การจัดการพันธุ์ข้าวเพื่อลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ได้ศึกษาความแตกต่างของความรุนแรงในการทําลายข้าวพันธุ์ต้านทานมาตรฐานและข้าวพันธุ์รับรองของ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในพื้นที่นาชลประทานในเขตภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันตก เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตข้าวจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จํานวน 80 อําเภอ ใน 16 จังหวัด โดยสุ่มเก็บตัวอย่าง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จํานวน 81 กลุ่มประชากร จาก 80 อําเภอ นำแต่ละกลุ่มแมลงมาเลี้ยงขยายจํานวนให้มีตัวอ่อน รุ่น 3-4 นําแมลงจํานวน 72 กลุ่มประชากร มาทดสอบกับข้าวพันธุ์ต้านทานมาตรฐาน จํานวน 10 พันธุ์ ที่มียีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตั้งแต่ยีนที่ 1-10 ได้แก่ พันธุ์ Mudgo (Bph1) ASD7 (bph2) Rathu Heenati (Bph3) Babawee (bph4) ARC 10550 (bph5) Sawanalata (Bph6) T12 (bph7) Chin Saba (bph8) Pokkali-white (Bph9) และ IR65482-4-136-2 (Bph10) และนําเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จํานวน 81 กลุ่ม มาทดสอบกับชุดข้าวพันธุ์รับรองจํานวน 9 พันธุ์ คือ ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 3 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 กข31 กข23 และ กข7 และพันธุ์อ่อนแอมาตรฐานเปรียบเทียบ TN1 ใช้เทคนิค seedling box screening ประเมินความรุนแรงในการทําลาย พันธุ์ข้าวของแมลงโดยใช้ระบบ Standard Evaluation System (SES) ของ IRRI และวิเคราะห์ข้อมูล แบบ cluster analysis พบว่า ที่ coefficient 0.87 สามารถแบ่งกลุ่มเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็น 11 กลุ่ม และกลุ่มของพันธุ์ข้าวต้านทานมาตรฐาน 6 กลุ่ม ตามปฏิกิริยาความรุนแรงในการทําลายพันธุ์ข้าว นำกลุ่มแมลง 81 กลุ่ม ทดสอบกับข้าวพันธุ์รับรองจํานวน 9 พันธุ์ ที่ coefficient 0.84 สามารถแบ่งกลุ่มเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ 20 กลุ่ม และพบว่าข้าวพันธุ์รับรองแต่ละพันธุ์มีปฏิกิริยาต่อกลุ่มเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้ง 81 กลุ่มแตกต่างกัน ดังนั้น การลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงควรแนะนําให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ที่ได้รับการรับรองพันธุ์ที่มีปฏิกิริยาต้านทานต่อกลุ่มเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแต่ละพื้นที่นั้น
Article Details
References
ปรีชา วังศิลาบัตร. 2545. นิเวศวิทยาของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและควบคุมปริมาณ. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ. 117 หน้า.
Claridge, M.F., J.D. Hollander and J.C. Morgan. 1985. Variation in courtship signals and hybridization between heographically definable populations of the rice brown planthopper, Nillaparvata lugens (Stal). Biol. J. Linnean Soc. 24: 35-49.
Heinrich, E.A., E.G. Medrano and H.R. Rapusas. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. Rice Res. Inst. Los Banos Philippines. 356 p.
IRRI. 1988. Standard Evaluation System for Rice. Int. Rice Res. Inst. Los Banos Philippines. 54 p.
Sogawa, K. Soekirno and Y. Raksadinata. 1987. New genetic makeup of brown planthopper (BPH) populations in Central Java, Indonesia. Int. Rice Res. News. 12: 29-30.