การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินนาในการผลิตข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีและวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลทราย

Main Article Content

วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์
จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์
วิญญู วงศ์อุบล

บทคัดย่อ

กากตะกอนน้ำตาล (filter cake) เป็นผลพลอยได้จากขบวนการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งมีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ และมีประโยชน์ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงศึกษาการใช้กากตะกอนน้ำตาลร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อหาอัตราของกากตะกอนน้ำตาลที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินนา ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรีใช้ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง (ขาวดอกมะลิ 105) และที่ศูนย์วิจัยข้าวราชบุรีใช้ข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง (ชัยนาท 1) ทดลองต่อเนื่องกันเฉพาะฤดูนาปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-2545 ทำการทดลองแบบ 4x3 Factorial in RCB ทำ 3 ซ้ำ มี 2 ปัจจัย คือ ใช้กากตะกอนน้ำตาล 4 อัตรา คือ 0 500 1,000 และ 1,500 กก./ไร่ และใช้ปุ๋ยเคมี 3 อัตราคือ0-0-0, 3-6-6 และ 12-6-6 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และปุ๋ยเคมีอัตรา 0-0-0, 6-6-6 และ 12-6-6 กก. N - P2O5 - K2O/ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี แปลงทดลองเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายชุดโคกสำโรง (sandy loam, mixed isohyperthermic, typic tropaqualfs) เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบว่า อัตราที่เหมาะสม ได้แก่ การใส่กากตะกอนน้ำตาล อัตรา 500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 3-6-6กก.N-P2O5- K2O/ไร่ ส่วนที่ศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี แปลงทดลองเป็นดินร่วนเหนียวชุดนครปฐม (fine clayey, mixed, isohyperthermic, aeric tropaqualfs) เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การผลิตข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 พบว่า อัตราที่เหมาะสม ได้แก่ การใส่กากตะกอนน้ำตาล อัตรา 500 กก./ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 12-6-6 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ การใส่กากตะกอนน้ำตาลร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสมสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ 7-15% และสามารถปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินนาได้โดยต้องใส่ต่อเนื่องกันระยะยาว

Article Details

บท
Articles

References

จงรักษ์ จันทรเจริญสุข และสมบูรณ์ มั่นความดี. 2529. การใช้วัสดุเพื่อประโยชน์ทางด้านการเกษตร. หน้า 129. ใน: รายงานการวิจัยปี 2529 ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จงรักษ์ จันทรเจริญสุข, ชัยฤกษ์ สุวรรณรัตน์, วัลลีย์ ปัญญารินทร์ และสุเทพ ทองแพ. 2533. การใช้วัสดุเหลือใช้ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินนา. หน้า 6-34. ใน: รายงานการวิจัยการใช้วัสดุอินทรีย์เหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร และปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินเขตร้อน ปี 2533. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประเสริฐ สองเมือง. 2543. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว. เอกสารทางวิชาการ กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร. หน้า 64-65.

วิทยา ธนานุสนธิ์. 2541. ประสิทธิภาพของเชื้อไรโซเบียมที่ใช้ filter cake จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล เป็นสารอาหารในการผลิตถั่วเหลืองสภาพไร่นาเกษตรกร. หน้า 38-54. ใน: งานวิจัยปุ๋ยชีวภาพ (เล่ม 2). กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร.

วิทยา ธนานุสนธิ์ และศรัณยา เปียแดง. 2542. ประสิทธิภาพของเชื้อไรโซเบียมที่ใช้กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียและจากโรงงานน้ำตาลที่ผ่านการฉายรังสีเป็นวัสดุพาหะ I. สภาพเรือนทดลอง II. สภาพไร่นาเกษตรกร.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2542 กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร. วันที่ 26-29 เมษายน 2542 ณ โรงแรมวังใต้ จ.สุราษฏร์ธานี. 78 หน้า.

สรสิทธิ์ วัชโรทยาน, วิสุทธิ์ วีระสาร, อิทธิสุนทร นันทกิจ, นิภา พนาพิทักษ์กุล, สมชาย กรีฑาภิรมย์ และสุริยา สาสนรักกิจ. 2526. การใช้ผลผลิตพลอยได้และเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในประเทศไทย ให้เกิดประโยชน์ในการใช้เป็นปุ๋ยและวัสดุบำรุงดิน. เอกสารรายงานวิจัยฉบับที่ 4. โครงการวิจัยและแนะนำ เทคโนโลยีของดินและปุ๋ย ภาคปฐพีวิทยาคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2546. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2545/2546. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. เอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ 401.

หรรษา คุณาไท, ชอบ คณะฤกษ์, สมจิต คันธสุวรรณ, สมศักดิ์ โตจันทึก, พรพิมล เลี้ยงสุทธิสกนธ์ และเสาวนีย์ พิสิฏฐ์พันธ์. 2540. การศึกษาการใช้ส่าเหล้าร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตข้าวในจังหวัดอุบลราชธานี. หน้า 93-100. ใน: รายงานผลการค้นคว้าวิจัย 2540. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร.

หรรษา คุณาไท, ชอบ คณะฤกษ์, จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์, สมศักดิ์ โตจันทึก และบรรจง เหมทานนท์. 2542. การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินนาในการปลูกข้าว โดยใช้กากสะเดาร่วมกับปุ๋ยเคมี. หน้า 237-242. ใน: รายงานผลการค้นคว้าวิจัย 2542 กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร.

หรรษา คุณาไท, สมนึก แกล้ววิกย์กรรม, นิกูล ทวีสินบุญ ญากร, นิพรรณศรี โคมทอง, วลัยพร อุตรพงศ์, สนอง ขวัญถาวร, กรรณิกา นากลาง, ลัดดาวัลย์ เลาหประสิทธิพร, ผาด พรหมอ่อน, อนันต์ อะทะวงษา, สว่าง โรจนกุศล, ยงยุทธ จันทรปัญญา, เจนวิทย์ สุขทองสา และ เจ้าหน้าที่หมวดวิเคราะห์งานข้าวกองแผนงาน. 2521. การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นที่ไวต่อช่วงแสง. หน้า 8-15. ใน: รายงานผลการทดลองปุ๋ยข้าว 2521. งานสถานีทดลองและขยายพันธุ์ข้าว สาขาทดลองปุ๋ยข้าว กองการข้าว กรมวิชาการเกษตร.

Allison, L.E. 1965. Organic carbon. pp. 1367-1378. In: C.A. Black (ed.), Method of Soil Analysis. Part 2. Am. Soc. of Agron., Madison, Wisconsin, USA.

Bray, R.H. and L. T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Sci. 59 : 39-45.

Honig, P. 1953. Principle of Sugar Technology. Elsevier Publishing Company, New York. 767 p.

Knudsen, D., G.A. Peterson and P.F. Platt. 1982. Lithium, sodium and potassium. pp. 225-246. In: L.A. Pace, R.H. Miller and D.R.Keeney (eds.), Method of Soil Analysis, Part 2. Am. Soc. Agron. Madison, Wisconsin, U.S.A.

Vacharotayan, S. and A. Pintukanok. 1985. Agricultural and agro-industrial residues in Thailand. pp. 222-228. In: S. Vacharotayan and Y. Yoshida (eds.), Utilization of Organic Waste Material in Agriculture. NRCT-JSPS Cooperative Research in Thailand.