การปฏิบัติของชาวนาในการปลูกข้าวตามมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ปี 2550/2551
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นําเสนอการวิจัยเชิงสังคมศาสตร์โดยสังเขป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคมของชาวนา สภาพการเพาะปลูก การปฏิบัติในการปลูกข้าวของชาวนา และการปฏิบัติตาม คำแนะนําตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP, Good Agricultural Practice) รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยทางด้านบุคคลและสภาพเศรษฐกิจสังคม กับการปฏิบัติในการปลูกข้าวตามหลักการ GAP เป็นการศึกษาข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ใน 51 จังหวัด ตัวอย่างประชากร 3,575 คน ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 - กันยายน 2551 ผลการศึกษา ได้ข้อมูลทั่วไปของชาวนา ข้อมูลเกี่ยวกับการทำนา และการใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ที่ปลูก การปรับปรุงบํารุงดิน การป้องกันกําจัดศัตรูข้าว เทคโนโลยีการผลิตข้าว ผลการวิจัยเน้นเรื่องการปฏิบัติของชาวนาตามมาตรฐาน GAP และผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะหลายประการ
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2546. รายงานการประเมินผลโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน. เอกสารรายงานผลการประเมิน กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร.
ฉลอง อินทนนท์. 2547. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543-2546 จังหวัดสกลนคร. รายงานการวิจัย สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร. กรมส่งเสริมการเกษตร.
นันทา บูรณะธนัง. 2548. ประเมินผลสัมฤทธิ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ปี 2547. รายงานการวิจัย กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร.
บริบูรณ์ สมฤทธิ์ และสงกรานต์ จิตรากร. 2535. การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาหลักด้านเทคโนโลยีของชาวนาในประเทศไทย. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2531. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ กรุงเทพฯ.
พิสณุ ฟองศรี. 2549. เทคนิควิธีการประเมินโครงการ. ศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.
วิรัชฎ์ องคะจันทร์ และวิลาวรรณ ปิตธวัชชัย. 2541. ความต้องการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. โครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนทั่วไปของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2540.
ศักดา พรรณนา. 2542. การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการใช้สารสกัดสะเดาในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุพจน์ ชัยวิมล. 2533. ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรในอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Arkin, H. 1974. Hand book of Sampling for Auditing and Accounting. New York, McGraw-Hill, Inc.