ความหลากหลายของลักษณะทางการเกษตร ลักษณะทางสัณฐานวิทยา และคุณภาพเมล็ดของข้าวพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้

Main Article Content

กันต์ธณวิชญ์ ใจสงฆ์

บทคัดย่อ

ข้าวพื้นเมืองปลูกและอนุรักษ์ไว้โดยชาวนาเป็นแหล่งพันธุกรรมข้าวที่สำคัญสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ เพราะพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเหล่านี้มีศักยภาพในการปรับตัวกับสภาพที่ไม่เหมาะสมทางกายภาพและชีวภาพในพื้นที่เป็นอย่างดี การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ ความหลากหลาย และความสัมพันธ์ของข้าวพื้นเมืองภาคใต้พันธุ์ต่างๆ สำคัญต่อการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ๆ เพื่อให้มีลักษณะที่ต้องการ ในการศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ จำนวน 135 พันธุ์ วิเคราะห์หาความหลากหลายของลักษณะต่างๆ 34 ลักษณะ แบ่งเป็นลักษณะเชิงคุณภาพ 24 ลักษณะและลักษณะเชิงปริมาณ 10 ลักษณะ การประเมินความหลากหลายของลักษณะประจำพันธุ์ โดยใช้ดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-วีเนอร์ (Hʹ ) พบว่า สำหรับลักษณะเชิงคุณภาพ อุณหภูมิแป้งสุก ไม่มีความหลากหลาย (Hʹ = 0) ซึ่งทุกพันธุ์มีอุณหภูมิแป้งสุกที่ระดับปานกลาง และมี 15 ลักษณะที่มีความหลากหลายต่ำ (Hʹ = 0.01-0.44) มีความถี่ของลักษณะเด่นสูงกว่า ร้อยละ 80 เช่น การยืดคอรวง (ร้อยละ 99 ที่คอรวงยาว) รูปร่างลิ้นใบ (ร้อยละ 97 มี 2 ยอด) เป็นต้น และมี 5 ลักษณะ ที่มีลักษณะเด่นมากกว่า 1 ลักษณะ เช่น การติดเมล็ด ความแข็งลำต้น ขนบนแผ่นใบ การร่วงของเมล็ดและรูปร่างข้าวกล้อง ขณะที่ลักษณะเชิงปริมาณมีความหลากหลายต่ำ (Hʹ = 0.01-0.09) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวพื้นเมืองภาคใต้ วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีค่าในระดับต่ำ (r =-0.35-0.26) จากการวิเคราะห์ principal component analysis แสดงให้เห็นว่า คุณลักษณะเชิงปริมาณของข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีความคล้ายคลึงกัน แม้แต่พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่รวบรวมจากจังหวัดที่แตกต่างกันก็พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ multiple correspondence analysis ของลักษณะเชิงคุณภาพที่มีค่าดัชนีความหลากหลายปานกลางถึงสูง แสดงให้เห็นว่า ลักษณะของข้าวที่มีคุณสมบัติร่วมกันสีกลีบรองดอกสีขาว หรือสีฟาง มักพบร่วมกันกับความคงตัวของแป้งสุกแบบนิ่มหรือนิ่มปานกลาง กาบใบสีเขียว และยอดเกสรตัวเมียสีขาว ซึ่ง เป็นลักษณะร่วมที่พบมากในพันธุ์ข้าวพื้น เมืองภาคใต้ และยังมีลักษณะร่วมอื่นๆ อีก ดังนี้พันธุ์ข้าวที่มีความคงตัวของแป้งสุกปานกลางมักพบร่วมกับลักษณะกาบใบสีเขียวขีดม่วง ยอดเกสรตัวเมียสีน้ำตาล และกลีบรองดอกสีน้ำตาล ลักษณะความคงตัวของแป้งสุกแข็งพบร่วมกับกลีบรองดอกสีม่วงเข้ม และสียอดดอกสีม่วง

Article Details

บท
Articles

References

Bajracharya, J., K.A. Steele, D.I. Jarvis, B.R. Sthapit and J.R. Witcombe. 2006. Rice landrace diversity in Nepal: variability of agro-morphological traits and SSR markers in landraces from a high-altitude site. Field Crops Research 95(2-3): 327-335.

