ข้าวสาลีพันธุ์ กขส1 (สะเมิง 72)

Main Article Content

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย
สาธิต ปิ่นมณี
ศิลาวัน จันทรบุตร
จารุวี อันเซตา
ผกากานต์ ทองสมบุญ
เปรมฤดี ปินทยา
จินตนา ไชยวงค์
อาทิตยา ยอดใจ
อัญชลี ตาคำ
สุมาลี มีปัญญา
บุษกร มงคลพิทยาธร
นงนุช ประดิษฐ์
กาญจนา พิบูลย์
คคนางค์ ปัญญาลือ
กุลชนา ดาร์เวล
สุรพล ใจวงศ์ษา
เนตรนภา อินสลุด

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์และนำเข้าเมล็ดและแป้งข้าวสาลี ในปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้พัฒนาพันธุ์ข้าวสาลีให้มีผลผลิตสูง คุณภาพแป้งเหมาะสำหรับใช้ทำขนมปัง โดยการนำเข้าแหล่งพันธุกรรมจากศูนย์วิจัยการปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) ประเทศเม็กซิโก ปลูกอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง และปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอน คือ การปลูกศึกษาพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ การเปรียบเทียบผลผลิตและเสถียรภาพการให้ผลผลิตการทดสอบความต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี การแปรรูปเป็นขนมปังและประเมินการยอมรับของผู้ประกอบการต่อคุณภาพการแปรรูปเป็นขนมปัง ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2566 คัดเลือกได้สายพันธุ์ SMGBWS88008 และเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2567 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นข้าวสาลีพันธุ์รับรองใช้ชื่อว่าพันธุ์ “กขส1” (สะเมิง 72) มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 89 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีโรยเป็นแถว มีลักษณะทรงกอตั้งต้นสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ใบสีเขียว ใบธงยาว 15.4 เซนติเมตร กว้าง 1.4 เซนติเมตร มุมใบธงค่อนข้างตั้ง คอรวงคดรวงแน่นปานกลาง รวงยาว 10.7 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 43 เมล็ด จำนวนรวงต่อตารางเมตร 344 รวง ผลผลิตเฉลี่ย 441 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดสีขาว เมล็ดมีรูปร่างวงรี เมล็ดยาว 6.28 มิลลิเมตร กว้าง 3.35 มิลลิเมตร หนา 2.82 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เท่ากับ 39.5 กรัม น้ำหนักเมล็ดต่อปริมาตร 79.46 กิโลกรัมต่อเฮกโตลิตร ปริมาณโปรตีน ร้อยละ 12.5 ค่าการตกตะกอน 33.5 มิลลิลิตร กลูเตนเปียกร้อยละ 40.8 และกลูเตนแห้งร้อยละ 15.4 ลักษณะเด่น คือ ผลผลิตสูง และศักยภาพการให้ผลผลิตสูงถึง 569 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพของโปรตีนเหมาะสมสำหรับทำแป้งขนมปังเหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนบน ข้อควรระวัง คือ หากปลูกล่าช้าอาจทำให้เกิดโรคใบจุดสีน้ำตาล

Article Details

บท
Articles

References

กรมการข้าว. 2562. ความต้องการของธัญพืชเมืองหนาวของไทย. หน้า 1-8. ใน: การประชุมผู้ใช้ประโยชน์จากธัญพืชเมืองหนาว. 23 เมษายน 2562. กรมการข้าว, กรุงเทพฯ.

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย, สาธิต ปิ่นมณี, นิพนธ์ บุญมี, อาทิตยา ยอดใจ, นงนุช ประดิษฐ์, สุรพล ใจวงศ์ษา และเนตรนภา อินสลุด. 2565. ข้าวสาลีขนมปังสายพันธุ์ดีเด่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11(1): 17-29.

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย, สุรพล ใจวงศ์ษา และเนตรนภา อินสลุด. 2566. ผลของวันปลูกต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของธัญพืชเมืองหนาวสายพันธุ์ดีเด่น. วารสารแก่นเกษตร 51(3): 452-468.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2566. ข้อมูลสินค้าเกษตรสำคัญ. สืบค้นจาก: http://mis-app.oae.go.th./. (4 เมษายน 2566)

อัจฉราพร ณ ลำปาง และอรุณี สุรินทร์. 2542. โรคที่สำคัญของข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลีในประเทศไทย. หน้า 21. ใน: เอกสารเผยแพร่วิชาการ สถาบันวิจัยข้าว กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อัญชลี ตาคำ, ศศิประภา ซิวแดง และวันพร เข็มมุกด์. 2566. การแยกและคัดเชื้อแบคทีเรียเชื้อปฏิปักษ์เพื่อการควบคุมโรคที่สำคัญในข้าวสาลี. หน้า 2657-2668. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 20 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 7-8 ธันวาคม 2566. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, จ.นครปฐม.

อุสาห์ เจริญวัฒนา, วิเชียร วรพุทธพร, ประทุ้ม สงวนตระกูล และสมไฉน นาถภากุล. 2537. การพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปข้าวสาลีเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารอาหาร 24(1): 23-34.

AACC. 2000. Approved methods of the American association of cereal chemists, 10th ed. America Association of Cereal Chemists. St. Paul, Minnesota.

AOAC. 2005. Official Methods of Analysis of AOAC International. 18th ed. AOAC International. Guithersburg, Maryland, USA.

Canadian Wheat Board. 1980. Canadian grain handbook. Crop year 1979-1980. Canadian Grain Council, Canada.

Finnie, S., and W.A., Atwell. 2016. Wheat and flour testing. pp. 57-71. In: Wheat Flour. 2nd ed. AACC International. Inc., St. Paul, Minnesota.

Grain Baker’s Kitchen. 2022. Sourdough. Available source: https://www.facebook.com/grainbakershop/posts/2957506294524173. (April 19, 2022)

Kent, N.L. 1983. Technology of cereals: an introduction for students of food science and agriculture. 3rd ed. Pergamon Press, Oxford. 221 p.

Pomeranz, Y. 1978. Cereals’78 : Better nutrition for the world’s millions. A commemorative book, Sixth International Cereal and Bread Congress, American Association of Certeal Chemists, Inc., St. Paul, Minnesota.

Pyler, E.J. 1973. Baking Science and Technology. In Two Volumes. Vol. I and II. Siebel publishing Company. Chicago, Illinois.

Saari, E.E. and L.M. Prescott. 1975. A scale for appraising the foliar intensity of wheat diseases. The Plant Disease Reporter 59: 377-380.

Swanson, C.O. 1939. Wheat and Flour Quality. Burgess publishing company, Minneapolis, Minnesota. 227 p.