การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตข้าว และสํารวจการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูข้าวของเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี

Main Article Content

ดารารัตน์ มณีจันทร์
รัตนวรรณ จันทรศศิธร
ผกามาศ วงค์เตย์
รัตติกาล อินทมา
ภัทรศยา สายยืด
นฤมล เสือแดง
วรัญสิตา ใบเด
จุฬารักษ์ ศรีศักดา
ศุภนัฐ นีซัง
ณุภาวี สะกัญญา

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกษตรกรใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดพิษตกค้างของสารในผลผลิตทางการเกษตรเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งออกได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจติดตามพิษตกค้างของสารป้องกันกําจัดศัตรูข้าวในผลผลิตข้าวของจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี ดําเนินการที่สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2563-2564 โดยเก็บตัวอย่างผลผลิตข้าวพันธุ์ต่างๆ จากเกษตรกรจังหวัดละ 40 ตัวอย่าง นำมาสกัดตามวิธีของ AOAC และวิเคราะห์ด้วยเครื่องลิควิดโครมาโทกราฟี-แมสสเปคสเปคโทรมิเตอร์ (LC-MS/MS) และเครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟ-แมสสเปคสเปคโทรมิเตอร์ (GC-MS/MS) ซึ่งผ่านการทดสอบความใช้ได้ที่ขีดจํากัดของการตรวจพบ (LOD) 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และขีดจํากัดการตรวจวัดเชิงปริมาณ (LOQ) ที่ความเข้มข้น 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลการตรวจสอบ พบสารพิษตกค้างในตัวอย่างข้าวจากจังหวัดสุพรรณบุรี จํานวน 18 ตัวอย่าง (ร้อยละ 22.5) เป็นสารป้องกันกําจัดแมลง omethoate (2 ตัวอย่าง) และสาร carbofuran (1 ตัวอย่าง) สารเคมีป้องกันกําจัดโรคพืชพบ cyproconazole (1 ตัวอย่าง) สาร propiconazole (7 ตัวอย่าง) และสาร tebuconazole (13 ตัวอย่าง) แต่ไม่พบพิษตกค้างของสารป้องกันกําจัดศัตรูข้าวจากจังหวัดกาญจนบุรี จากการสํารวจพบการทําลายของเพลี้ยไฟและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เกษตรกรแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูข้าว เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงทุกระยะของการปลูก โดยใช้สาร thiamethoxam และ thiacloprid ในระยะกล้า ส่วนระยะแตกกอ และระยะข้าวตั้งท้อง ใช้สาร abamectin รวมทั้งสามระยะมีการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงมากถึงร้อยละ 70 สําหรับโรคข้าวพบโรคเมล็ดด่างในจังหวัดสุพรรณบุรี และโรคใบไหม้และใบจุดสีน้ำตาลในจังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีใช้สารเคมีป้องกันจํากัดโรค difenoconazole+propiconazole ในระยะข้าวตั้งท้องและระยะเริ่มออกรวง ตามข้อกําหนดของกฎหมายไทยและ Codex's MRLs พบว่า สารพิษตกค้างที่ตรวจพบในตัวอย่างข้าวจํานวน 18 ตัวอย่างมี ปริมาณไม่เกินค่าที่กําหนด แต่เมื่อพิจารณาข้อกําหนดของสหภาพยุโรป ปริมาณสารตกค้างดังกล่าวเกินค่ากําหนด จึงควรมีการรณรงค์ลดใช้สารเคมี รวมทั้งการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูข้าวอย่างถูกต้องเหมาะสมตามคําแนะนําของทางราชการ เพื่อลดพิษตกค้างของสารในผลผลิตข้าวที่อาจส่งผลต่อการส่งออกข้าวไทย

Article Details

บท
Articles

References

จินตนา ไชยวงค์, วันทนา ศรีรัตนศักดิ์, สุกัญญา อรัญมิตร และอุรัสยาน์ บูลย์ประมุข. 2556. พฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงของเกษตรกรที่เป็นพื้นที่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคกลาง. หน้า 248-264. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ประจำปี 2555. วันที่ 21-25 มีนาคม 2556. ณ โรงแรม หินสวย-น้ำใสรีสอร์ท, ระยอง.

ชลธิชา วรรณวิมลรักษ์, รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ และสมพนธ์ วรรณวิมลรักษ์. 2561. การประเมินผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดนครปฐม ประเทศไทย. หน้า 220-225. ใน: การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติครั้งที่ 19. วันที่ 26-27 เมษายน 2561. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติจุฬาภรณ์, คณะสัตวแพทย์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประจวบคีรีขันธ์.

พยอม โคเบลลี่ และธีรดา หวังสมบูรณ์ดี. 2562. สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นสารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ : ผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวไทย. วารสารวิชาการข้าว 10(1): 108-119.

เพ็ญแข แสงแก้ว. 2541. การวิจัยทางสังคมศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 274 หน้า.

มณฑาทิพย์ อรุณวรากรณ์, กัญญารัตน์ เต็มปิยพล และจิราภา เมืองคล้าย. 2557. ศึกษาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในผลิตผลเกษตร ดิน และน้ำบริเวณแปลงปลูกในเขตพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 : ข้าว. หน้า 233-239. ใน: รายงานผลงานเรื่องเต็มการทดลองที่สิ้นสุด 2556 โครงการ : วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร.

ยงยุทธ ไผ่แก้ว, น้ำเย็น ศิริพัฒน์ และประภัสสรา พิมพ์พันธุ์. 2553. การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง cyproconazole, hexaconazole, propiconazole, tebuconazole และ tetraconazole ในผัก. ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2553. กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร 2553(1): 270-282.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2551-2561. สืบค้นจาก: http://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH. (17 มิถุนายน 2561)

AOAC. 2007. Pesticide residues in foods by acetonitrile extraction and partitioning with magnesium sulfate. Available source: https://nucleus.iaea.org/sites/fcris/Shared%20Documents/SOP/AOAC_2007_01.pdf. (June 17, 2018)

Gupta, R.C. 2012. Amitraz. pp. 599-603. In: Gupta, R.C, (ed.), Veterinary Toxicology Basic and Principle. 2nd ed. Academic Press, San Diego.