Bellon, M.R., J.L. Pham and M.T. Jackson. 1997. Genetic conservation: a role for rice farmers. pp. 263-289. In: N. Maxted, B. Ford-Lloyd and J. Hawkes, (eds.), Plant Genetic Conservation: The in situ Approach. Chapman and Hall: London, UK.

Caldo, R.A., L.S. Sebastian and J.E. Hernandez.1996. Morphology-based genetic diversity analysis of ancestral lines of Philippine rice cultivars. Philippine. Journal of Crop Science 21(3): 86-92.

Chittrakorn, S., C. Vutiyano and B. Nichaartana. 1986. Collection and conservation of Thai rice varieties. Thai Agricultural Research Journal 4: 158-163. (in Thai)

Jamago, J.M. and R.V. Cortes. 2012. Seed diversity and utilization of the upland rice landraces and traditional varieties from selected areas in Bukidnon, Philippines. IAMURE International Journal of Ecology Conservation 4(1): 112-130.

Kassambara, A. and F. Mundt. 2020. factoextra: Extract and Visualize the Results of Multivariate Data Analyses. R package version 1.0.5. Available source: https://CRAN.R project.org/package=factoextra. (April 3, 2022)

Le, S., J. Josse and F. Husson. 2008. FactoMineR: an R package for multivariate analysis. Journal of Statistical Software 25(1): 1-18.

Oksanen, J., F.G. Blanchet, M. Friendly, R. Kindt, P. Legendre, D. McGlinn, P.R. Minchin, R.B. O’Hara, G.L. Simpson, P. Solymos, M.H.H. Stevens, E. Szoecs and H. Wagner. 2018. vegan: Community Ecology Package. R package version 2.5-2. Available source: https://www.bco-dmo.org/related-resource/789167. (April 3, 2022)

R Core Team. 2022. R: a language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. Available source: https://www.R-project.org/. (April 3, 2022)

Saetan, S., R. Precha, K. Kotchapakdee, A. Wawsak, P. Sritongkaew, A. Kamprasert and N. Nunong. 2007. Southern Traditional Rice Varieties Vol 1. Patthalung Rice Research Center. 175 p. (in Thai)

Saetan, S., R. Precha, K. Kotchapakdee, A. Wawsak, P. Sritongkaew, A. Kamprasert and N. Nunong. 2010. Southern Traditional Rice Varieties Vol 2. Patthalung Rice Research Center, Patthalung province. 180 p. (in Thai)

Taylor, R. 1990. Interpretation of the correlation coefficient: a basic review. Journal of Diagnostic Medical Sonography 6: 35-39.

Watanesk, O. 2012. Characteristics of rice varieties. In: Document for Rice Characteristics course. March 28-29, 2012. Phitsanulok Rice Research Center, Phitsanulok province. 33 p. (in Thai)

Wei, T. and V. Simko. 2021. R package ‘corrplot’: Visualization of a Correlation Matrix. (Version 0.92). Available source: https://github.com/taiyun/corrplot. (April 3, 2022)

Wutyano, C. 2000. Thai traditional rice varieties. Plant Varieties Protection Division. Pathum Thani Rice Research Center, Department of Agriculture. 215 p. (in Thai)

Yawen, Z., S. Shiquan, L. Zichao, Y. Zhongyi, W. Xiangkun, Z. Hongliang and W. Guosong. 2003. Ecogeographic and genetic diversity based on morphological characters of indigenous rice (Oryza sativa L.) in Yunnan, China. Genetic Resources and Crop Evolution 50: 567-577.

Yoshida, S. 1981. Fundamentals of Rice Crop Science. IRRI, Los Banõs, the Philippines. 269 p.