ข้าวเจ้าพันธุ์ พิษณุโลก 80

Main Article Content

อภิชาติ เนินพลับ
สมเดช อิ่มมาก
สุรเดช ปาละวิสุทธิ์
สุรีย์ ศรีวันทนียกุล
อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ
เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร
ธวัช ปฏิรูปานุสร
นลินี เจียงวรรธนะ
สุพัตรา สุวรรณธาดา
สอาง ไชยรินทร์
ดวงอร อริยพฤกษ์
ชุติวัฒน์ วรรณสาย
วิไล ปาละวิสุทธิ์
พงศา สุขเสริม
ชนะ ศรีสมภาร
พรทิพย์ นวลศิริ
สมบูรณ์ ทองเสน
สุมาลี สุทธายศ
จิตติชัย อนาวงษ์
ภมร ปัตตาวะตัง
พิษณุ หินตั้ง
เจตน์ คชฤกษ์
พรสุรี กาญจนา
สถาพร กาญจนพันธุ์
สมพงษ์ เฉยพันธ์
เสน่ห์ คชรัตน์
ภิไธย รื่นถวิล
จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์
มาลีวรรณ สุวรรณเทน
พากเพียร อรัญนารถ
จินตนา ทยาธรรม
นิภา จันท์ศรีสมหมาย
ดารา เจตนะจิตร
นงรัตน์ นิลพานิชย์
วิชชุดา รัตนากาญจน์
วันชัย โรจนหัสดิน
ธัญลักษณ์ อารยพันธ์

บทคัดย่อ

พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรภาคเหนือตอนล่างนิยมปลูกในสภาพนาน้ำฝน มีทั้งพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ส่งเสริมของทางราชการ พันธุ์ข้าวดังกล่าวให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจึงได้ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝน จนได้ข้าวพันธุ์ พิษณุโลก 80 ซึ่งได้จากการผสมสามทาง ระหว่างพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 90 และ IR56 กับ กข27 ใน พ.ศ. 2534 ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1-5 คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PSL92147-1-2-4 นำเข้าศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ระหว่างสถานี ในนาราษฎร์ ทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร ทดสอบเสถียรภาพของผลผลิต ทดสอบปฏิกิริยาความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ คุณภาพทางกายภาพ เคมี ระยะพักตัว และทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน พบว่า ข้าวสายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตเฉลี่ย 637 กิโลกรัมต่อไร่ มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดี เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง เก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม ทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ใบธงตั้งตรง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 141 เซนติเมตร คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นท้องไข่น้อย เมล็ดข้าวกล้องยาว 7.45 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว คุณภาพการสีดีมาก สามารถทำเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ คุณภาพทางเคมีจัดเป็นข้าวที่มีเปอร์เซ็นต์อมิโลสต่ำ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวที่หุงสุกแล้วอ่อนนุ่ม ลักษณะเด่นคือ ผลผลิตสูง โดยได้ลักษณะนี้จากข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 90 และทรงต้นดีได้ลักษณะนี้จากข้าวพันธุ์ IR56 ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

Article Details

บท
Articles

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2547. สถิติการเกษตรของประเทศไทย พ.ศ. 2546. ศูนย์สารสนเทศการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพ. 151 หน้า.

Fukai, S., S. Rajatasereekul, H. Boonjung and E. Skulkhu. 1995. Simulation modelling to quantity the effect of drought for rainfed lowland rice in Northeast Thailand. pp. 657-674. In: Fragile Lives in Fragile Ecosystems. Proceedings of the International Rice Research Conference,13-17 Feb. 1995. IRRI, Philippines.

Immark, S., J.H. Mitchell, B. Jongdee, C. Boonwith, B. Somrith, A. Polvatana and S. Fukai. 1997. Determination of phenology development in rainfed lowland rice in Thailand and Lao' PDR. pp.89-96. In: Breeding Strategies for Rainfed Lowland Rice in Drought - prone Environment, Proceedings of an International Workshop held at Ubon Ratchathani, Thailand. 5-8 Nov. 1997, ACIAR. Proceedings No. 77.

IRRI. 1980. Standard Evaluation System for Rice. 2nd ed. The International Rice Testing Program (IRTR), The International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines. 44 p.

Pusapavesa, S. and B.R. Jackson. 1979. Photoperiod sensitivity in rainfed rice. pp. 139-147. In: Rainfed Lowland Rice : Selected papers from the 1978 International Rice Research Conference. International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines.