พันธุ์ข้าว กข33 (หอมอุบล 80)

Main Article Content

นพพร สุภาพจน์
ฉลวย บุญวิทย์
บุญรัตน์ จงดี
โอภาท วรวาท
วราพงษ์ ชมาฤกษ์
จรัญจิต เพ็งรัตน์
ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์
อนุชาติ คชสถิตย์
อุไรวรรณ คชสถิตย์
กฤษณา สัตยากุล
พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์
พยอม โคเบลลี่
จิรพงศ์ ใจรินทร์
กิจติพงษ์ เพ็งรัตน์
ธวัทชัย พรหมรักษา
สงวน เทียงดีฤทธิ์
โยธิน คนบุญ
วราภรณ์ วงศ์บุญ
ประเสริฐ ไชยวัฒน์
สุดา ศรีโปฎก
ประทาย เคนเหลื่อม
หนูเรียง จันทร์เสนา
สุภาณี จงดี
กฤษณา สุดทะสาร
รานี เคนเหลื่อม
สมาน คํามา
ละม้ายมาศ ยังสุข
พิบูลวัฒน์ ยังสุข
อรสา วงษ์เกษม
สรรเสริญ เสียงใส
อัญชลี ชาวนา
วีระศักดิ์ หอมสมบัติ
เสรี ดาหาญ
สมพร ไชยศรี
สมหมาย ศรีวิสุทธิ์
กรรณิกา นากลาง
สุเทพ วังใน
ปรีดา เสียงใหญ่
พันนิภา ยาใจ
วลัยพร แสนวงษ์
สถิตย์ อินทราวุธ
นิพนธ์ บุญมี
จารุนันท์ ตันติวรวิทย์
วิเชียร เพ็งคํา
ศิวะพงศ์ นฤบาล
นงนุช ประดิษฐ์
นิทัศน์ สิทธิวงค์
ปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม
พิศาล กองหาโคตร
อัฒพล สุวรรณวงศ์
ถนอมจิตร์ ฤทธิ์มนตรี
เอกสิทธิ์ สกุลคู
ปัญญา ร่มเย็น
จิระ อะสุรินทร์
สมหมาย เลิศนา
ชูศักดิ์ แขพิมาย
สมใจ สาลีโท
ชะเอม เกษมรัตน์
เรณู จําปาเกตุ
สุขวิทยา ภาโสภะ
สุดารัตน์ ทองมาก
เกรียงไกร พันธุ์วรรณ์
สุรพงษ์ สาคะรัง
สุวิตร บุษปะเวศ

บทคัดย่อ

เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน มากกว่า 80% ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 เพราะเป็นข้าวคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ข้าว 2 พันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคไหม้ พบความเสียหาย ประมาณ 30% จึงได้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้มีความต้านทานต่อโรคไหม้ และมีคุณภาพเมล็ดใกล้เคียง กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เริ่มดําเนินการตั้งแต่ ปี 2538 โดยผสมพันธ์ระหว่างข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์แม่ กับสายพันธุ์ R70177-76-3-1 ซึ่งมีความต้านทานต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์พ่อ ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ทําการคัดเลือกได้ข้าวสายพันธุ์ IR77924-UBN-62-71-1-2 และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ให้ชื่อว่า "พันธุ์ กข33 (หอมอุบล 80)" โดยมีการศึกษาทดลองเป็นขั้นตอนคือ ศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีและในนาราษฎร์ การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน เสถียรภาพการให้ผลผลิตความต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ศึกษาคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน การยอมรับของเกษตรกร โดยเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์ขาวดอก มะลิ 105 และกข15 ดําเนินการในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่ปี 2539-2548 รวม 10 ปี พบว่าข้าวพันธุ์ กข33 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงเฉลี่ย 154 ซม. อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 528 กก./ไร่ ข้าวกล้องมีสีขาว ความยาวเฉลี่ย 7.47 มม. กว้าง 2.11 มม. และหนา 1.80 มม. ท้องไข่น้อย (0.98) คุณภาพการสีดี แอมิโลสต่ำ (14.0-16.8%) การยืดตัวข้าวสุก 1.4 เท่า และมีกลิ่นหอม ลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรคไหม้หลายสายพันธุ์เชื้อราสาเหตุโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.) คุณภาพเมล็ดใกล้เคียงกับขาวดอกมะลิ 105 เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร แนะนําให้ปลูกในพื้นที่นาอาศัยน้ำฝนที่ฝนหมดเร็ว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน แต่มีข้อควรระวัง คือ ข้าวพันธุ์ กข33 ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

Article Details

บท
Articles

References

เกรียงไกร พันธ์ุวรรณ์ และบุญรัตน์ จงดี (ผู้รวบรวม). 2546. การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการปรับปรุงพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝนในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ: การมีส่วนร่วมในการคัดเลือกพันธ์ุ. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 71 หน้า.

เกรียงไกร พันธ์ุวรรณ์ และบุญรัตน์ จงดี (ผู้รวบรวม). 2547. การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการปรับปรุงพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝนในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ: การมีส่วนร่วมในการคัดเลือกพันธ์ุ. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร. 95 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่, ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร และศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี. 2546ก. การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนระหว่างภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2546 การทดลองที่ 1(ข้าวเจ้าอายุเบา). หน้า 1-9 ใน : ผลการทดลอง การศึกษาพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนและเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนในนาราษฎร์. โครงการวิจัยและพัฒนาพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2546. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่, ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร และศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี. 2546ข. การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนในนาราษฎร์ ฤดูนาปี 2546 ชุดข้าวอายุเบา. หน้า 76-83 ใน: ผลการทดลอง การศึกษาพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนและเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนในนาราษฎร์. โครงการวิจัยและพัฒนาพันธ์ุข้าว นาสวนนาน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2546. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่, ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร และศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี. 2547. การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนในนาราษฎร์ ฤดูนาปี 2547 ชุดข้าวเจ้าอายุเบา. หน้า 19-39 ใน : ผลการทดลอง การศึกษาพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน และเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนในนาราษฎร์. โครงการวิจัยและพัฒนาพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝน ในเขตภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2547. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่, ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร และศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี. 2548. การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนระหว่างภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2548 ชุดข้าวเจ้าอายุเบา (YT2). หน้า 59-62 ใน: ผลการทดลองการศึกษาพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝน การเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน. โครงการวิจัยและพัฒนาพันธ์ุข้าวนาสวนนาน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2548. สำนักวิจัยและพ้ฒนาข้าว, กรมการข้าว.

International Rice Research Institute (IRRI). 1996. Standard Evaluation System for Rice. IRRI, Los Baños, Laguna, Philippines. 52p.