การปรับพื้นที่สภาพดินไร่เป็นนาขั้นบันได : ทางเลือกของเกษตรกรบนพื้นที่สูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปรับพื้นที่สภาพดินไร่ที่มีความลาดชันเป็นนาขั้นบันได เป็นทางเลือกหนึ่งของระบบการปลูกข้าวที่ยั่งยืน บนพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการผลิตข้าวเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างและสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารในปีแรก การขุดปรับพื้นที่เป็นนาขั้นบันไดเพียงอย่างเดียว สามารถให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าการปลูกข้าวไร่แบบเดิมไม่น้อยกว่า 2 เท่า และหากมีการปรับปรุงบํารุงดินในนาขั้นบันไดผืนใหม่ ผลผลิตข้าวก็จะเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 และนาขั้นบันไดที่สร้างขึ้นมาใหม่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 หากมีการใช้พันธุ์ข้าวของทางราชการซึ่งสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูงได้ดี
Article Details
References
กรมพัฒนาที่ดิน. 2540. รายงานการจัดการดินกลุ่มชุดดินที่ 62. กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพฯ. 42 หน้า
จันทบูรณ์ สุทธิ. 2539. การเกษตรแบบตัดฟันโค่นเผาบนพื้นที่สูง : วิทยาการพื้นบ้าน. สถาบันวิจัยชาวเขาเชียงใหม่. 117 หน้า.
ประพิศ แสงทอง และวิศิษฐ์ โชลิตกุล. 2533.ความอุดมสมบูรณ์ของดินปลูกข้าวไร่ในบริเวณภาคเหนือตอนบน. หน้า 49-58. ใน: รายงานการประชุมวิชาการข้าวและวัชพืชเมืองหนาว ศูนย์วิจัยข้าวแพร่และสถานีทดลองเครือข่าย. 7-9 กุมภาพันธ์ 2533 ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์วิจัยข้าวแพร่.
ศิวะพงศ์ นฤบาล และสมเกียรติ วัฒนาวิกรานต์. 2549. รายงานความก้าวหน้าการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรดอยอมพายตามพระราชดำริ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตแม่ฮ่องสอนสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1. 6 หน้า.
ศิวะพงศ์ นฤบาล และสุทัด ปินตาเสน. 2539. ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกถั่วแปะหล่อเป็นพืชเหลื่อมในระบบข้าวไร่. หน้า 305-314. ใน: รายงานผลงานวิจัยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว 2539 ศูนย์วิจัยข้าวแพร่.
สมเกียรติ วัฒกวิกรานต์. 2546. สถานภาพการผลิต การวิจัยและพัฒนาข้าวนาที่สูง. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้าวที่สูง” : โอกาสและศักยภาพของการวิจัยและพัฒนาเชิงบูรณาการ” 22-23 พฤษภาคม 2546 ณ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต เชียงใหม่ 1. 7 หน้า.
สมชาย องค์ประเสริฐ และปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร. 2543. การทดสอบความเป็นไปได้ในการทำนาขั้นบันไดโดยการรวมน้ำในเขตภูเขา. ภาควิชาดินและปุ๋ย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่. 50 หน้า.
อภิวัฒน์ หาญธนพงศ์ และวีรวรรณ เวนวล. 2552. รายงานการประชุมแถลงผลการดำเนินงาน ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง. หน้า 250-275. ใน: รายงานการประชุมแถลงผลการดำเนินงาน กลุ่มศูนย์วิจัยภาคเหนือตอนบน และ ภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2552 เล่มที่ 1. 24-26 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมแสนภู เพลส เชียงราย.