การจัดการฟางข้าวในพื้นที่ทํานาอย่างต่อเนื่อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการฟางในนาข้าวโดยการไถกลบลงดินเพื่อการปรับปรุงดิน เป็นทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการเผาฟางก่อนการเตรียมดินปลูกข้าวครั้งต่อไป ดําเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี และศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2549 2550 โดยแบ่งงานทดลองออกเป็น 3 การทดลอง คือ ผลของปริมาณฟางที่ไถกลบลงบนดินต่อการเจริญเติบโต และ ผลผลิตของข้าว ผลของการจัดการฟางวิธีต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว และผลของระยะเวลาการหมักฟางหลังจากไถกลบลงดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ผลการทดลอง พบว่า การไถกลบฟางข้าวอัตรา 0-800 กก./ไร่ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในช่วงแรกและผลผลิตของข้าว ส่วนการไถกลบฟางข้าวที่อัตรา 1,200-1,600 กก./ไร่ ทําให้จํานวนต้นข้าวต่อตารางเมตร ที่อายุข้าว 15 วัน หลังหว่านข้าวลดลง แต่ไม่มีผลต่อผลผลิตข้าว ในขณะที่การไถกลบฟางข้าวอัตรา 2,000 และ 2,400 กก./ไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตในช่วงแรก โดยจํานวนต้นข้าวต่อตารางเมตร ที่อายุข้าว 15 วัน หลังหว่านข้าวลดลง และทําให้ผลผลิตข้าวลดลงด้วย ส่วนการเผาฟางก่อนการเตรียมดิน การเอาฟางออกจากแปลงก่อนการเตรียมดิน การไถกลบฟางก่อนการเตรียมดิน (การเตรียมดินแบบปกติ) และการเตรียมดินแบบลดการไถพรวน ในช่วงเวลา 2 ปี ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ระยะเวลาการหมักฟางหลังจากไถกลบลงดินที่ 0 7 14 และ 21 วัน ก่อนหว่านข้าว และมีฟางอัตรา 800 กก./ไร่ ไม่มีผลต่อการให้ผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 แต่มีผลต่อการเจริญเติบโตของรากข้าวในระยะแรกของการเจริญเติบโต โดยการหมักฟางหลังจากไถกลบลงดินที่ 0 และ 7 วัน รากข้าวมีลักษณะเป็นกระจุก มีสีดำ สีดำปนน้ำตาล และมีรากแตกออกใหม่น้อย แต่เมื่อการหมักฟางนานขึ้นเป็น 14 และ 21 วัน รากข้าวมีสีขาว ยาว และอวบ เมื่อเพิ่มปริมาณฟางในการไถกลบ เป็น 1,200-1,800 กก./ไร่ การหมักฟางระยะ 0-14 วัน ผลผลิตของข้าวจะน้อยกว่าการหมักฟางที่ระยะ 21-28 วัน ก่อน การหว่านข้าว
Article Details
References
คมสัน นครศรี, ประสาน วงศาโรจน์ และสำราญ อินแถลง. 2545. อัตราเมล็ดพันธุ์และฟางข้าวใช้คลุมดินต่อการควบคุมวัชพืชและผลผลิตข้าวของนาหว่านข้าวแห้งโดยไม่เตรียมดิน.หน้า 201-211. ใน : การประชุมวิชาการประจำปี 2545, 28 กุมภาพันธุ์ - 1 มีนาคม 2545 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี.
นิตยา รื่นสุข, กัญญา เชื้อพันธุ์, สุนันทา วงศ์ปิยชน และวาสนา อินแถลง. 2547. เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมของข้าวหอมไม่ไวต่อช่วงแสงพันธุ์ดี. หน้า 44-110. ใน : เอกสารประกอบการนำเสนอผลงานในการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การวิจัยและพัฒนาสู่ความปลอดภัยทางอาหาร. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร วันที่ 10-11 มีนาคม 2547 โรงแรมสองพันบุรี อ. เมือง จ. สุพรรณบุรี.
นิตยา รื่นสุข, ลัดดาวัลย์ กรรณนุช และวาสนา อินแถลง. 2549. ผลของการจัดการฟางต่อการสะสมธาตุเหล็กในเมล็ด. รายงานผลงานปี 2549 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.
พิสิฐ พรหมนารท, นิวัติ เจริญศิลป์, พีระ ดุงสูงเนิน และนิพนธ์ กรอบเพชร. 2545. การวิจัยด้านปรับปรุงการผลิตข้าวน้ำลึกแบบไม่ไถพรวน. หน้า 255-259. ใน: การประชุมวิชาการประจำปี 2545, 28 กุมภาพันธุ์ - 1 มีนาคม 2545. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี.
ทัศนีย์ อัตตนันท์. 2543. ดินที่ใช้ปลูกข้าว. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 365 หน้า.
Broadbent. F. E. 1979. Minerization of organic nitrogen in paddy soil. pp. 105-118. In: Nitrogen and Rice. International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines.
Fairhurst, T. and C. Witt. 2002. Rice : A Practical Guide to Nutrient Management. Potash & Phosphate Institute of Canada (PPIC) and International Rice Research Institute (IRRI). 89p.
Ponnamperuma, F.N. 1984. Straw as a source of nutrients for wetland rice. pp. 117-135. In: Organic Matter and Rice. International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines.
Gao, S., K.K. Tanji and S.C. Scardaci. 2004. Impact of straw incorporation on soil redox staus and sulfide toxicity. Agron. J. 96 : 70-76.
Yoshida, S. 1981. Fundamental of Rice Crop Science. International Rice Research Institute, Los Banos, Laguna, Philippines. 269 p.