ข้าวเจ้าพันธุ์ กข91

Main Article Content

สุภาพร จันทร์บัวทอง
วัลภา ทองรักษ์
กนกอร เยาว์ดํา
วัชรี สุขวิวัฒน์
ปราณี มณีนิล
ธารารัตน์ มณีน่วม
อดุลย์ กฤษวะดี
กนกอร วุฒิวงศ์
บังอร ธรรมสามิสรณ์
กิตติมา รักโสภา
ประจักษ์ เหล็งบํารุง
ชวนชม ดีรัศมี
ดวงกมล บุญช่วย
ชัยรัตน์ จันทร์หนู
เบญจวรรณ พลโคตร
เกษศิณี พรโสภณ
กัลย์ฐิตา สวงโท
ภัทรมน คงสมยุติ

บทคัดย่อ

ตลาดส่งออกข้าวไทยยังมีความต้องการข้าวเมล็ดขนาดปานกลางในหลายประเทศ เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งรุนแรงต่อเนื่องยาวนานในประเทศผู้ผลิตรายใหม่ ประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวเมล็ดปานกลางเพียงพันธุ์เดียว คือ กข81 ข้าวพันธุ์ นี้ยังขาดลักษณะบางประการที่สนองความต้องการของตลาดที่มีความหลากหลาย จึงได้วิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเมล็ดขนาดปานกลางตามความต้องการของตลาดส่งออก ผลผลิตสูง อายุเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ในเขตชลประทาน เพื่อเพิ่มโอกาสและขยายตลาดสินค้าข้าวไทย โดยการนําเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์แก้ความเป็นหมัน (R line) สายพันธุ์ IR101870-60-1 จากสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) นํามาปลูกคัดเลือกแบบสืบประวัติ (pedigree selection) ตั้งแต่ประชากรชั่วที่ 5-7 และคัดเลือกได้สายพันธุ์ที่มีเมล็ดขนาดปานกลาง คือ IR101870-60-1-PTT-5-3-27 โดยวิจัยปรับปรุงพันธ์เป็นขั้นตอนคือ การศึกษาพันธุ์ การเปรียบเทียบผลผลิต ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณภาพการสี คุณภาพเมล็ดทางเคมี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน และประเมินการยอมรับของเกษตรกร ดําเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2564 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองชื่อ “กข91” เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 107 วัน (ปลูกโดยวิธีปักดํา) ความสูง 107 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว คอรวงสั้น รวงยาว 30.7 เซนติเมตร รวงค่อนข้างแน่น ระแง้ถี่ จํานวนเมล็ดดีต่อรวง 200 เมล็ด เมล็ดร่วงน้อยนวดง่าย เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางมีขนาดเมล็ดปานกลาง มีความยาว 8.25มิลลิเมตร กว้าง 3.10 มิลลิเมตร หนา 2.06 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว ความยาว 5.73 มิลลิเมตร กว้าง 2.63 มิลลิเมตร หนา 1.86 มิลลิเมตร รูปร่างเมล็ดปานกลาง ท้องไข่ค่อนข้างมาก (1.60) คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 62.2 อุณหภูมิ แป้งสุกต่ำ ความคงตัวแป้งสุกอ่อน การยืดตัวของข้าวสุกปกติ (1.67 เท่า) ข้าวสุกนุ่ม ค่อนข้างเหนียว และไม่มีกลิ่นหอม ลักษณะเด่น คือ เป็นข้าวเจ้าขนาดเมล็ดปานกลาง ไม่ไวต่อช่วงแสง มีปริมาณอมิโลสต่ํา (ร้อยละ 18.49) ต้านทานถึงต้านทาน สูงต่อโรคไหม้ ให้ผลผลิตสูง (763 กิโลกรัมต่อไร่) มีศักยภาพการให้ผลผลิตในแปลงนาเกษตรกรถึง 1,100 กิโลกรัมต่อไร่ แนะนําให้ปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความต้องการของผู้ประกอบการที่สามารถเชื่อมโยงผลผลิตไปสู่การแปรสภาพเป็นข้าวสาร และรับซื้อข้าวเปลือกแน่นอน ข้อควรระวัง คือ ค่อนข้างอ่อนแอถึงอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง

Article Details

บท
Articles

References

กรมการค้าต่างประเทศ. 2564. สถานการณ์ข้าวโลกและข้าวไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2564. สืบค้นจาก: https://www.dft.go.th/th-th/dft-service-dataproductgrou. (12 กรกฎาคม 2564)

กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. ลักษณะและสมบัติของชุดดินภาคกลาง. สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน. กรมพัฒนาที่ดิน. สืบค้นจาก: https://www.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_desc/central/Rs.htm. (17 มิถุนายน 2559)

งามชื่น คงเสรี. 2545. คุณภาพข้าวและการตรวจสอบข้าวปนในข้าวหอมมะลิไทย. หน้า 12. ใน: คุณภาพข้าวสวย.กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.กรุงเทพฯ.

Ag Fax. 2020. Global Markets : Rice-Medium- and Short-Grain Trade Overview. สืบค้นจาก: https://agfax.com และ https://usda.library.cornell.edu. (23 กรกฎาคม 2564)

Heinrichs, E.A., F.G. Medrano and H.R. Rupasas. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. International Rice Research Institute, Los Banõs, Manila, Philippines. 352 p.

IRRI. 2014. Standard Evaluation System for Rice (SES). International Rice Research Institute, Los Banõs, Philippines. 57 p.

Ishiyama, S. 1922. Studies of bacterial leaf blight of rice. Rep. Imp. Agric. Stn. Kanosu. 45: 233-261.

Swings, J., M.V.D. Mooter, L. Vauterin, B. Hoste, M. Gillis, T.W. Mew and K. Kersters. 1990. Reclassification of the causal agents of bacterial blight (Xanthomonas campestris pv. oryzae) and bacterial leaf streak (Xanthomonas campestris pv. oryzicola) of rice as pathovars of Xanthomonas oryzae (ex Ishiyama 1922) sp. nov., nom. rev. Int. J. Syst. Bacteriol. 40(3): 309-311.