เทคนิคอย่างง่ายเพื่อกระตุ้นการสร้างสปอร์ของเชื้อรา Bipolaris oryzae (Breda de Haan) Shoemaker สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว

Main Article Content

พยอม โคเบลลี่
ศุภลักษณา สนคงนอก
ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี
เมธวดี เดชหาญ
พิชามญชุ์ พัฒรักษ์

บทคัดย่อ

โรคใบจุดสีน้ำตาลสาเหตุจากเชื้อรา Bipolaris oryzae (Breda de Haan) Shoemaker ในอดีตจัดเป็นโรคข้าวที่ไม่มีความสำคัญในประเทศไทย ปัจจุบันจัดเป็นโรคข้าวที่สำคัญโรคหนึ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและวิธีการปลูกข้าว สัณฐานวิทยาของสปอร์เป็นลักษณะหลักที่ใช้ในการจัดจำแนกเชื้อราและวิธีการปลูกเชื้อด้วยสปอร์เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล อย่างไรก็ตาม มีหลายผลงานวิจัยรายงานว่าเชื้อรา B. oryzae ไม่สร้างสปอร์บนอาหารสังเคราะห์และอาหารธรรมชาติ วิธีการกระตุ้น การสร้างสปอร์ของเชื้อ ราชนิดนี้ต้องใช้อาหารเฉพาะและสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างยุ่งยาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการใหม่และง่ายเพื่อการกระตุ้นการสร้างสปอร์ของเชื้อรา B. oryzae สำหรับการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาลโดยทดสอบบนอาหาร 2 สูตร คือ commercial rabbit food agar (CRFA) และ potato dextrose agar (PDA) ภายใต้สภาวะแวดล้อมในการบ่มเชื้อที่ง่ายและเหมาะสมในการทดสอบ การกระตุ้นการสร้างสปอร์ของเชื้อ B. oryzae จำนวน 5 ไอโซเลท ผลการทดสอบพบว่า อาหารสูตร PDA กระตุ้นการสร้างสปอร์ได้มากกว่าสูตร CRFA 6-12 เท่า ส่วนสภาวะแวดล้อมที่ง่ายและเหมาะสมในการกระตุ้นการสร้างสปอร์คือ การบ่มเชื้อต่อเนื่องที่อุณหภูมิ 25±1 องศาเซลเซียส โดยให้แสงสว่างจากแสงฟลูออเรสเซนต์ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง และเก็บไว้ที่มืด อุณหภูมิ 28±1 องศาเซลเซียส 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วัน จากนั้น นำมาขูดเส้นใยที่เจริญเติบโตบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยเข็มเขี่ยปลายโค้งแหลมที่เผาจนร้อนแดงให้เป็นลายตารางละเอียด 4 ทิศทาง จนเต็มจานอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งในแต่ละทิศทางที่ทำการขูดเส้นใย ทำการเผาเข็มปลายแหลมให้ร้อนแดงทุกครั้ง และบ่มเชื้อภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ง่ายและเหมาะสมในการกระตุ้นการสร้างสปอร์เป็นเวลา 3-4 วัน และการขูดเชื้อ จำนวน 2 ครั้ง พบว่า มีการสร้างสปอร์ในทุกไอโซเลท

Article Details

บท
Articles

References

Ba, V.V. and S. Sangchote. 2006. Seed borne and transmission of Bipolaris oryzae, the causal pathogen of brown spot of rice. Kasetsart Journal (Natural. Science.) 40: 353-360.

Barnwal, M.K., A. Kotasthane, N. Magculia, P.K. Mukherjee, S. Savary, A.K. Sharma, H.B. Singh, U.S. Singh, A.H. Sparks, M. Variar and N. Zaidi. 2013. A review on crop losses, epidemiology and disease management of rice brown spot to identify research priorities and knowledge gaps. European Journal of Plant Pathology 136: 443-457.

Disthaporn, S. 1989. Suppression of rice disease by farmers. Funny Publishing Ltd., Bangkok. 116 p. (in Thai)

Fernando, T.H.P.S., C.K. Jayasinghe and R.L.C. Wijesundera. 2000. Factors affecting spore production, germination and viability of Collectotrichum acutatum isolates from Hevea brasiliensis. Mycological Research 104: 681-685.

Gangopadhyay, S. 1983. Current Concepts on Fungal Diseases of Rice. Today and Tomorrow’s Printers & Publishers. New Delhi, India. 349 pp.

Hau, F.C. and M.C. Rush. 1980. A system for inducing sporulation of Bipolaris oryzae. Plant Disease 64: 788-789.

Janlapha, W., T. Katenate, A.N.L. Noenplab, S. Seewisut, C. Chalermpolyotin and R. Wattanasuchat. 2014. The effects of climate change on rice disease epidemics in the Eastern area. pp. 73-83. In: Proceeding of the Rice Annual Meeting 2013 from Center East and West Groups, Bureau of Rice Research and Development. March 26-28, 2014. Aek Pailin River Kwai Hotel, Kanchanaburi province. (in Thai)

IRRI. 2014. Standard Evaluation System for Rice. 5th ed. International Rice Research Institute, DAPO Box 7777, Metro Manila 130, Philippines. 57 p.

Khalili, E., M. Sadravi, S. Naeimi, and V. Khosravi. 2012. Biological control of rice brown spot with native isolates of three Trichoderma species. Brazil Journal Microbiology 43: 297-305.

Leach, C.M. 1961. The sporulation of Helminthosporium oryzae as affected by exposure to near ultraviolet radiation and dark periods. Canada Journal Botany 39: 705-715.

Manamgoda, D.S., A.Y. Rossman, L.A. Castlebury, P.W. Crous, H. Madrid, E. Chukeatirote and K.D. Hyde. 2014. The genus Bipolaris. Studies of Mycology 79: 221-288.

Mekwatanakarn, P. and W. Mekwatanakarn. 2016. Rice Blast Disease. 2nd ed. One O Graphic, Nonthaburi province. 157 p. (in Thai)

Ou, S.H. 1985. Rice Disease. Commonwealth Mycological Institute. Ferry Lane, UK. 380 pp.

Rice Research Institute. 1996. Rice: farmer’s knowledge bank. In: Proceeding of 80th Anniversary of Pathum Thani Rice Research Center. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives. 191 p. (in Thai)

Singh, B. 1967. Inducing sporulation in different strains of Alternaria solani. Mycopathologia et mycologia applicata 32(2): 163-171.

Sunder, S., R. Singh and R . Agarwal. 2014. Brown spot of rice: an overview. Indian Phytopathology 67: 201-215.