การทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ Metarhizium anisopliae ไอโซเลทกรมการข้าว เพื่อการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลศัตรูข้าว

Main Article Content

ไอลดา ชุมแสง
พยอม โคเบลลี่
อริษา จิตรติกรกุล
ดวงกมล บุญช่วย
ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญของการผลิตข้าวในประเทศไทย การใช้ชีวภัณฑ์เป็นอีกทางเลือกในการป้องกันกำจัด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ของเชื้อรา Metarhizium anisopliae ไอโซเลทกรมการข้าวในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแมลงศัตรูข้าวในสภาพแปลงนาโดยการคัดเลือกเชื้อรา M. anisopliae ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในสภาพโรงเรือนทดลอง จำนวน 3 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพในสภาพแปลงนา จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ร้อยละการตายสะสมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากการเข้าทำลายของเชื้อรา M. anisopliae ไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างไอโซเลทจากกรมการข้าว แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) กับไอโซเลทจากกรมส่งเสริมการเกษตร (MNDOAE) และกรรมวิธีควบคุม โดยร้อยละการตายสะสมจากการเข้าทำลายของเชื้อรา M. anisopliae ไอโซเลทจากกรมการข้าว MNMHN031 และ MNNKI033 เท่ากับร้อยละ 55 และ 49 ตามลำดับ เมื่อนำไปพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์พร้อมใช้รูปแบบผงละลายน้ำและทดสอบประสิทธิภาพในสภาพโรงเรือนทดลอง พบว่า ชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ไอโซเลท MNNKI033 ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการตายสะสมร้อยละ 68 ค่า LT50 เท่ากับ 3 สอดคล้องกับผลการทดลองในสภาพนาน้ำฝนและนาชลประทานที่การตายสะสมเฉลี่ยร้อยละ 36 สูงกว่ากรรมวิธีไม่ใช้ชีวภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) จึงอาจเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรใช้เป็นชีวภัณฑ์ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2566. รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร. สืบค้นจาก: https://www.moac.go.th/warning-files-452791791814. (9 ตุลาคม 2566)

กรมการข้าว. 2562. ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท อาร์ตควอลิไฟท์ จำกัด. กรุงเทพฯ. 220 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร. 2566. วัตถุอันตรายที่ได้รับการขึ้นทะเบียน. สืบค้นจาก: https://www.doa.go.th/ard/?page_id=386. (24 มกราคม 2566)

จิรพงศ์ ใจรินทร์, วราภรณ์ วงศ์บุญ, กิจติพงษ์ เพ็งรัตน์, สงวน เทียงดีฤทธิ์, พิกุล ลีลากุด และกัลยา สามเสน. 2552. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมีคุณภาพเมล็ดเหมือนขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย. วารสารวิชาการข้าว 3(1): 21-36.

ดวงกมล บุญช่วย, ชัยรัตน์ จันทร์หนู, กมลวรรณ แจ้งดี และพยอม โคเบลลี่. 2561. ประสิทธิภาพเชื้อรา Metarhizium anisopliae ในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. หน้า 101-111. ใน: การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 35 พ.ศ. 2561. 26-28 มิถุนายน 2561. โรงแรมแซนด์ ดูนส์ เจ้าหลาว บีช รีสอร์ท, จันทบุรี.

นาวิน สุขเลิศ, จิราพร กุลสาริน, ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2559. ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(2): 171-180.

ประภาษ กาวิชา, วนารัตน์ นาติโน และวิไลวรรณ พัฒนาสันต์. 2563. การพัฒนาชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาชนิดเม็ดเพื่อการควบคุมโรคเหี่ยวเหลืองของมะเขือเทศ. Thai Journal of Science and Technology 9(6): 832-843.

พยอม โคเบลลี่, ดวงกมล บุญช่วย, ชัยรัตน์ จันทร์หนู, กมลวรรณ แจ้งดี, นภสร แก้ววิเศษ, สมใจ สาลีโท, นันทิดา สินสายไทย, กรวรรณ ม่วงศรี, พุธชาติ ศรีพนม, เรณู จำปาเกตุ, ชลณิภา นวลทอง, กอบแก้ว สายเรี่ยม, ญานิศา วงศ์วานิช, ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี และสุกัญญา อรัญมิตร. 2561. หน้า 1-102. ใน: รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคแมลงศัตรูข้าวเพื่อควบคุมแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญโดยชีววิธีในประเทศไทย. กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, กรุงเทพฯ.

พยอม โคเบลลี่, ดวงกมล บุญช่วย, ญาณิศา วงศ์วานิช, ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี และสุกัญญา อรัญมิตร. 2563. การคัดแยก จำแนกชนิด และประสิทธิภาพของเชื้อรา Beauveria bassiana (Bals.-Criv.) Vuill. ในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. วารสารวิชาการข้าว 11(2): 71-83.

พยอม โคเบลลี่, อริษา จิตรติกรกุล, ไอลดา ชุมแสง, ดวงกมล บุญช่วย และธีรดา หวังสมบูรณ์ดี. 2564. การคัดเลือกอาหารเหลวและอาหารแข็งที่เหมาะสมเพื่อการผลิตขยายเชื้อรา Beauveria bassiana (Bals.-Criv.) Vuill. เพื่อการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลศัตรูข้าว. หน้า 80-95. ใน: การประชุมวิชาการข้าวกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลางและตะวันตก และกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออก ประจำปี 2564. 23-25 มีนาคม 2564. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี, ปทุมธานี.

