent and Soft Computing, vol 134. Springer, Berlin, Heidelberg.
Gade, S., M. Rajamanikyam, V. Vadlapudi, K. Nukala, R. Aluvala, C. Giddigari, N. Karanam, N. Barua, R. Pandey, V. Upadhyayula, S. Prabhakar, R. Amanchy and S. Upadhyayula. 2016. Acetylcholinesterase inhibitory activity of stigmasterol & hexacosanol is responsible for larvicidal and repellent properties of Chromolaena odorata. Biochimica et Biophysica Acta (BBA)-General Subjects. 1861.
Jannoey, P., D. Channei, J. Kotcharerk, W. Pongprasert and T. Sutt. 2016. Identification of some volatile compounds in rice infestation with brown planthopper (BPH). NU. International Journal of Science 13(2): 49-61.
Khan, Z.R. and R.C. Saxena. 1986. Effect of steam distillate extracts of resistant and susceptible rice cultivars on behavior of Sogatella furcifura (Homoptera: Delphacidae). Journal of Economic Entomology 79: 928-935.
Majeed, M.Z., M.I. Nawaz, R.R. Khan, U. Frooq and C.S. Ma. 2018. Insecticidal effects of acetone, ethanol and aqueous extracts of Azadirachta indica (A. Juss), Citrus aurantium (L.), Citrus sinensis (L.) and Eucalyptus camaldulensis (Dehnh.) against mealybugs (Hemiptera: Pseudococcidae). Tropical and Subtropical Agroecosystems 21: 421-430.
McDonald, L.L., R.H. Guy and R.D. Speirs. 1970. Preliminary evaluation of new candidate materials as toxicants, repellents, and attractants against stored-product insects. 1. USDA Marketing Res. Report 882. Agricultural Research Service, U.S. Department of Agriculture, Washington, DC.
Nanthakumar, M., V.J. Lakshmi, V.B. Shashi, S.M. Balachandran and M. Mohan. 2012. Decrease of rice plant resistance and induction of hormesis and carboxylesterase titre in brown planthopper, Nilaparvata lugens (Stål) by xenobiotics. Pesticide Biochemistry and Physiology 102: 146-152.
Nathan, S.S., K. Kandaswamy, M.Y. Choi and C.H. Paik. 2009. Effect of jasmonic acid-induced resistance in rice on the plant brownhopper Nilaparvata lugens (Stål) (Homoptera: Delphacidae). Pesticide biochemistry and Physiology 95: 77-84.
Oyetunji, O.E., F. Nwilene, A. Togola and K.A. Adebayo. 2014. Antixenotic and Antibiotic Mechanisms of Resistance to African Rice Gall Midge in Nigeria. Trends in Applied Sciences Research 9: 174-186.
Velusamy, R., B. Thayumanavan and S. Sadasivam. 1990. Effect of steam distillate extracts of resistant wild rice Oryza officinalis on behavior of brown planthopper Nilaparvata lugens (Stal) (Homoptera: Delphacidae). Journal of Chemical Ecology 16(3): 809-817.
Venkata, R.B., L.A. Samuel, S.M. Pardha, R.B. Narashimha, V.K. Naga, M. Sudhakar and T.M. Radhakrishnan. 2012. Antibacterial, antioxidant activity and GC-MS analysis of Eupatorium odoratum. Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research 5(2): 99-106.
Wan, S.Q., G.Z. Feng, D.J. Pan, L. Qing and J.C. Deng. 2004. Anti-Feedant Activity of the Extracts from Six Species of Wild Rice Against Spodoptera litura. Rice Science 11(5-6): 313-316.
Wan, S.Q., X.F. Liu, G.Z. Feng and D.J. Pan. 2006. Repellent activity of Extracts of wild rice species against Panonychus citri and Aphis citricola in Associated with esterase isoenzyme in insects. Rice Science 13(2): 146-148.
Yoshihara, T., K. Sogawa, M.D. Pathak, B.O. Juliano and S. Sakamura. 1980. Oxalic acid as a sucking inhibitor of the brown planthopper in rice. (Delphacidae: Homoptera). Entomologia Experimentalis Applicata 27: 149-155.