การศึกษาระบบควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรไทย

Main Article Content

อรสา ขัตสากาญจน์
เมตตา คชสำโรง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวปีละประมาณ 69.13 ล้านไร่ มีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแต่ละปีประมาณ 1.38 ล้านตัน แต่ทุกภาคส่วนผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวรวมกันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตข้าว ดังนั้น การผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีจึงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ต้องมีระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP seed) เป็นเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อควบคุมการปฏิบัติในแปลงขยายพันธุ์ ระหว่างปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ ระหว่างเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว รวมทั้งศึกษาผลของระบบควบคุมนั้นในระดับชุมชน องค์กรเกษตรกร ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวภาครัฐและภาคเอกชน จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2561-2563 พบว่า กลุ่มเกษตรกรได้รับการรับรอง GAP seed เฉลี่ย 144.67 กลุ่ม มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลงขยายพันธุ์สูงสุดเฉลี่ยร้อยละ 97.71 รองลงมามีการปฏิบัติระหว่างเก็บรักษาเฉลี่ยร้อยละ 96.74 และมีการปฏิบัติระหว่างปรับปรุงสภาพเฉลี่ยร้อยละ 95.67 เมื่อเรียงลำดับกลุ่มที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวจากมากไปน้อย พบว่าสหกรณ์การเกษตรมีการปฏิบัติมากที่สุด (ร้อยละ 100.00) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ศูนย์ข้าวชุมชนและกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (ร้อยละ 97.86 95.29 และ 93.67 ตามลำดับ) ส่วนปัญหาในการปฏิบัติ พบว่า การปฏิบัติในแปลงขยายพันธุ์มีปัญหาสูงสุด รองลงมา คือ การปฏิบัติระหว่างเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และการปฏิบัติระหว่างปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ โดยกลุ่มสหกรณ์การเกษตรมีปัญหาการปฏิบัติมากที่สุด (ร้อยละ 66.25) รองลงมา คือ กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ศูนย์ข้าวชุมชน และกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (ร้อยละ 47.48 37.89 และ 19.55 ตามลำดับ) การวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว พบว่า คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนปรับปรุงสภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังปรับปรุงสภาพ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกับกลุ่มผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง ผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวมีปัญหาเรื่องเปอร์เซ็นต์ความงอก เมล็ดพันธุ์สุทธิ สิ่งเจือปน ข้าวแดง และข้าวพันธุ์อื่นปนเกินมาตรฐานที่กำหนด

Article Details

บท
Articles

References

Bureau of Rice Seed. 2010. Rice Seed Production. Agricultural Cooperatives Federation of Thailand Limited, Bangkok. 85 p. (in Thai)

Khatsakan, O. 2015. Rice Seed Quality Control and Inspection of Ratchaburi Rice Seed Center. Rice Seed Division, Rice Department. 95 p. (in Thai)

____________. 2021. Development of Rice Seed Production System to Achieve Certification of GAPSeed Standard. Rice Seed Division, Rice Department. 113 p. (in Thai)

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2020. Notification of the Ministry of Agriculture and Cooperatives: prescribing of characteristics and rate of materials used or contained or mixed or added in controlled seed, paddy rice, B.E. 2563. Available source: https://www.doa.go.th/ard/wpcontent/uploads/2020/05/PP03-Rice63.pdf. (October 10, 2020) (in Thai)

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standard. 2017. Thai Agricultural Standard TAS4406-2017 Good Agricultural Practices for Rice Seed. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok. 15 p. (in Thai)

Prasertsak, A. 2022. Rice seed multiplication system. Thai Rice Research Journal 13(1): 106-117. (in Thai)

Rice Seed Division. 2023. Meeting Report on Rice Seed Production Plan in 2023. Rice Department. 8 p. (in Thai)

Wanichsuppawong, P. 2003. Educational Research Methodology. 4th ed. Educational Technology Section. Office of Academic Resources. Prince of Songkla University, Pattani province. 104 p. (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introduction Analysis. 3rd ed. Harper & Row Publishers, New York . 886 p.