สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร เป็นกฎระเบียบระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเข้าถึง การใช้ และการแบ่งปันผลประโยชน์ FAO ได้จัดทำขึ้นและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 29 มิถุนายน 2547 วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา 1) เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 2) เพื่อมีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม และ 3) เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนและความมั่นคงด้านอาหาร กลไกและการดำเนินงานผ่านระบบพหุภาคี รัฐมีสิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรพันธุกรรมพืชของตน การอนุญาตให้เข้าถึงขึ้นอยู่กับรัฐและกฎหมายภายในของรัฐ ทรัพยากรพันธุกรรมภายใต้ระบบพหุภาคีครอบคลุมพืช 64 รายการ ที่รวบรวมอนุรักษ์ไว้นอกถิ่นที่อยู่ รวมถึงในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชของศูนย์วิจัยนานาชาติ การเข้าถึงต้องเพื่อการวิจัยการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น และต้องเป็นไปตามข้อตกลงการถ่ายโอนวัสดุพันธุกรรมตามมาตรฐาน การแบ่งปันผลประโยชน์ อาจอยู่ในรูปของเทคโนโลยีหรือเงิน ถ้าเป็นเงินจะส่งเข้าสภาการปกครองเพื่อจัดสรรสู่เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา
Article Details
References
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. 2550. การเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 37 หน้า.
Lim, E.S. 2006. The International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture. pp. 11-12 In: Convention on Biological Diversity and International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture. Malaysian Agriculture Research and Development Institute, P.O. Box 12301, Malaysia.