ข้าวนาที่สูง พันธุ์ขาหนี่ 117
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิประเทศของประเทศไทยเป็นพื้นที่สูงเหนือระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป มีประมาณร้อยละ 53 (67.2 ล้านไร่) ของพื้นที่ทั้งประเทศ อยู่ในภาคเหนือและภาคกลาง รวม 20 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมและปลูกข้าวเพื่อบริโภคเป็นหลัก แต่มักมีปัญหาข้าวไม่พอบริโภคเนื่องจากผลผลิตต่ำ สาเหตุจากความไม่บริสุทธิของเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีความหลากหลายพันธุ์ จึงได้วิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มชาติพันธุ์ให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ ให้ผลผลิตสูง เหมาะสําหรับปลูกในสภาพนาขั้นบันได ดําเนินการโดยเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวพันธุ์ขาหนี่จากแปลงเกษตรกร อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ นํามาขยายพันธุ์ คัดเลือกรวง คัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์แบบรวงต่อแถว คัดเลือกต้นที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยดําเนินการวิจัยตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ คือ การศึกษาพันธุ์ การเปรียบเทียบผลผลิต การทดสอบความต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน วิเคราะห์เมล็ดทางกายภาพ คุณภาพการสี คุณภาพเมล็ดทางเคมี คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน คุณค่าทางโภชนาการ และการยอมรับของเกษตรกร ดําเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2563 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว ได้มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ใช้ชื่อ ว่าพันธุ์ “ขาหนี่ 117” เป็นข้าวเจ้านาที่สูง ไวต่อช่วงแสง ออกดอก (50 เปอร์เซ็นต์) ประมาณวันที่ 4-24 ตุลาคม สุกแก่ช่วง 10-24 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง ลําต้นแข็งปานกลาง ความสูง 143.0 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียว ปลายใบสีม่วง แก่ช้า ความยาวใบ 53.9 เซนติเมตร กว้าง 1.7 เซนติเมตร ใบธงยาว 32.4 เซนติเมตร รวงยาว 26.7 เซนติเมตร คอรวงยาว การ ติดเมล็ดดี จํานวนเมล็ดดีต่อรวง 148 เมล็ด ให้ผลผลิตในแปลงนาเกษตรกรเฉลี่ย 517 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเปลือกสีฟาง แถบน้ำตาล ข้าวกล้องสีขาว ท้องไข่มาก เป็นข้าวอมิโลสต่ำ (15.10 เปอร์เซ็นต์) ข้าวหุงสุกไม่หอม ข้าวกล้องมีปริมาณโปรตีน 10.2 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการสีดีมาก และไม่ตอบสนองปุ๋ยไนโตรเจน ลักษณะเด่น คือ มีศักยภาพให้ผลผลิตสูง (783 กิโลกรัมต่อไร่) ในสภาพนาที่ความสูงเหนือระดับทะเลปานกลาง 700-1,000 เมตร มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีฤทธิ์ทางชีวภาพพรีไบโอติก ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ แนะนําให้ปลูกนาแบบขั้นบันได ข้อควรระวัง คือ อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว และแมลงบั่ว
Article Details
References
กนกวรรณ จารุกำจร, วิลัดดา สินทร และชรินญา พิมพ์สอน. 2557. ความสัมพันธ์ของภาวะเครียดออกซิเดชั่นและ ภาวะไขมันในเลือดสูง. วารสารพิษวิทยาไทย 29(1-2): 57-69.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2540. รายงานการจัดการดินกลุ่มชุดดินที่62. กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพฯ. 42 หน้า.
กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบน. 2553. เทคโนโลยีการทำนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. กรุงเทพมหานคร. 78 หน้า.
มาโนช คุ้มพนาลัยสถิต, กัญญณัช ศิริธัญญา, นิพนธ์ บุญมี และสุรพล ใจวงศ์ษา. 2562. ขาหนี่ (SPTC04005): ข้าวพื้นเมืองที่มีศักยภาพและคุณค่าทาโภชนาการสูง. หน้า 106-117. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ประจำปี 2562. วันที่ 5-7 มีนาคม 2562. โรงแรมเมืองทองธานี รีสอร์ท โคราช อำเภอโนนสูง, จังหวัดนครราชสีมา.
ศนิ จิระสถิตย์. 2561. สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 23(3): 1617-1637.สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2561. ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS). (ระบบออนไลน์). สืบค้นจาก: http://gis.hrdi.or.th/. (2 พฤษภาคม 2561)
สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย, สุมาลี มีปัญญา, ศิลาวัน จันทรบุตร, จารุวี อันเซตา, วิสุทธิ์ กีปทอง, อาทิตยา ยอดใจ, ศิริลักษณ์ ใจบุญทา, นงนุช ประดิษฐ์, ผกากานต์ ทองสมบุญ, สุทธกานต์ ใจกาวิล และพิชญ์นันท์ กังแฮ. 2561. การสำรวจความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของกลุ่ม
ชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และน่าน. หน้า 222 – 235. ใน: สัมมนาวิชาการข้าวกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างประจำปี 2561. กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว.
สุรพล ใจวงศ์ษา, กัญญณัช ศิริธัญญา, ชณิชา จินาการ, ธีรวัฒน์ เทพใจกาศ, เนตรนภา อินสลุด, นิพนธ์ บุญมี, ศิวะพงศ์ นฤบาล, ทองมา มานะกุล และสกุล มูลคำ. 2560. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การพัฒนาการผลิตและการใช้ประโยชน์พันธุ์ข้าวพื้นที่สูง” ภายใต้แผนงานวิจัยมุ่ง เป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดย เร่งด่วน : เรื่องข้าว ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. 175 หน้า.
Heinrichs, E.A., F.G. Medrano and H.R. Rupasas. 1985. Genetic Evaluation for Insect Resistance in Rice. International Rice Research Institute, Los Banõs, Manila, Philippines. 352 p.
IRRI. 2014. Standard Evaluation System for Rice (SES). International Rice Research Institute, Los Banõs, Philippines. 57 p.