ศิวิลัย สิริมังครารัตน์. 2561. โรควิทยาของแมลงและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 1. คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 428 หน้า.

ศุภกิจ สิทธิวงค์, ภานุพันธุ์ ประภาติกุล, วรทัศน์ อินทรัคคัมพร และพัชรินทร์ ครุฑเมือง. 2564. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 3(3): 93-104.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.). 2566. รัฐสั่งปราบเพลี้ยนาข้าวเสียหาย 1.1 หมื่นล้าน. สืบค้นจาก: https://warning.acfs.go.th/th/earlywarning/view/?page=1957. (10 ตุลาคม 2566)

อริษา จิตรติกรกุล, พยอม โคเบลลี่, ไอลดา ชุมแสง, ดวงกมล บุญช่วย และธีรดา หวังสมบูรณ์ดี. 2565. ประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ Beauveria bassiana (Bals.-Criv.) Vuill. ไอโซเลทกรมการข้าว เพื่อการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลศัตรูข้าว. หน้า 183-201. ใน: การประชุมวิชาการข้าวกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลางและภาคตะวันตก และกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกประจำปี 2565. 11-12 พฤษภาคม 2565. ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี, ปราจีนบุรี.

ไอลดา ชุมแสง, พยอม โคเบลลี่, อริษา จิตรติกรกุล และธีรดา หวังสมบูรณ์ดี. 2565. ผลของสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตและความรุนแรงของเชื้อราสาเหตุโรคของแมลง Metarhizium anisopliae var. anisopliae (Metschn.) Sorokīn. หน้า 167-182. ใน: การประชุมวิชาการข้าวกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลางและภาคตะวันตก และกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออก ประจำปี 2565. 11-12 พฤษภาคม 2565. ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี, ปราจีนบุรี.

Abbott, W.S. 1925. A method of computing the effectiveness of an insecticides. Journal of Economic Entomology 18(2): 265-267.

Altinok, H.H., M.A. Altinok and A.S. Koca. 2019. Modes of action of entomopathogenic fungi. Current Trends in Natural Sciences 8(16): 117-124.

Atthanassiou, C.G., N.G. Kavallieratos, C.I. Rumbos and D.C. Kontodimas. 2017. Influence of temperature and relative humidity on the insecticidal efficacy of Metarhizium anisopliae against larvae of Ephestia kuehniella (Lepidoptera: Pyralidae) on wheat. Journal of Insect Science 17(1): 1-7.

Ayele, B.A., D. Muleta, J. Venegas and F. Assefa. 2020. Morphological, molecular, and pathogenicity characteristics of the native isolates of Metarhizium anisopliae against the tomato leafminer, Tuta absoluta (Meyrick 1917) (Lepidoptera: Gelechiidae). Ethiopia Egyptian Journal of Biological Pest Control (2020) 30: 59.

Gao, Q., K. Jin, S.H. Ying, Y. Zhang, G. Xiao, Y. Shang, Z. Duan, X. Hu, X.Q. Xie, G. Zhou, G. Peng, Z. Luo, W. Huang, B. Wang, W. Fang, S. Wang, Y. Zhong, L.J. Ma, R.J.S. Leger, G.P. Zhao, Y. Pei, M.G. Feng, Y. Xia and C. Wang. 2011. Genome sequencing and comparative transcriptomics of the model entomopathogenic fungi Metarhizium anisopliae and M. acridum. PLoS Genetics 7(1): e1001264.

Humber, R.A. 2005. Entomopathogenic fungal identification. Available source: http://www.ars.usda.gov/ SP2UserFiles/Place/80620510/APSwkshoprev.pdf. (October 30, 2015)

Kawpet, R., A. Thancharoen and W. Sriidokchan. 2022. Potential of entomophatogenic fungi for controlling rice leafhoppers and lepidopterous larvae in northern Thailand. International Journal of Agricultural Technology 18(5): 2033-2446.

Li, M., H. Lin, S. Li, P. Chen, L. Jin and J. Yang. 2012. Virulence of entomopathogenic fungi to adults and eggs of Nilaparvata lugens Stål (Homoptera: Delphacidae). African Journal of Agricultural Research 7(14): 2183-2190.

Mongkolsamrit, S., A. Khonsanit, D. Thanakitpipattana, K. Tasanathai, W. Noisripoom, S. Lamlertthon, W. Himaman, J. Houbraken, R.A. Samson and J. Luangsa-ard. 2020. Revisiting Metarhizium and the description of new species from Thailand. Studies in Mycology 95: 171-251.

Peng, Z.Y., S.T. Huang, J.T. Chen, N. Li, Y. Wei, A. Nawaz and S.Q. Deng. 2022. An update of a green pesticide: Metarhizium anisopliae. All Life 15: 1141-1159.

Safavi, S.A., F.A. Shah, A.K. Pakdel, G.R. Rasoulian, A. R. Bandani and T.M. Butt. 2007. Effect of nutrition on growth and virulence of the entomopathogenic fungus Beauveria bassiana. FEMS Microbiology Letters 270: 116-123.

Zimmermann, G. 2007. Review on safety of the entomopathogenic fungus Metarhizium anisopliae. Biocontrol Science and Technology 17(9): 879-920.