ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง

Main Article Content

อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
สุนันทา วงศ์ปิยชน
ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต
ศุภรัตน์ โฆษิตเจริญกุล
ละม้ายมาศ ยังสุข

บทคัดย่อ

ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง เป็นข้อมูลสำคัญในการจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า ทำการศึกษาที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ปี พ.ศ. 2545-2547 มี 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การสำรวจความมีชีวิตและคุณภาพของข้าวกล้องในระดับการค้า โดยเก็บตัวอย่างข้าวกล้องจากโรงสีและผู้ประกอบการส่งออก จำนวน 57 ตัวอย่าง พบว่า ความมีชีวิตของข้าวกล้อง 0, 1-25, 26-50 และ 80-100% คิดเป็นร้อยละ 5, 6, 12, 23 และ 54 ตามลำดับ คุณภาพข้าวกล้องจัดอยู่ในประเภทข้าวอมิโลสต่ำ ค่าคงตัวของแป้งสุกอ่อน และมีความหอม ระดับ 1-2 ปริมาณกรดไขมันอิสระ 14.04-50.78 มิลลิกรัม KOH/แป้ง 100 กรัม ปริมาณสารพิษ Aflatoxin B1 0-11 ppb ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน (20 ppb) การทดลองที่ 2 ศึกษาความยาวนานของความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า ความมีชีวิตของข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105 ลดลงจาก 90% ในช่วงบรรจุถุง เหลือ 48 และ 26% ในเดือนที่ 3 ของการเก็บรักษา ในสภาพสุญญากาศและสภาพปิดผนึกปกติตามลำดับ และลดเหลือ 5 และ 0% ในเดือนที่ 6 ปริมาณอมิโลสและค่าการสลายตัวของเมล็ดในด่างไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา ข้าวกล้องที่บรรจุถุงในสภาพสุญญากาศเริ่มพบการทำลายของแมลงในเดือนที่ 8 ของการเก็บรักษา ส่วนข้าวกล้องที่บรรจุถุงในสภาพปิดผนึกปกติ พบการทำลายของแมลงในเดือนที่ 4

Article Details

บท
Articles

References

งามชื่น คงเสรี. 2546. ข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว. กรมวิชาการเกษตร. 167 หน้า.

งามชื่น คงเสรี, กัมปนาท มุขดี, พูลศรี สว่างจิต, อัญชลี คร้ามศรี, ประนอม มงคลบรรจง และจันทนา สรสิริ. 2533. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพการหุงต้มและรับ ประทานของข้าวเมื่อเก็บเมล็ดในสภาพต่างๆ. หน้า 138-153. ใน : รายงานผลงานวิจัยปี 2533. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร.

ศุภรัตน์ โฆษิตเจริญกุล, อมรา ชินภูติ และกัญจนา พุทธสมัย. 2545. การปนเปื้อนของแอฟลาทอกซินในระบบการผลิตและการจำหน่ายข้าวกล้อง. ข่าวสารโรคพืชและจุลชีววิทยา 12 (2) : 122-131.