โรคใบหงิกและโรคเขียวเตี้ย : ภัยร้ายของชาวนาที่มาจาก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

Main Article Content

วิชชุดา รัตนากาญจน์

บทคัดย่อ

โรคใบหงิกของข้าว มีสาเหตุเกิดจาก rice ragged stunt virus และโรคเขียวเตี้ยของข้าว มีสาเหตุเกิดจาก rice grassy stunt virus เป็นโรคข้าวที่สําคัญโดยมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงพาหะนําโรค ลักษณะอาการของต้นข้าวที่เป็นโรคใบหงิก คือ ต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบมีสีเขียวเข้ม ปลายใบบิด ขอบใบแหว่งวิ่น เส้นใบบวมโป่ง ออกรวงช้า หรือให้รวงที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนต้นข้าวที่เป็นโรคเขียวเตี้ยแสดงอาการต้นเตี้ย เป็นพุ่มแจ้แตกกอมาก ใบแคบมีสีเหลือง มีจุดประสีเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลอ่อน มักจะไม่ออกรวงหรือให้รวงลีบ ลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัส พันธุ์และอายุของข้าวขณะที่ได้รับเชื้อ การป้องกันกําจัดโรคสามารถทำได้โดยกําจัดแหล่งของโรค ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หมั่นสํารวจตรวจนับแมลงและสุ่มประเมินการเกิดโรคตั้งแต่เริ่มปลูกข้าว ใช้สารฆ่าแมลงเมื่อพบต้นเป็นโรคและแมลง 1 ตัว/ต้น/กอ เมื่อเดือนธันวาคม 2552 - มกราคม 2553 เกิดการระบาดของโรคเขียวเตี้ยและโรคใบหงิกในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง และมีการกําหนดแนวทางหรือกลยุทธ์การป้องกันกําจัด คือ ข้าวระยะกล้าถึงแตกกอให้ทำการไถกลบ ระยะข้าวแตกกอถึงออกรวงให้สํารวจปริมาณต้นเป็นโรค ถ้าพบต้นเป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถอนต้นเป็นโรคแล้วฝังดินหรือเผาทําลาย ระยะข้าวตั้งท้องถึงใกล้เก็บเกี่ยว ให้ควบคุมแมลง และไถกลบตอซังเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว เว้นช่วงการปลูกรอบใหม่ไม่น้อยกว่า 1 เดือน เพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมทั้งเป็นการกําจัดแหล่งของโรคใบหงิกและโรคเขียวเตี้ย และปลูกข้าวใหม่เมื่อไม่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอพยพเข้ามาในพื้นที่ โดยปลูกข้าวพันธุ์รับรองของกรมการข้าว

Article Details

บท
Articles

References

กรมการข้าว. 2553. คู่มือการดำเนินงานเพื่อยุติการระบาด ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก ตามมติคณะรัฐมนตรี 9 กุมภาพันธ์ 2553. 100 หน้า.

ดารา เจตนะจิตร. 2543. มาตรการการป้องกันและกำจัดโรค ใบหงิก, เอกสารประกอบการบรรยาย การสัมมนา วิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาวภาคเหนือ ประจำปี 2543. 24-25 กุมภาพันธ์ 2543. โรงแรมเซ็นทรัลแม่สอด ฮิลล์, อ.แม่สอด จ.ตาก, 9 หน้า.

ดารา เจตนะจิตร, อมรา สนิมทอง, จรรยา อารยาพันธ์, วิชชุดา รัตนากาญจน์, เมธี ปุตตะ และสมคิด ดิสถาพร 2532. การประเมินการลดลงของผลผลิตข้าวเนื่องจากโรคจู๋. หน้า 8-20. ใน: รายงานผลงานวิจัย พ.ศ. 2532. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวง เกษตรและสหกรณ์.

ดารา เจตนะจิตร, สมคิด ดิสถาพร, อมรา สนิมทอง, เมธี ปุตตะ, วิชชุดา รัตนากาญจน์ และจรรยา อารยาพันธ์. 2533. โรคจู๋ของข้าวและแนวทางแก้ปัญหา ใน: เทคนิคการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. เอกสารประกอบการบรรยายโครงการฝึกอบรม. 28-29 สิงหาคม 2533. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี, สถาบันวิจัยข้าว, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. 84 น.

ปรีชา วังศิลาบัตร, 2545. นิเวศวิทยาของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและการควบคุมปริมาณ. กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูข้าวและธัญพืชเมืองหนาว, กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ. 117 หน้า.

วิชชุดา พลเวียง, ดารา เจตนะจิตร, อมรา แพเจริญ, เมธี ปุตตะ, จรรยา อารยาพันธ์ และสมคิด ดิสถาพร. 2530. การศึกษาความต้านทานของข้าวพันธุ์ต่างๆ ต่อโรคจู๋และแมลงพาหะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล(Nilaparvata lugens). หน้า 96-105. ใน: รายงานผลงานวิจัย พ.ศ. 2532. กองโรคพืชและจุลชีวิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วิชชุดา รัตนากาญจน์, 2548. โรคจู๋ของข้าวกลับมาแล้ว, ข่าวอารักขาพืช 1(3) : 1.

สมคิด ดิสถาพร. 2532. ชาวนาปราบโรคข้าว. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พลับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 116 หน้า.

อมรา สนิมทอง, ดารา เจตนะจิตร, วิชชุดา รัตนากาญจน์, จรรยา อารยาพันธ์, เมธี ปุตตะ และสมคิด ดิสถาพร. 2531. การศึกษาพืชอาศัยของโรคไวรัสของข้าวโดยวิธีทางเซรุ่มวิทยา. หน้า 121-133. ใน: รายงานผลงาน วิจัย พ.ศ. 2531. กลุ่มงานวิจัยโรคข้าว, กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อมรา สนิมทอง, วิชชุดา รัตนากาญจน์, สุวัฒน์ รวยอารีย์, ทัศนีย์ สงวนสัจ, เฉลิม สินธุเสก และสมคิด ดิสถาพร. 2538. แนวทางการพยากรณ์โรคใบหงิกของข้าวโดยอาศัยแมลงพาหะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. หน้า 566-572. ใน: การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 2 เล่ม 2.

IRRI. 1996. Standard Evaluation System for Rice. 4th edition, INGER, Genetic Resource Center. P.O. Box 933, 1099 Manila, Philippines, 52 p.

Ling, K.C., E.R. Tiongo and V.M. Aguiero. 1978. Rice ragged stunt, a new virus disease. Plant Dis. Reptr. 62: 701-705.

Ou, S. M. 1985. Rice Diseases. 2nd eds. Commonwealth Mycological Institute, Kew, Surrey, UK, 380 p.

Weerapat, P. and S. Pongprasert. 1978. Ragged stunt disease in Thailand. IRRN 3(1): 11-12.