การพัฒนาช่อดอกของสายพันธุ์เรณูเป็นหมัน (สายพันธุ์ A) และสายพันธุ์แก้การเป็นหมัน (สายพันธุ์ R) ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมสายพันธุ์ดี

Main Article Content

อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
สุภาพร จันทร์บัวทอง
สุรพงศ์ โพธิพิบูลย์

บทคัดย่อ

การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมมักประสบปัญหา การออกดอกไม่ตรงกันของสายพันธุ์แม่ (สายพันธุ์ A) และสายพันธุ์พ่อ (สายพันธ์ R) ทำให้เมล็ดพันธ์ลูกผสมที่ได้มีปริมาณน้อย การศึกษาการพัฒนาช่อดอกของสายพันธุ์เรณูเป็นหมัน (สายพันธุ์ A) และสายพันธุ์แก้การเป็นหมัน (สายพันธุ์ R) เป็นแนวทางในการวางแผนการปลูกของสายพันธุ์พ่อหรือแม่ ช่วยให้ออกดอกตรงกันมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ปี 2549-2551 โดยใช้ สายพันธุ์ A จำนวน 5 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ R จำนวน 7 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองแรก คือ อิทธิพลของวันปลูกต่อการพัฒนาช่อดอกของสายพันธุ์ A และสายพันธุ์ R ในสภาพแปลงนา โดยทำการตกกล้าสายพันธุ์ A และสายพันธุ์ R ทุก 15 วัน เมื่อต้นกล้ามีอายุ 20 วัน จึง ปักดำบันทึก การพัฒนาช่อดอก การกำเนิดช่อดอก และการออกดอก การทดลองที่ 2 คือ อิทธิพลของวันปลูกต่อการสร้างใบบนลำต้นหลักและการพัฒนาช่อดอกของสายพันธุ์ A และสายพันธุ์ R ในสภาพเรือนทดลอง โดยปลูกข้าวในกระถาง เดือน ละ 1 ครั้ง ใช้ข้าวชุดเดียวกับที่ปลูกในแปลงนา บันทึกจำนวนใบบนต้นหลัก วันออกดอก และคํานวณอัตราการสร้างใบ พบว่า การพัฒนาช่อดอกของสายพันธุ์ A และสายพันธุ์ R มีความแตกต่างกันเมื่อช่วงปลูกต่างกัน สายพันธุ์ A ที่มีความแปรปรวนของวันออกดอกมากที่สุด คือ IR79156A และ IR80156A สายพันธุ์ที่มีความแปรปรวนของวันออกดอกน้อยที่สุด คือ IR80151A ส่วนสายพันธุ์ R ที่มีความแปรปรวนของวันออกดอกมากที่สุด คือ HR02001-2-3-3-1-7-2R สายพันธุ์ที่มีความแปรปรวนของวันออกดอกน้อยที่สุดคือ JN29-11-1-B-12-5-5R ข้าวสายพันธุ์ A มีการพัฒนาช่อดอก และการโผล่ของช่อดอกเร็วกว่าสายพันธุ์ R ดังนั้น ในการวางแผนการปลูก ต้องปลูกสายพันธุ์ R ก่อนสายพันธุ์ A สำหรับอัตราการสร้างใบบนลำต้นหลักของสายพันธุ์ A เฉลี่ยอยู่ในช่วง 5.0-5.6 วัน/ใบ ส่วนของสายพันธุ์ R เฉลี่ยอยู่ ในช่วง 5.4-6.2 วัน /ใบ จำนวนใบทั้งหมดบนต้นหลักของสายพันธุ์ A เฉลี่ยอยู่ในช่วง 13.5-15.4 ใบ ส่วนสายพันธุ์ R เฉลี่ยอยู่ในช่วง15.7-17.5 ใบ การวางแผนการปลูกข้าวลูกผสมสายพันธุ์ดี 4 คู่ผสม คือ PTT06001H, PTT06029H, PTT06008H และ PTT06022H ควรตกกล้าสายพันธุ์ R ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อก่อนสายพันธุ์ A เป็นเวลา 3-21 วัน ขึ้นอยู่กับคู่ผสมและช่วงปลูก หรือ อีกวิธีหนึ่ง คือ ตกกล้าสายพันธุ์ A เมื่อสายพันธุ์ R สร้างใบ 2.0-6.1 ใบ ขึ้นอยู่กับคู่ผสม และช่วงปลูก เช่นกัน

Article Details

บท
Articles

References

เฉลิมพล แซมเพชร. 2542. สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 276 หน้า.

ลิลลี่ กาวีต๊ะ, เยาวลักษณ์ ทองสิมา, มาลี ณ นคร, รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ และอัญชลี ประเสริฐศักดิ์. 2543.อิทธิพลของ วันปลูกต่อพัฒนาการปลายยอดของข้าว. หน้า 322-332. ใน : การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38. 1-4 กุมภาพันธ์ 2543. กรุงเทพฯ.

Apakupakul, R. 1996. Apical development and stem growth of lowland rice in relation to nitrogen application rates. Thai J. Agric. Sci. 29 : 501-506.

IRRI. 1997. Hybrid Rice Breeding Manual. International Rice Research Institue. Los Baños, Laguna. Phillippines. 151 p.

Yuan, L., W. Xiaojin, L. Fuming, M. Guohui and X. Qiusheng. 2003. Hybrid Rice Technology. China Agriculture Press, Beijing, China. 131 p.