ข้าวเจ้าพันธุ์ กข57 (ปทุมธานี 200)

Main Article Content

สุนิยม ตาปราบ
กิ่งแก้ว คุณเขต
กาญจนา กล้าแข็ง
วันทนา ศรีรัตนศักดิ์
สุภาพร จันทร์บัวทอง
อภิชาติ ลาวัลย์ประเสริฐ
กัญญา เชื้อพันธุ์
สุนันทา วงศ์ปิยชน
กรรณิการ์ พรหมพันธ์ใจ
วัชรี สุขวิวัฒน์
วาสนา พันธุ์เพ็ง
เกษม สุนทราจารย์
เฉลิมขวัญ ฉิมวัย
พีรพล ม่วงงาม
กนกอร เยาว์ดำ
อดุลย์ กฤษวะดี
ปราณี มณีนิล
ชวลิต หาญดี
วารินทร์ ศรีถัด
สำเริง สกุลสม
บังอร ธรรมสามิสรณ์
อมรรัตน์ อินทร์มั่น
เฉลิมชาติ ฤาไชยคาม
ประกอบกิจ ดังไธสง
เข็มพร เพชราภรณ์
เบญจพล ลวดเงิน
มานิกา น้อยเอี่ยม
พีระ ดุงสูงเนิน
อุดมพรรณ กลาสี
รื่นฤดี แก้วชื่นชัย
กัลย์ฐิตา สวงโท
สุรินทร์ ไตรติลานันท์
สาธิต ทยาพัชร
ประจักษ์ เหล็งบำรุง
ภมร ปัตตาวะตัง

บทคัดย่อ

การปลูกข้าวนาชลประทานเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง มักประสบปัญหาการระบาดทำลายข้าวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำความเสียหายแก่ผลผลิตเสมอมา อีกทั้งพื้นที่ปลูกข้าวดังกล่าว ช่วงปลายปีถึงต้นปี สภาพภูมิอากาศจะหนาวเย็น อุณหภูมิที่ลดลงต่อเนื่อง ช่วงข้าวออกรวง ทำให้ข้าวผสมไม่ติดเมล็ด เมล็ดลีบ ผลผลิตลดลง จำเป็นต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อเป็นทางเลือกแก่เกษตรกร วัตถุประสงค์การวิจัยนี้ เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็น ให้ผลผลิตสูง เพื่อใช้ปลูกในนาชลประทาน โดยการผสมพันธุ์ข้าวระหว่างพันธุ์สุพรรณบุรี 1 (พันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล) กับพันธุ์ IR64 ปลูกคัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 2-6 ปลูกศึกษาพันธุ์ ปลูกทดสอบซ้ำ และคัดเลือกได้สายพันธุ์ SPR94007-PTT-27-2-9-3 และศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เป็นขั้นตอน คือ การเปรียบเทียบผลผลิต เสถียรภาพการให้ผลผลิต การให้ผลผลิตในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การให้ผลผลิตในสภาพอุณหภูมิต่ำ ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน  คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณภาพการสี คุณภาพเมล็ดทางเคมี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน และการยอมรับของเกษตรกร ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537-2557 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองชื่อ “กข57” (ปทุมธานี 200) เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุออกดอก (50 เปอร์เซ็นต์) 87 วัน (ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม) อายุเก็บเกี่ยว 117-120 วัน (ปลูกโดยวิธีปักดำ) ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง ความสูง 115-120 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ความยาวใบ 57 เซนติเมตร กว้าง 1.6 เซนติเมตร รวงยาว 25.7 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 94-123 เมล็ด (ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม) การติดเมล็ดร้อยละ 83 ให้ผลผลิตในนาเกษตรกรเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเปลือกสีฟาง ความยาว 10.75 มิลลิเมตร กว้าง 2.54 มิลลิเมตร หนา 2.11 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว ความยาวเมล็ด 7.41 มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.90 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย (0.84) คุณภาพการสีดี เป็นข้าวอมิโลสสูง (27.33 เปอร์เซ็นต์) ข้าวใหม่เมื่อหุงสุกมีลักษณะร่วน เลื่อมมันเล็กน้อย สีขาวนวล แข็ง ไม่หอม ลักษณะเด่น คือ ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ทนทานต่ออากาศหนาวได้ที่อุณหภูมิต่ำสุด 14 องศาเซลเซียส ให้ผลผลิตสูง (714 กิโลกรัมต่อไร่) เสถียรภาพการให้ผลผลิตดี มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง (1,169 กิโลกรัมต่อไร่) เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ข้อควรระวัง คือ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบหงิก

Article Details

บท
Articles