การประเมินและติดตามคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวในจังหวัดพิจิตร

Main Article Content

วิไล ปาละวิสุทธิ์
ดวงอร อริยพฤกษ์
พรสุรี กาญจนา

บทคัดย่อ

จังหวัดพิจิตรเป็นแหล่งผลิตข้าวใหญ่ที่สุดของภาคเหนือตอนล่าง แต่เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไม่เพียงพอใช้ปลูก ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้าท้องถิ่น จึงได้ประเมินและติดตามคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ เพื่อทราบปัญหา และความต้องการของเกษตรกร ดำเนินการในปี 2551 ใน 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 สํารวจและประเมินคุณภาพ เมล็ดพันธุ์ข้าวในแหล่งผลิตและแหล่งจําหน่าย พบว่า มีแหล่งผลิต 6 แห่ง ร้านจําหน่าย 57 ร้าน และกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมี 2 กลุ่ม พันธุ์ข้าวจําหน่าย 28 พันธุ์ 64 ตรา พันธุ์ข้าวที่จําหน่ายมาก ได้แก่ พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 3 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 75 วัน และราชินี แหล่งผลิตส่วนใหญ่มาจากจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรี คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ (68%) ไม่ผ่านมาตรฐานชั้นพันธุ์จําหน่าย สาเหตุเพราะมีข้าวแดงปน ข้าวพันธุ์อื่นปน และมีสิ่งเจือปน เกินมาตรฐาน กิจกรรมที่ 2 สํารวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรที่เก็บไว้ใช้เอง พบว่า ไม่ได้มาตรฐานชั้นพันธุ์จําหน่ายทั้งหมด สาเหตุเพราะมีข้าวพันธุ์อื่นปน มีสิ่งเจือปน และมีข้าวแดงปนเกินมาตรฐาน ความงอกต่ำ และความชื้นเกินมาตรฐาน และกิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรหลังจากใช้เมล็ดพันธุ์ดีไปปลูกขยายพันธุ์ พบว่า เกือบทั้งหมด (93%) ไม่ได้มาตรฐานชั้นพันธุ์จําหน่าย สาเหตุเพราะมีสิ่งเจือปน พันธุ์ข้าวอื่นปน และมีข้าวแดงปน เกินมาตรฐาน และความงอกต่ำกว่ามาตรฐาน

Article Details

บท
Articles

References

วิไล ปาละวิสุทธิ์, วรรณกรณ์ อินทรสถิตย์, จิตติชัย อนาวงษ์ และพรสุรีย์ กาญจนา. 2549. เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเชิงพาณิชย์ในแปลงเกษตรกร. หน้า 92 - 98. ใน : การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2550. 19 - 21 กุมภาพันธ์ 2550 ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2550. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2550 . ศูนย์สารสนเทศการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ 401 กรุงเทพมหานคร. 169 หน้า.