การสูญเสียคุณภาพและความหอมของข้าวหอมมะลิในห่วงโซ่การผลิต

Main Article Content

อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
สุนันทา วงศ์ปิยชน
กฤษณา สุดทะสาร
รานี เมตตาจิตร
ศิริลักษณ์ ใจบุญทา
ปราณี มณีนิล
วัชรี สุขวิวัฒน์

บทคัดย่อ

ปัญหาเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคว่า ความหอมของข้าวหอมมะลิลดลง จึงได้วิจัยเพื่อติดตาม และประเมินการสูญเสียคุณภาพและความหอมทุกขั้นตอนการผลิตข้าวหอมมะลิ จากแปลงนาเกษตรกรจนถึงการแปร สภาพเป็นข้าวสาร จํานวน 25 เส้นทางของจังหวัดอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อํานาจเจริญ เชียงราย และพะเยา ดําเนินการ ในปี พ.ศ. 2560-2561 โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวหอมมะลิในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวการลดความชื้น ของโรงสี การแปรสภาพโดยการกะเทาะ ขัดขาว ขัดมัน การปรับปรุงสภาพ และการบรรจุถุงจําหน่าย และตรวจสอบ คุณภาพทางกายภาพเคมี และวิเคราะห์ปริมาณสารหอม 2AP พบปริมาณสารหอมในตัวอย่างข้าวแยกตามประเภทข้าว หอมมะลิคุณภาพดี ข้าวหอมมะลิทั่วไป ข้าวอินทรีย์ส่งออก และข้าวอินทรีย์ทั่วไปอยู่ในช่วง3.34-4.76 2.54-5.05 2.515.27 และ3.44-4.18 ppm ตามลําดับ คุณภาพทางกายภาพและเคมีของตัวอย่างข้าวพันธุ์ กข15 และขาวดอกมะลิ 105 ในทุกเส้นทางการผลิต อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย คือ ความยาวเมล็ดไม่ต่ํากว่า 7.0 มิลลิเมตร อัตราส่วน ความยาวต่อความกว้างเมล็ดไม่ต่ํากว่า 3.2:1 ปริมาณอมิโลสร้อยละ 13.0-18.0 ค่าการสลายเมล็ดข้าวในด่างอยู่ใน ระดับ 6-7 ส่วนปริมาณสารหอม 2AP ของข้าวหอมมะลิคุณภาพดี ข้าวหอมมะลิทั่วไป ข้าวอินทรีย์ส่งออก และข้าว อินทรีย์ทั่วไป พบว่า ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 37.0 55.8 39.4 และ 42.5 ตามลําดับ โดยสารหอม 2AP ในข้าวลดลงในทุกขั้น ตอนการผลิต และลดลงมาก (ร้อยละ 17-28) เมื่อผ่านการอบลดความชื้น สําหรับการแปรสภาพทําให้ปริมาณสารหอม 2AP ลดลง ร้อยละ 15-24 นอกจากนี้ การกองรวมของข้าวคุณภาพต่างกัน อุณหภูมิในการลดความชื้น และการแปร สภาพ มีส่วนทําให้ความหอมในข้าวลดลง ในข้าวอินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรลดความชื้นโดยการตากแดด และแปร สภาพตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีขั้นตอนน้อยกว่าโรงสี จึงมีการสูญเสียสารหอมน้อยกว่า

Article Details

บท
Articles

References

รณชัย ช่างศรี, กฤษณา สุดทะสาร, ปริชาติ คงสุวรรณ, พัชราภรณ์ รักชุม, ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์, ธานี ชื่นบาน และวราภรณ์ วงศ์บุญ. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย. วารสารวิชาการข้าว 7(1): 20-44.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. 2562. รายงานสถานการณ์ส่งออกข้าว แนวโน้มและทิศทางการส่งออกข้าวไทย ปี 2562. สืบค้นจาก: http://www.thairiceexporters.or.th/Press%20release/2019/TREA%20Press%20Release%20Thai%20Rice%20Situation%20&%20Trend%20Year%202019-30012019.pdf. (15 พฤศจิกายน 2562)

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2560. ข้าวหอมมะลิไทย: มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4000-2560. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 134 ตอนพิเศษ 221 ง วันที่ 8 กันยายน 2560. 39 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2562. สืบค้นจาก: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/ebookcategory/38_commodity2562. (15 พฤศจิกายน 2562)