พันธุ์ข้าว กข12 (หนองคาย 80)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน เป็นพื้นที่นาอาศัยน้ำฝน ประกอบด้วยนาหลายสภาพ เกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์ กข6 ซึ่งมีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี แต่อ่อนแอต่อโรคไหม้ ในสภาพนาค่อนข้างดอน เกษตรกรจะปลูกข้าวพันธุ์หางยี 71 ซึ่งต้านทานต่อโรคไหม้ แต่คุณภาพการหุงต้มและรับประทานไม่ดี จึงวิจัยหาพันธุ์ข้าวเหนียวอายุเบา ต้านทานต่อโรคไหม้ สําหรับปลูกในพื้นที่นาค่อนข้างดอน เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2535 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร โดยผสมพันธุ์ข้าวระหว่างพันธุ์หางยี 71 กับพันธุ์ กข6 คัดเลือกลูกผสมถึงชั่วที่ 5 และปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ได้สายพันธุ์ UBN02110-IKI-B-BB-30-KKN-1 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ “พันธุ์ กข12 (หนองคาย 80)” โดยมีการศึกษาทดลองเป็นขั้นตอน คือ ศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีและในนาราษฎร์ ศึกษาเสถียรภาพการให้ผลผลิต ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนทดสอบคุณภาพเมล็ด ทางเคมี ทางกายภาพ และคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน รวมทั้งประเมินการยอมรับของเกษตรกร ระยะเวลา ดําเนินการตั้งแต่ ปี 2535-2546 รวม 11 ปี พบว่า ข้าวพันธุ์ กข12 เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณ 5-25 ตุลาคม ความสูง 108-138 ชม. ให้ผลผลิต 428-538 กก./ไร่ ลักษณะเด่น คือ มีอายุเบากว่าพันธุ์ กข6 ประมาณ 10 วัน ลำต้นแข็ง ไม่หักล้มง่าย สามารถปลูกในพื้นที่นาค่อนข้างดอน ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ในหลายท้องที่ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร แนะนําให้ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่ฝนหมดเร็วหรือ นาค่อนข้างดอน แต่มีข้อควรระวัง คือ อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
Article Details
References
เกรียงไกร พันธ์ุวรรณ์ และบุญรัตน์ จงดี (ผู้รวบรวม). 2547. โครงการการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการปรับปรุงพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝนภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 77 หน้า.
ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร. 2542. ผลการทดลอง การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาชลประทาน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ ฤดูนาปี 2542. กลุ่มพืชศาสตร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 77 หน้า.
ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร. 2543. ผลการทดลอง การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาชลประทาน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ ฤดูนาปี 2543. กลุ่มพืชศาสตร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 90 หน้า.
ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร. 2544. ผลการทดลอง การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาชลประทาน ฤดูนาปี 2544. กลุ่มพืชศาสตร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร, สถาบันวิจัยข้าว,กรมวิชาการเกษตร. 77 หน้า.
ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร, ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี และศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2545. ผลการทดลอง การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน ฤดูนาปี 2545. กลุ่มพืชศาสตร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 149 หน้า.
ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร, ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี และศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2546. ผลการทดลอง การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน ฤดูนาปี 2546. ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 96 หน้า.
ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี. 2542. ผลการทดลอง การเปรียบเทียบผลผลิตข้าว ฤดูนาปี 2542. ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 106 หน้า.
ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี. 2543. ผลการทดลอง การเปรียบเทียบผลผลิตข้าว ฤดูนาปี 2543. ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 95 หน้า.
ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี. 2544. ผลการทดลอง การเปรียบเทียบผลผลิตข้าว ฤดูนาปี 2544. ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 40 หน้า.
IRRI. 1996. Standard Evaluation System for Rice. International Rice Research Institute. Los Baños Manila, Philippines. 52 p.