ผลของปัจจัยด้านประชากร การเกษตร และเครื่องจักรกลเกษตร ที่มีต่อผลผลิตข้าวและอ้อย

Main Article Content

วรางค์รัตน์ ฎาณวรรณ
นพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์

บทคัดย่อ

เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลต่อจำนวนเกษตรกรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้ความสามารถในการทำการเกษตรลดลง และอาจมีผลต่อผลผลิตการเกษตร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและผู้ปลูกอ้อย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากทะเบียนเกษตรกร ปี พ.ศ. 2564 จากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เกณฑ์คัดเลือกอายุตั้งแต่ 20 ปี เป็นต้นไป มากำหนดช่วงอายุของหัวหน้าครัวเรือน 3 ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 20-45 ปี วัยแรงงานตอนต้น ช่วงอายุ 46-59 ปี วัยแรงงานตอนปลาย และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ของหัวหน้าครัวเรือนที่เพาะปลูกข้าวและอ้อย จำนวนของครัวเรือนที่ปลูกข้าว 3,050,426 ครัวเรือน และจำนวนครัวเรือนที􀃉ปลูกอ้อย 18,947 ครัวเรือน โดยผู้วิจัยใช้ผลผลิตเป็นตัวแปรตาม ปัจจัยด้านประชากร (เพศ อายุ การศึกษา) ด้านการเกษตร (เขตพื้นที่ การถือครอง และแหล่งน้ำ) และเครื่องจักรกลเกษตร (เครื่องจักรกลเกษตร 8 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 เครื่องต้นกำลัง กลุ่ม 2 เครื่องมือเตรียมดิน กลุ่ม 3 เครื่องปลูก กลุ่ม 4 เครื่องมือดูแลรักษา กลุ่ม 5 เครื่องมือเก็บเกี่ยว กลุ่ม 6 เครื่องสูบน้ำ กลุ่ม 7 รถบรรทุกการเกษตร และกลุ่ม 8 เครื่องมือหลังเก็บเกี่ยว) เป็นตัวแปรอิสระ จำนวน 17 และ 16 ตัวแปรสำหรับข้าว และอ้อย ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาสำหรับข้าว พบว่า ด้านประชากร หัวหน้าครัวเรือนเพศชาย อายุ 60 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น สามารถสร้างผลผลิตได้ดี ด้านการเกษตร เขตพื้นที่ภาคกลาง การเช่าที่ดินในการเกษตร พื้นที่เกษตรอยู่ในเขตชลประทาน และอยู่ใกล้แหล่งน้ำการเกษตร สามาถสร้างผลผลิตได้ดี และในด้านเครื่องจักรกลเกษตร การถือครองเครื่องจักรกลเกษตรกลุ่ม 1 สามารถสร้างผลผลิตได้มากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่ม 3 7 และ 4 สำหรับอ้อย พบว่า ด้านประชากร หัวหน้าครัวเรือนเพศหญิง ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย และมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มากกว่า 2 คนขึ้นไป สามารถสร้างผลผลิตได้ดี ด้านการเกษตร เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การถือครองที่ดิน พื้นที่เกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน และอยู่ใกล้แหล่งน้ำ การเกษตรสามารถสร้างผลผลิตเพิ่ม และในด้านเครื่องจักรกลเกษตร การถือครองเครื่องจักรกลเกษตรกลุ่ม 5 สามารถสร้างผลผลิตได้มากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่ม 2

Article Details

บท
Articles

References

กรมการปกครอง. 2564. แจ้งข้อมูลการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564. กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นจาก: https://library.dopa.go.th/article/66c8437e4d597. (31 ธันวาคม 2564)

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2564. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มทะเบียนเกษตรกร. กรมส่งเสริมการเกษตร.

จิรัฐ เจนพึ่งพร, โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, วิษณุ อรรถวานิช และบุญธิดา เสงี่ยมเนตร. 2562. พลวัตการทำเกษตรไทยและนัยต่อผลตอบแทนและความเสี􀃉ยงของครัวเรือนเกษตร. สืบค้นจาก: https://www.pier.or.th/abridged/2019/14/. (20 เมษายน 2566)

มณฑา ไก่หิรัญ. 2565. ส่องกระแสความเคลื่อนไหว “สตาร์ทอัพเกษตรไทย” ปี 2022. สืบค้นจาก: https://www.nia.or.th/AgTech-Startup-Recap-2022. (1 พฤษภาคม 2566)

สมคิด พุทธศรี. 2565. ตั้งหลักใหม่ภาคเกษตรไทย: เกษตรกรไทยพร้อมปรับตัวมากกว่าที่รัฐคิด-วิษณุ อรรถวานิช. สืบค้นจาก: https://www.the101.world/witsanuattavanich-the-great-reset-interview/. (15 มิถุนายน 2566)

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2564. (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้าเศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

Attavanich, W., S. Chantarat and B. Sa-ngimnet. 2018. Microscopic view of Thailand’s agriculture through the lens of farmer registration and census data. Forthcoming PIER Discussion Paper.

Lee, T. 2015. The aging of agriculture and the income instability of young farmers in Korea. In: The FFTCMARDI International Seminar on Cultivating the Young Generation of Farmers with Farmland Policy Implications, May 25-29, MARDI, Serdang, Selangor, Malaysia.

Ozimek, A., D. DeAntonio and M. Zandi. 2017. Aging and the productivity puzzle. Moody’s Analytics (AEA conference paper). 4 September, 2018.

Siamwalla, A. and N. Poapongsakorn. 2017. Transformation of the Thai rice economy in the last two decades. In: The Thai Studies International Conference. 15-18 July 2017. Chiang Mai, Thailand.

Tauer, L. 1995. “Age and farmer productivity,” review of agricultural economics. Agricultural and Applied Economics Association 17(1): 63-69.