พันธุ์ข้าว กข29 (ชัยนาท 80)

Main Article Content

สุรเดช ปาละวิสุทธิ์
พรทิพย์ นวลศิริ
เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร
ธวัช ปฏิรูปานุสร
อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ
นลินี เจียงวรรธนะ
ภมร ปัตตาวะตัง
สุพัตรา สุวรรณธาดา
สอาง ไชยรินทร์
สุมาลี สุทธายศ
จิตติชัย อนาวงษ์
วิไล ปาละวิสุทธิ์
วรรณกรณ์ อินทรสถิตย์
ชุติวัฒน์ วรรณสาย
ดวงอร อริยพฤกษ์
พิษณุ หินตั้ง
มุ่งมาตร วังกะ
ชวนชม ดีรัศมี
ทัศนีย์ สงวนสัจ
วาสนา วรมิศร์
สถาพร กาญจนพันธุ์
ทวีศักดิ์
จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์
ธิติกานต์ ฆ้องทอง
วันทนา ศรีรัตนศักดิ์
นิภา จันท์ศรีสมหมาย
จินตนา ทยาธรรม
ดารา เจตนะจิตร
นงรัตน์ นิลพานิชย์
วิชชุดา รัตนากาญจน์
รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์
พากเพียร อรัญนารถ

บทคัดย่อ

การปลูกข้าวในพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนล่าง เกษตรกรมีความต้องการพันธุ์ข้าวที่อายุเก็บเกี่ยวสั้น ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ และมีคุณภาพเมล็ดดีตามความต้องการของตลาด เพื่อสามารถปลูกเป็นการค้าได้ปีละ 3 ครั้ง จึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณลักษณะดังกล่าว เพื่อเป็นทางเลือกแก่เกษตรกร เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2532 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ได้ข้าวพันธุ์ กข29 (ชัยนาท 80) ซึ่งมาจากสายพันธุ์ CNT89098-281-2-1-2-1 ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 60 และสายพันธุ์ IR29692-99-3-2-1 กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 ปลูกลูกชั่วที่ 1 และทำการคัดเลือกพันธุ์ ศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ระหว่าง สถานี ในนาราษฎร์ ทดสอบเสถียรภาพของผลผลิต ทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร ทดสอบปฏิกิริยาความต้านทาน ต่อโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี และศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน พบว่า ข้าวพันธุ์ กข29 เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง มีลักษณะเด่น คือ อายุเก็บเกี่ยวสั้น อายุเก็บเกี่ยว 99 วันในฤดูนาปรัง และ 103 วันในฤดูนาปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 876 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 1 เท่ากับ 6 และ 18% ตามลำดับ มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดี ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้ง เป็นข้าวเจ้าเมล็ด ยาว มีท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สามารถสีเป็นข้าวขาว 100% ได้ และมีปริมาณธาตุเหล็กในข้าวกล้องสูง 15.7 มก./ข้าวสาร 1 กก. เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนล่าง สามารถปลูกได้ปีละ 3 ครั้ง โดยเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม ธันวาคม และเมษายน แต่ไม่ควรปลูกช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายพฤศจิกายน เพราะอากาศเย็นเมล็ดจะลีบมาก ทำให้ผลผลิตต่ำ ข้อควรระวัง คือ ข้าวกข29 อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเขตจังหวัด นครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา

Article Details

บท
Articles

References

กรมวิชาการเกษตร. 2530. เอกสารแนะนำพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตร. 256 หน้า.

งามชื่น คงเสรี. 2542. คุณภาพข้าวสารและข้าวสุก. หน้า 22-24 ใน: การอบรมหลักสูตรการวิเคราะห์คุณภาพข้าวหอมมะลิทางเคมี โดยศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร 24-25 มีนาคม ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี. จ. ปทุมธานี.

ทัศนีย์ สงวนสัจ. 2540. บทบาทของพันธุกรรมต้านทานโรคและแมลงกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทย. ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 174 หน้า.

พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2526 ก. พันธุศาสตร์ ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์พืช. ว.วิทย. กษ. 16 (4) : 340-346.

__________. 2526 ข. พันธุศาสตร์ ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์พืช. ว.วิทย. กษ. 16 (5) : 409-422.

สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี. 2537. พันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 2. ข้อมูลเสนอคณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร เพื่อพิจารณาเป็นพันธุ์รับรอง สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี , สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. 24 หน้า.

สำนักงานสถิติการเกษตร. 2548. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2547. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. สำนักงานสถิติการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 122 หน้า.

Eberhart, S.A. and W.A.Russell. 1966. Stability parameters for comparing varieties. Crop Science 6 : 36-40.

IRRI. 1996. Standard Evaluation System for Rice. 4th ed. International Rice Research Institute. Los Banos, Philippines. 49 p.

Jennings, P.R., WR. Coffman and H.E. Kauffman. 1979. Rice Improvement. International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines. 186 p.

Khush, G.S. 1979. Genetics and breeding for resistance to brown planthopper. pp. 321-332. In : Brown Planthopper : Threat to Rice Production in Asia. IRRI, Los Banos, Philippines.

Khush, G.S., D. J. MacKill and G.S. Sidhu. 1989. Breeding rice for resistance to bacterial blight. pp. 207 - 217. In : Baterial Blight of Rice. Proc. Int. Workshop Bacterial Blight Rice. IRRI, Manila, Philippines.