พันธุ์ข้าว กข14

Main Article Content

ณัชนพงศ์ วงศ์บุรี
มณฑล ปุญญฤทธิ์
พจน์ วัจนะภูมิ
ปรีดา เสียงใหญ่
สุภาณี จงดี
วลัยพร แสนวงษ์
จิตกร นวลแก้ว
สถิตย์ อินทราวุธ
พรรณี จิตตา
บุญยงค์ วรยศ
พันนิภา ยาใจ
กุลชนา เกศสุวรรณ์
กาญจนา พิบูลย์
ประทีป พิณตานนท์
สกุล มูลคํา
จารุนันต์ ตันติวรวิทย์
วิชัย คําชมภู
พรชัย เตจ๊ะ
นิพนธ์ บุญมี
ไฉน สรชัย
ไพโรจน์ โชตินิสากรณ์
นันทา อนันต์ชัยพัทธนา
นิทัศน์ สิทธิ์วงศ์
มาโนช พุกเกลี้ยง
ธวัชชัย วะหิม
สุดใจ มะติยาภักดิ์
ศิวะพงศ์ นฤบาล
นงนุช ประดิษฐ์
ประไพพรรณ โค้วอินทร์
สุธีรา มูลศรี

บทคัดย่อ

ภาคเหนือตอนบนของไทย ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียว โดยเฉพาะฤดูนาปี จะปลูกข้าวเหนียว 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด พันธุ์ที่นิยมมาก คือ กข6 และ กข10 ซึ่งให้ผลผลิตต่ำ และผลผลิตข้าวเสียหายจากการทําลายของโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดหลังขาว เป็นต้น จึงได้ทําการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวให้ได้ผลผลิตสูง และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวดังกล่าว เริ่มดําเนินการตั้งแต่ปี 2534 ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ โดยทําการผสมพันธุ์ข้าวแบบผสมคู่ ระหว่างคู่ผสม IR54883-8-2-3/กข6 กับคู่ผสม IR54883-8-2-3/ขาวดอกมะลิ 105 ได้ข้าวสายพันธุ์ PRE 92039-13-1-2-2 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว เป็นพันธุ์รับรอง ตั้งชื่อพันธุ์ว่า "กข14" โดยมีการศึกษาทดลองเป็นขั้นตอนคือ ศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ระหว่างสถานี และในนาราษฎร์ ศึกษาเสถียรภาพการให้ผลผลิต ทดสอบผลผลิตในแปลงนาเกษตรกร ทดสอบความต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูข้าวที่สําคัญ การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ทดสอบคุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมี คุณภาพการสี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน รวมทั้งประเมินการยอมรับของเกษตรกร ระยะเวลาดําเนินการตั้งแต่ ปี 2534-2550 รวม 16 ปี ข้าวพันธุ์ กข14 เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสงความสูง 105-120 ซม. อายุเก็บเกี่ยว 134-138 วัน ผลผลิตเฉลี่ยในฤดูนาปี 666 กก./ไร่ นาปรัง 711 กก./ไร่ ลักษณะเด่น คือ ในฤดูนาปีให้ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์ กข10 และสันป่าตอง 1 13 และ 6% ตามลําดับ ส่วนฤดูนาปรังให้ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์ กข10 14% เป็นข้าวเหนียวเมล็ดยาว คุณภาพการสีดีมาก ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง เหมาะสําหรับปลูกในพื้นที่นาเขตชลประทานในภาคเหนือตอนบน โดยปลูกได้ตลอดปี แต่มีข้อควรระวัง คือ ข้าวพันธุ์ กข14 อ่อนแอต่อแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

Article Details

บท
Articles

References

นิทัศน์ สิทธิวงศ์. 2544. การตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นที่ไม่ไวต่อช่วงแสง. ผลการทดลองโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2544. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร.

ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่. 2547. การตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นที่ไม่ไวต่อช่วงแสง. หน้า 23-30. ใน: รายงานประจำปี 2547 ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร.

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี. 2551. ผลการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีและผลการทดสอบการชิมข้าวสายพันธุ์ PRE92039-13-1-2-2. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. (เอกสารอัดสำเนา)

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2542. ผลการทดลองโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน. เอกสารประกอบการพิจารณาผลการทดลองการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2542. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิการเกษตร. 114 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2543. ผลการทดลองโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน. เอกสารประกอบการพิจารณาผลการทดลองการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2543. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิการเกษตร.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2544. ผลการทดลองโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน. เอกสารประกอบการพิจารณาผลการทดลองการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2544. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิการเกษตร. 66 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2545. ผลการทดลองโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน. เอกสารประกอบการพิจารณาผลการทดลองการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2545. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิการเกษตร. 89 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2546. ผลการทดลองโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน. เอกสารประกอบการพิจารณาผลการทดลองการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2546. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิการเกษตร. 148 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2547. ผลการทดลองโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน. เอกสารประกอบการพิจารณาผลการทดลองการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2547. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิการเกษตร. 82 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2548. ผลการทดลองโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน. เอกสารประกอบการพิจารณาผลการทดลองการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนนาชลประทานในภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2548. สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิการเกษตร. 95 หน้า.

ศูนย์วิจัยข้าวแพร่. 2550. ผลการดำเนินงานโครงการกองทุนข้าวพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบนมราชกุมารี อ.ท่าวังคา จ.น่าน ปี 2550. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 17 หน้า.

สถานีทดลองข้าวเชียงใหม่. 2544. การตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นที่ไม่ไวต่อช่วงแสง. หน้า 29-53. ใน: รายงานประจำปี 2544. สถานีทดลองข้าวเชียงใหม่, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2547. รายงานผลการสำรวจข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2545/47. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ 418. 129 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2548. รายงานผลการสำรวจข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2547. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ 411. 128 หน้า.

Eberhart, S.A. and W.L.Russel.1966. Stability parameters for comparing varieties. Corp Sci. 6 : 36-40.

IRRI. 2002. Standard Evaluation System for Rice (SES). Intenational Rice Research Institute, P.O. Box 953, Manila, Philippines. 56 p.