เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล : ศัตรูข้าวตัวฉกาจของการปลูกข้าว นาชลประทานและมิติใหม่ของการจัดการ

Main Article Content

วันทนา ศรีรัตนศักดิ์

บทคัดย่อ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stail) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่เป็นปัญหาสําคัญของการปลูกข้าวนาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง โดยเกิดระบาดทําความเสียหายแก่ผลผลิตข้าว จนเกษตรกรได้เรียกร้องให้รัฐบาลเข้าช่วยเหลือ สาเหตุการระบาดเกิดจากภาวะราคาข้าวสูง เป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรลงทุนใช้ปัจจัยการผลิตทุกด้านเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะการใช้สารฆ่าแมลงผิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพนิเวศในนาข้าว สมดุลธรรมชาติเกิดความเสียหายรุนแรง สภาวการณ์เช่นนี้เกิดจากเกษตรกรขาดความรู้วิชาการที่ถูกต้อง ซึ่งการจัดการแมลงศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน หากเกษตรกรเข้าใจและนําไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ก็สามารถลดความสูญเสียจากการทําลายของแมลงศัตรูข้าวได้ แต่เกษตรกรไม่นิยมปฏิบัติ เนื่องจากเห็นว่ายุ่งยาก แนวทางการจัดการระบบนิเวศในนาข้าว (ecological engineering) เป็นทางเลือกใหม่ที่คาดว่าสามารถลดช่องว่างระหว่างงานวิจัยกับการปฏิบัติของเกษตรกร หลักการคือ ในพื้นที่นาชลประทานที่มีการปลูกข้าวเพียงพืชเดียว ปรับสภาพให้มีการปลูกพืชอื่นบนคันนาโดยเฉพาะพืชที่มีดอกสีเหลืองหรือสีขาวร่วมด้วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งหลบอาศัย แหล่งอาหารของศัตรูธรรมชาติ เป็นการสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในนาข้าว ทําให้สภาพนิเวศนาข้าวมีความสมดุล และสามารถลดปัญหาการระบาดทําลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่นาชลประทาน โดยเฉพาะที่ราบลุ่ม ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง

Article Details

บท
Articles

References

กรมกาข้าว. 2553ก. คู่มือการดำเนินงานเพื่อยุติการระบาดของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก ตามมติคณะรัฐมนตรี 9 กุมภาพันธ์ 2553, 100 หน้า.

กรมการข้าว, 2553ข. รายงานสถานการณ์ข้าวรายสัปดาห์ ฉบับที่ 113/2553 วันที่ 31 ธันวาคม 2552-6 มกราคม 2553. ศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์ข้าว : Avail-able source : http://www.ricethailand.go.th//rice, 15 มิถุนายน 2553.

นิภา จันท์ศรีสมหมาย, 2545. การศึกษาความต้านทานของพันธุ์ข้าวต่อการทําลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทย. รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2545 กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูข้าวและธัญพืชเมือง หนาว, กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, 10 หน้า.

ปรีชา วังศิลาบัตร. 2545, นิเวศวิทยาของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและการควบคุมปริมาณ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จตุจักร กรุงเทพฯ, 117 หน้า.

พรศิริ เสนากัสป์, กู้เกียรติ สร้อยทอง และอรชุณร์ สารพินิจ. 2553. รายงานผลการสนทนากลุ่ม-Focus Group โครงการการป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำดาลอย่างยั่งยืน: กิจกรรมการบริหารนิเวศในนาข้าว (Ecological Engineering, EE). 8 หน้า. (เอกสารอัดสำเนา)

วนิช ยาคล้าย, ปรีชา วังศิลาบัตร, สุวัฒน์ รวยอารีย์, เฉลิม สินธุเสก และเฉลิมวงศ์ ถิระวัฒน์. 2540, สํารวจการใช้สารป้องกันกําจัดศัตรูข้าว, หน้า 241-249. ใน: เอกสารวิชาการ การป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืชโดยวิธี ผสมผสาน, กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร

วันทนา ศรีรัตนศักดิ์, สุกัญญา เทพันดุง และจินตนา ไชยวงศ์ 2553. ความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงของเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล, หน้า 134-149. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการข้าวเนื่องในโอกาสวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ, 3-4 มิถุนายน 2553. โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ

สุเทพ สหายา, จีรนุช เอกอํานวย, วนาพร วงษ์นิคง, พวงผกา อ่างมณี, สรรชัย เพชรธรรมรส และเกรียงไกร จําเริญมา. 2553. ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว. เอกสารประกอบการรายงาน คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเพื่อยุติการระบาด ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบ หงิก. 10 หน้า. (เอกสารอัดสําเนา)

อภิชาติ ลาวัณย์ประเสริฐ, สุวัฒน์ รวยอารีย์ และสาธิต ทยาพัชร. 2546. การปรับตัวของเพลี้ยกระโดด(Nilaparvata lugens (Stal)) ในการทำลายข้าวเมื่อปลูกแบบต่อเนื่อง ในเขตภาคกลาง. ว.กีฏ สัตว. 25 (4) : 225-243.

Heong, K.L.. 2009. Planthoppers Outbreaks in 2009. Available source: http://ricehoppers.net/2009/09/ planthopper outbreaks-in-2009. posted by Moni, Sept. 25, 2009.

Luecha, M. 2010. Farmers' insecticides selections might have made their farms vulnerable to hopperburn in Chai Nat, Thailand. Available source: http://ricehoppers.net/2009/09/planthopperoutbreaks-in-2009. posted by Moni, Jan. 17, 2010.

Tanaka, K. 1997. Development of resistance breaking biotypes of the brown planthopper against resistant rice varieties. Farming Japan 31(2): 22-26.