การใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวจัดการปุ๋ยไนโตรเจนในข้าวสุพรรณบุรี 1 ปลูกแบบหว่านน้ำตม

Main Article Content

สุรพล จัตุพร
อมรรัตน์ อินทร์มั่น
วลัยพร แสนวงศ์
นิตยา รื่นสุข

บทคัดย่อ

ทำการทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นเทียบสีใบเพื่อจัดการปุ๋ยไนโตรเจนในข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ในนาเกษตรกร จ.สุพรรณบุรี ทั้งฤดูนาปรังและนาปี 2546 2 กรรมวิธีทดสอบ เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร พบว่า กรรมวิธีการใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวในการตัดสินใจใช้ปุ๋ยไนโตรเจนให้ผลตรงตามความต้องการปุ๋ยจริงของต้นข้าวซึ่งสอดคล้องกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้ง 2 กรรมวิธี จึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและมีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยสูงกว่าเกษตรกร โดยกรรมวิธีทดสอบที่ 1 และ 2 ได้ผลผลิตข้าว 605 และ 616 กก./ไร่ ขณะที่แปลงของเกษตรกรได้ผลผลิต 594 กก./ไร่ และลดปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้ได้ร้อยละ 28-48 เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร และประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงกว่า สำหรับต้นทุนการผลิต และรายได้ เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปรใกล้เคียงกัน แต่มีรายจ่ายเป็นค่าปุ๋ยเคมีสูงกว่ากรรมวิธีทดสอบ กล่าวคือ ต้นทุนการผลิตในกรรมวิธีทดสอบข้าว ทั้ง 2 กรรมวิธี คือ 3.80 บาท/ข้าวเปลือก 1 กก. คิดเป็นรายได้สุทธิ 602 - 614 บาท/ไร่ ส่วนของเกษตรกรมีต้นทุนการผลิต 4.20 บาท/ข้าวเปลือก 1 กก. คิดเป็นรายได้สุทธิเพียง 363.50 บาท/ไร่ ดังนั้น การใช้แผ่นเทียบสีจัดการปุ๋ยไนโตรเจนจะทำให้เกษตรกรทำนาเขตชลประทาน สามารถลดการใช้ปุ๋ยยูเรียในการผลิตข้าวได้มากทั้งปริมาณและมูลค่า

Article Details

บท
Articles

References

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี. 2546. รายงานผลการวิเคราะห์ดินศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุรพล จัตุพร และวิชัย หิรัญยูปกรณ์. 2540. กรณีศึกษาการจัดการผลิตธัญพืช และพืชอาหารสัตว์. หน้า 519-557. ใน: เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตธัญพืชและพืชอาหารสัตว์. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี.

สุรพล จัตุพร, อมรรัตน์ อินทร์มั่น และวลัยพร แสนวงศ์. 2547. การใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวจัดการปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ข้าวนาสวนในเขตชลประทานภาคกลาง. ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 51 หน้า.

Balasubramanian, V. and A.C. Morales. 2000. Adaptation of chlorophyll meter (SPAD) technology for realtime nitrogen management in rice. In: International Rice Research Notes, 25.1/2000:4-8 International Rice Research Institute, Los Banos, Laguna. Philippines.

Dobermann, A. and P.F. White. 1999. Startegies for nutrient management in irrigated and rainfed lowland rice system. Nutr. Cycl. Agroecosyst. 53 :1-18.

Furuya, S. 1976. Growth diagnosis of rice plant by means of leaf color. Japanese Agriculture Research Quarterly 20 : 145-147.

IRRI-CREMNET. 2000. Use of Leaf Color Chart (LCC) for Nitrogen Management in Rice. International Rice Research Institute, Los Banos, Laguna, Philippines.

Olk, D.C., K.C. Cassmann, G. Simbrahan, P.C. Sta Cruz, S. Abdulraman, R. Nagarajan, P.S. Tan and S. Satawathananont. 1999. Interpreting fertilizer use efficiency in relation to soil nutrient-supplying capacity, factor productivity and agronomic. Nutr. Cycl. Agroecosyst 53 : 35-41.

Peterson T.A., T.M. Blackmer, D.D. Francis and J.S. Schepper. 1993. Using a Chlorophyll Meter to Improve N Management. A Webguide in Soil Resource Management : D-13, University of Nebraska, Lincoln, Nebraska USA.