การประเมินทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านปรับปรุงพันธุ์

Main Article Content

กุลชนา ดาร์เวล
จิตรา สุวรรณ์
พีรพล ม่วงงาม
วัชรี สุขวิวัฒน์
ปราณี มณีนิล
ธารารัตน์ มณีน่วม
กนกอร วุฒิวงศ์
กิตติมา รักโสภา
ประจักษ์ เหล็งบำรุง
เจริญ ทองระย้า
เกษศิณี พรโสภณ
ดวงกมล บุญช่วย
คคนางค์ ปัญญาลือ
พันนิภา ยาใจ
ปิยะวรรณ ใยดี
อัญชลี ตาคำ
กรสิริ ศรีนิล
นุจรินทร์ จังขันธ์ โกเมส เด ฟาเรียส
ชนสิริน กลิ่นมณี
คนึงนิจ ศรีวิลัย
อังคณา กันทาจันทร์
ยุพดี รัตนพันธ์
นันทิภา คำขจร
จินตนา ไชยวงค์
วันพร เข็มมุกด์

บทคัดย่อ

ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ (ศขช.) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเก็บอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมข้าวทั้งพันธุ์ข้าวปลูก ข้าวพื้นเมืองและข้าวป่าหายากของประเทศไทย ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและศักยภาพที่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะสนับสนุนแหล่งพันธุกรรมให้กับนักปรับปรุงพันธุ์ การจำแนกและประเมินเชื้อพันธุกรรมข้าวจึงมีความจำเป็นเพื่อนำความหลากหลายทางพันธุกรรมไปใช้ โดยงานวิจัยนี้ได้รวบรวมผลการประเมินลักษณะที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากตัวอย่างข้าว 15,524 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ พบว่า เชื้อพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะทางการเกษตรที่มีศักยภาพดีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น วันออกดอกเร็วของข้าวไวต่อช่วงแสง มีจำนวน 65 ตัวอย่าง ต้นเตี้ย (ต่ำกว่า 100 เซนติเมตร) 792 ตัวอย่าง รวงยาว (มากกว่า 30 เซนติเมตร) 1,172 ตัวอย่าง จำนวนรวงต่อกอ (มากกว่า 25 รวง) จำนวน 20 ตัวอย่าง ใบยาว (มากกว่า 80 เซนติเมตร) จำนวน 69 ตัวอย่าง ประเมินลักษณะเมล็ดทางกายภาพ พบว่า มีขนาดความกว้างเมล็ดตั้งแต่ 0.84-6.39 มิลลิเมตร ความยาวเมล็ดตั้งแต่ 3.09-12.0 มิลลิเมตร มีน้ำหนัก 100 เมล็ด ระหว่าง 1.19-5.67 กรัม ลักษณะเมล็ดทางเคมีที่สำคัญ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์อมิโลส พบว่า มีค่าอมิโลสต่ำ (11-20 เปอร์เซ็นต์) จำนวน 598 ตัวอย่าง อมิโลสปานกลาง (21-25 เปอร์เซ็นต์) จำนวน 987 ตัวอย่าง มีความหอมจำนวน 176 ตัวอย่าง ผลการประเมินความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ จำนวน 100 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์พบว่า มีเชื้อพันธุ์ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย โรคไหม้ และโรคไหม้คอรวง จำนวน 19 49 1 34 และ 8 ตัวอย่าง ตามลำดับ ต้านทานต่อเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว แมลงบั่วและหนอนกอ จำนวน 7 2 11 และ 42 ตัวอย่าง ตามลำดับ

Article Details

บท
Articles

References

Adair, C.R. 1952. The Mcgill miller method for determining the milling quality of small samples of rice. Rice Journal 55(2): 21-22.

Chotechuen, S., A. Lawanprasert, V. Phanpheng, K. Soontrajarn, K. Phomphunjai, K. Cheaupun, S. Wongpiyachon, W. Sukviwat, S. Meunpol, O. Worawat, B. Thamsamisarn, K. Sripongphankul, S. Srivisut, U. Prommanat, C. Petcharanuwat and O. Wattanesk. 2009. Evaluation of rice genetic resources in the central, eastern and western regions in 2008. In: Proceedings of Rice and Temperate Cereal Crops Annual Conference 2009. June 9-11, 2009. Sea Breeze Jomtien Resort, Chonburi province. (in Thai)

IRRI. 1996. Standard Evaluation System for Rice. 4th ed. International Rice Research Institute, P.O. Box 933, Manila, Philippines. 54 p.

IRRI and IBPGR. 1980. Descriptors for rice Oryza sativa L. IRRI., P.O. Box 933, Manila, Philippines. 21 p.

Jennings, P.R., W.R. Coffman and H.E. Kauffman. 1979. Rice Improvement. International Rice Research Institute. Los Baños, Laguna, Philippines. 186 p.

Juliano, B.O. 1979. The chemical basis of grain quality. pp. 69-90. In: Proceedings of the workshop on chemical aspects of rice grain quality. International Rice Research Institute. Los Baños, Laguna, Philippines.

Juliano, B.O. 1985. Criteria and test for rice grain qualities, pp. 443-524. In: Juliano, B.O. (ed.), Rice: Chemistry and Technology, 2nd ed. The American Association of Cercal Chemists, Inc., St. Paul, Minnesota.

Khongsaree, K. 1993. Chemical seed quality. pp. 54-70. In: Documents for Post-Harvest Training. September 20-23, 1993. Phatthalung Rice Research Center, Phatthalung province. (in Thai)

Khush, G.S. 1999. Breaking the yield frontier of rice. GeoJournal 35: 329-332.

Khush, G.S., P.S. Virk, A. Evangelista, B. Romena, A. Pamplona, V. Lopena, N. Dela Cruz, S. Peng, C.V. Cruz and M. Cohen. 2001. Germplasm with high yield potential. pp. 4-5. In: 2001 Annual Report. Plant Breeding, Genetics and Biochemistry Division, International Rice Research Institute. Los Baños, Philippines.

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2012. Thai agricultural standard TAS 4000-2012: Rice. Ministry of Agriculture and Cooperatives. 34 p. (in Thai)

Peng, S., G.S. Khush, P. Virk, Q. Tang and Y. Zou. 2008. Progress in ideotype breeding to increase rice yield potential. Field Crops Research 108(1): 32-38.

Wattanesk, O. 2007. Recording of rice cultivar characteristics according to the standard record form of the International Rice Research Institute. In: Documents for Training on Classification and Evaluation of Rice Germplasm Characteristics. September 17-19, 2007. Rice Research and Development, Rice Department, Bangkok. (in Thai)

Wattanesk, O., A. Asawasophonkul., P. Phusuwan, C. Wutthiyano and S. Chitrakorn. 2001. Evaluation of Native Rice Varieties at Pathum Thani Rice Research Center and Bangkhen Rice Experiment Station in wet season 1999. pp. 91- 106. In: Annual Rice Research Conference 2001. Pathum Thani Rice Research center. July 3-4, 2001. Rice Research Institute, Department of Agriculture. (in Thai)

Yuan, L. 2017. Progress in super- hybrid rice breeding. The Crop Journal 5: 100-102.