ข้าวเหนียวพันธุ์ดำดาษ 20

Main Article Content

ดลตภร โพธิ์ศิริ
เสรี พลายด้วง
สมบูรณ์ สุวรรณโณ
ชนสิริน กลิ่นมณี
โอรักษ์ ทองเด็จ
เพชรี เซ่งซิ้ม
เอกราช แก้วนางโอ
สิทธ์ ใจสงฆ์
พัชราภรณ์ รักชุม
พีรพล รัตนะ
บุษยรัตน์ หมอกมัว
กฤษณะ ศิริรัตน์
วัชรี สุขวิวัฒน์
ปราณี มณีนิล
ธารารัตน์ มณีน่วม

บทคัดย่อ

ข้าวเหนียวพันธุ์ดำดาษ เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมือง มีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอําเภอทุ่งสง บางขัน และทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและคุณภาพการสีดี ข้าวหุงสุกค่อนข้างเหนียว ปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรนิยมปลูกมากขึ้น โดยเกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ปลูกเอง ทําให้ลักษณะประจําพันธุ์ไม่แน่นอน และคุณภาพการสีต่ำ ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราชจึงได้วิจัยปรับปรุงพันธุ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวดําดาษ ให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี สําหรับปลูกแซมยางพาราและปาล์มน้ำมันปลูกใหม่ โดยเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวดําดาษจากแหล่งปลูกเดิมมาปลูกคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่มีลักษณะดีตามหลักการปรับปรุงพันธุ์ ได้สายพันธุ์ NSRC14012-20 และได้ดําเนินการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอน คือ การคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์การศึกษาพันธุ์ การเปรียบเทียบผลผลิตและลักษณะทางการเกษตร การทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบ สนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณภาพการสี คุณภาพเมล็ดทางเคมี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน คุณค่าทางโภชนาการ และการยอมรับของเกษตรกร ดําเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2564 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ใช้ชื่อว่าพันธุ์ “ดำดาษ 20” เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ออกดอกช่วงวันที่ 14 กันยายน - 4 ตุลาคม (ปลูกโดยวิธีหยอดเมล็ดข้าวแห้งเป็นหลุม) เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ถึงต้นเดือนพฤศจิกายนทรงกอตั้ง ความสูง 155.0 เซนติเมตร ลําต้นแข็ง ใบและกาบสีเขียว ความยาวใบ 56.0 เซนติเมตร กว้าง 2.2 เซนติเมตร ความยาวรวง 30.6 เซนติเมตร รวงค่อนข้างแน่น การติดเมล็ดดี จํานวนเมล็ดดีต่อรวง 193 เมล็ด การปลูกในสภาพไร่แซมปาล์มน้ำมันยางพาราปลูกใหม่ของเกษตรกร ให้ผลผลิตเฉลี่ย 398 และ 407 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลําดับ ข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ข้าวกล้องสีดํา รูปร่างเรียว ปริมาณโปรตีนในเมล็ด 8.82 เปอร์เซ็นต์ ข้าวหุงสุกไม่มีกลิ่นหอม ค่อนข้างเหนียว นุ่ม ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง คุณภาพการสีดีมาก คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี คุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารแอนโทไซยานินสูง แนะนําให้ปลูกในสภาพไร่แซมปาล์มน้ำมัน/ยางพาราปลูกใหม่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ข้อควรระวัง คือ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ระยะกล้าและโรคขอบใบแห้ง และอ่อนแอมากต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

Article Details

บท
Articles

References

กรมการข้าว. 2555. ข้าวลืมผัว...มรดกของแผนดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 60 หน้า.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2557. ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคใต้ และชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย. สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. กรม พัฒนาที่ดิน. สืบค้นจาก: http://www.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_desc/south/te.htm. (8 มีนาคม 2564)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560. แผนที่กษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map Online). สืบค้นจาก: http://agri-map-online.moac.go.th (8 มีนาคม 2564)

การยางแห่งประเทศไทย. 2560 สรุปผลการอนุมัติแยกยางพารา ไม้ยืนต้น ปาลม์น้ำมัน และเกษตรผสมผสาน. จังหวักนครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก: http://app5120. orraf.co.th:7778/discoverer. (21 กรกฎาคม 2560)

Heinrichs, E.A., F.G. Medrano and H.R. Rupasas. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. International Rice Research Institute, Los Banõs, Manila, Philippines. 352 p

IRRI. 2014. Standard Evalulation System for Rice (SES). International Rice Research Institute, Los Baños, Philipines. 57 p.

Ishiyama, S. 1922. Studies of bacterial leaf blight of rice. Rep. Imp. Agric. Stn. Kanosu. 45: 233-261.

Swings, J., M.V.D. Mooter, L. Vauterin, B. Hoste, M. Gillis, T.W. Mew and K. Kersters. 1990. Reclassification of the causal agents of bacterial blight (Xanthomonas campestris pv. oryzae) and bacterial leaf streak (Xanthomonas campestris pv. oryzicola) of rice as pathovars of Xanthomonas oryzae (ex Ishiyama 1922) sp. nov., nom. rev. Int. J. Syst. Bacteriol. 40(3): 309-311.