การวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวสาลีใน 2 พื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย
นิพนธ์ บุญมี
อัญชลี ตาคำ
สุรพล ใจวงศ์ษา
เนตรนภา อินสลุด

บทคัดย่อ

จากสถิติการนำเข้าข้าวสาลีในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรโดยการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวสาลี จึงทำการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวสาลีที่มีการปลูกในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตข้าวสาลีให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ใน 2 พื้นที่ คือ พื้นที่บ้านทุ่งหลวง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านศรีดอนชัย ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ การเก็บรวบรวมและจัดเตรียมฐานข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ประกอบด้วย แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 แผนที่แสดงความลาดชัน แผนที่แสดงความสูง และแผนที่แสดงชุดดิน ครอบคลุม 2 พื้นที่  กำหนดหลักเกณฑ์ค่าถ่วงน้ำหนัก และค่าคะแนน ใช้หลักเกณฑ์จากความต้องการพื้นฐานด้านกายภาพของข้าวสาลีเป็นหลัก ในการวิเคราะห์หาความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกข้าวสาลีผ่านกระบวนการทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยวิธีการวิเคราะห์แบบซ้อนทับข้อมูล (overlay analysis) ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  โดยมีการกำหนดความสำคัญของแต่ละชั้นข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ การกำหนดหลักเกณฑ์ค่าถ่วงน้ำหนัก และกำหนดความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกข้าวสาลีเป็น 4 ระดับ คือ ระดับเหมาะสมสูง ปานกลาง ต่ำ และไม่เหมาะสม พบว่า บ้านทุ่งหลวง มีพื้นที่เหมาะสมระดับปานกลาง 491 ไร่ เหมาะสมต่ำ 6 ไร่ และไม่เหมาะสม 970 ไร่ และบ้านศรีดอนชัย มีพื้นที่เหมาะสมระดับปานกลาง 1,584 ไร่ และไม่เหมาะสม 894 ไร่

Article Details

บท
Articles