การประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับแต่งจีโนมด้วยระบบ CRISPR/Cas9 ในการวิจัยและพัฒนาข้าว

Main Article Content

วราพงษ์ ชมาฤกษ์

บทคัดย่อ

มนุษย์ใช้ประโยชน์จากพืชในหลากหลายด้าน ทั้งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ อาหารของสัตว์เลี้ยงยารักษาโรค ตลอดจนเป็นแหล่งของเชื้อเพลิงชีวภาพ พันธุ์พืชใหม่ๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากพันธุ์ป่าและพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม กระบวนการปรับปรุงพันธุ์ตามแบบมาตรฐานดั้งเดิม อาศัยความหลากหลายทางพันธุกรรมที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งต้อง อาศัยกระบวนการผสมพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่นในประชากรขนาดใหญ่หลายชั่วอายุจนกว่าจะสามารถถ่ายทอด เอาลักษณะที่ต้องการเข้าสู่พืชพันธุ์ใหม่ได้ เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรจํานวนมาก การปรับแต่งจีโนมตรงตําแหน่งเป้าหมายด้วยเอนไซม์ย่อยสารพันธุกรรมที่มีความจําเพาะเจาะจงช่วยเพิ่มศักยภาพในการวิจัยขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการนําไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชได้เป็นอย่างดี เนื่องจากนักวิจัยสามารถปรับแต่งจีโนมได้อย่างรวดเร็ว แม่นยํา และทํานายผลลัพธ์ของการปรับแต่งจีโนมได้ บทความปริทัศน์นี้เน้นกล่าวถึงการปรับแต่งจีโนมพืชด้วยระบบ CRISPR/Cas9 ซึ่งเป็นระบบที่ปรับแต่งจีโนมด้วยการทําให้เกิดการตัดย่อยเส้นดีเอ็นเอสายคู่ตรงตําแหน่งที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นเทคนิคที่นักวิจัยส่วนมากนิยมใช้ในปัจจุบันและเริ่มมีการนํามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวบ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรมีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัยสนใจดําเนินงานวิจัยในด้านนี้ให้มากขึ้น

Article Details

บท
Articles