การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าวด้วยโมเลกุลเครื่องหมาย

Main Article Content

พยอม โคเบลลี่
วราพงษ์ ชมาฤกษ์
พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์

บทคัดย่อ

วิธีการตรวจสอบการปลอมปนพันธุ์ข้าวที่แม่นยำ คือการตรวจสอบดีเอ็นเอด้วยโมเลกุลเครื่องหมายหรือการจัดทำการตรวจลายพิมพ์เอกลักษณ์ดีเอ็นเอ(DNA fingerprinting) โดยการใช้โมเลกุลเครื่องหมายตรวจสอบความแตกต่างของรหัสพันธุกรรมของข้าวแต่ละพันธุ์ การตรวจสอบหาความแตกต่างของข้าวแต่ละพันธุ์หลังจากการสีข้าวแล้ว ข้าวสารที่ได้ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป็นต้นเพื่อเก็บตัวอย่างใบมาสกัดดีเอ็นเอได้ เนื่องจากส่วนของต้นอ่อนถูกขัดสีออกไปแล้ว ดังนั้น การตรวจสอบการปลอมปนพันธุ์ในข้าวสาร จึงต้องทำการสกัดดีเอ็นเอจากเมล็ดข้าวสารเมล็ดเดี่ยวๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก เนื่องจากเมล็ดข้าวสารมีองค์ประกอบหลักคือแป้งและมีปริมาณดีเอ็นเอน้อยมาก งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการสกัดดีเอ็นเอจากข้าวสารด้วย Proteinase K ใน SAD extraction buffer และ 2x CTAB ที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก ประหยัด ได้ผลผลิตดีเอ็นเอที่มีคุณภาพ มีปริมาณคงที่ และเพียงพอต่อการจัดทำลายพิมพ์เอกลักษณ์ดีเอ็นเอของข้าว เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสกัดดีเอ็นเอจากใบข้าว ก็ให้ผลผลิตดีเอ็นเอไม่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังได้สำรวจและทดสอบโมเลกุลเครื่องหมาย เพื่อใช้สำหรับงานตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าว และได้โมเลกุลเครื่องหมายชนิด SSRs จำนวน 3 โมเลกุลเครื่องหมาย คือ 1) B03 ที่มีความสัมพันธ์กับยืนความหอม (aroma gene), 2) RM190 และ 3) Glu-23 ที่มีความสัมพันธ์กับยีนที่ควบคุมคุณภาพการหุงต้มของข้าว (waxy gene)

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2547. ยุทธศาสตร์ข้าว ปี 2547-2551. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 64 หน้า.

หทัยรัตน์ อุไรรงค์, ณัฐหทัย เอพาณิช และเสริมพร กึ่งพุทธิ พงศ์. 2546. การวิจัยลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพันธุ์ข้าวไทย. ผลงานวิจัยสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ. กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2 หน้า.

DOA Birdo Homepage. 2550. ผลงานวิจัยสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Database. วันที่ค้นข้อมูล 19 มีนาคม 2550, จาก http://www.doa.go.th/birdo/result47/hatairat.htm

Chen, D.H. and P.C. Ronald. 1999. A rapid DNA minipreparation method suitable for AFLP and others PCR applications, Plant Mol. Bio. Rep. 17: 53-57.

Kang, H.W., Y.G. Cho, U.H. Yoon and M.U. Eun. 1998. A rapid DNA extraction method for RFLP and PCR analysis from a single dry seed. Plant Mol. Biol.16 : 1-9.

McCouch, S.R., L. Teytelman,Y. Xu, K.B. Lobos, K. Clare, M. Malton, B. Fu, R. Maghirang, Y. Li, Y. Xing, Q. Zhang, I. Kono, M. Yano, R. Fjellstrom, G. DeClerck, D. Schneider, S. Cartinhour, D. Ware and L. Stein. 2002. Development and mapping of 2240 new SSR markers for rice (Oryza sativa L.). DNA Research 9 : 199-207.

Wanchana, S., T. Toojinda, S. Tragoonrung and A. Vanavichit. 2003. Duplicated coding sequence in the waxy allele of tropical glutinous rice (Oryza sativa L.) Plant Science 165 : 1193-1199.

Wanchana, S., W. Kamolsukyunyoung, S. Ruengphayak, S. Tragoonrung, T. Toojinda and A. Vanavichit. 2005. A rapid construction of a physical contig across a 4.5 cM region for rice grain aroma facilitates marker enrichment for positional Cloning. Sci. Asia 31 : 299-306.