การใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว

Main Article Content

พากเพียร อรัญนารถ
นงรัตน์ นิลพานิชย์
รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าวในสภาพแปลงนาที่ศูนย์วิจัยข้าว ปทุมธานี ในฤดูนาปรังและนาปี 2547 โดยใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis อันดับ 1-5 ที่ผ่านการคัดเลือกจากเรือนทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ทำการทดลองกับข้าวเจ้าพันธุ์หอมคลองหลวง 1 โดยการพ่นเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์แต่ละไอโซเลท อัตราความเข้มข้นของเชื้อที่ 109 cfu/ml จำนวน 3 ครั้ง ในระยะข้าวตั้งท้อง ระยะรวงข้าวเริ่มโผล่ออกจากกาบหุ้มรวงได้ 5% และระยะหลังจากที่ต้นข้าวออกรวงทั้งหมดแล้ว ฤดูนาปรัง 2547 พบว่าเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis 3 ไอโซเลท ให้ผลดีในการควบคุมโรคนี้ โดยมีระดับความรุนแรงของโรคต่ำกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบ (check) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เชื้อ B. subtilis No. 33 ให้ผลในการควบคุมโรคได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ B. subtilis No. 4 และ No. 9 ตามลำดับ ส่วนฤดู นาปี 2547 พบว่า เชื้อ B. subtilis 4 ไอโซเลท ให้ผลดีในการควบคุมโรค โดยมีระดับความรุนแรงของโรคต่ำกว่า กรรมวิธีเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เชื้อ B. subtilis No. 33 ให้ผลในการควบคุมโรคเมล็ดด่างได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่เชื้อ B. subtilis No. 9, No. 4 และ No. 29 ตามลำดับ ในฤดูนาปี 2548 ทำการพ่นเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 3 ไอโซเลทแบบเดี่ยวๆ และนําเชื้อแต่ละตัวมาใช้ร่วมกัน ได้แก่ เชื้อ B. subtilis No. 4 + B. subtilis No. 9, B. subtilis No. 4 + B. subtilis No. 33 และ B. subtilis No. 9 + B. subtilis No. 33 ที่อัตราความเข้มข้นของเชื้อที่ 109 cfu/ml และมีการพ่นน้ำเป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ พ่นเชื้อจำนวน 3 ครั้ง ในระยะต้นข้าวตั้งท้อง ระยะรวงข้าวเริ่มโผล่ออกจากกาบใบธง 5% และเมื่อต้นข้าวออกรวงแล้วทุกต้นตลอดแปลง ทำการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช propiconazol 25% EC จำนวน 2 ครั้ง ในขณะที่ต้นข้าวตั้งท้องและระยะข้าวออกรวงได้ 5% โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 8 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ทดลองบนข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 พบว่า กรรมวิธีที่ พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช propiconazol 25% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคต่ำสุด รองลงมาได้แก่ การใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ 2 ไอโซเลทร่วมกันและการใช้เชื้อแบคทีเรียแบบเดี่ยว ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคต่ำกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการพ่นด้วยเชื้อ B. subtilis 2 ไอโซเลทร่วมกัน หรือพ่น B. subtilis แบบเดี่ยวๆ ระดับความรุนแรงของโรคไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

Article Details

บท
Articles

References

พากเพียร อรัญนารถ และนงรัตน์ นิลพานิชย์. 2542. การควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวด้วยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์และเบนโนมิล. หน้า 1-10. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2542. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร.

พากเพียร อรัญนารถ, อรุณี สุรินทร์, วิชิต ศิริสันธนะ, นพพร นภีรงค์ และกัญจนา พุทธสมัย. 2522. การศึกษาโรคเมล็ดด่างของข้าว. หน้า 309-310. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2522. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร.

พากเพียร อรัญนารถ, อรุณี สุรินทร์, วันชัย โรจนหัสดิน, สมคิด ดิสถาพร, พยนต์ ขาวสะอาด และเกษม สุนทราจารย์. 2532. ผลผลิตของข้าวที่ลดลงเนื่องจากโรคเมล็ดด่าง. หน้า 87-91. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2532. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร.

Mew,T.W., A.M. Rosales and G.V. Maningas. 1994. Biological control of Rhizoctonia Sheath Blight and Blast of Rice. pp. 9-13. In: M.H. Ryder, P.M. Stephens and G.D. Bowen (eds.). Improving Plant Productivity with Rhizosphere Bacteria. Graphic Services, Adelaide, Australia.

Mew,T.W., B. Cottyn, R. Pamplon, H. Barrios, Z. Chen., F. Lu, N. Nilpanit, P. Arunyanart, P. Van Kim and P. Van Du. 2003. Applying rice seed-associated antagonistic bacteria to manage rice sheath blight in developing countries. Plant Dis. 88 : 557-564.