ความหลากหลายของลักษณะสัณฐานวิทยาและความสามารถในการก่อโรค ของเชื้อรา Bipolaris oryzae (Breda de Haan) Shoemaker สาเหตุโรคใบจุดสีน้ําตาลของข้าวในประเทศไทย

Main Article Content

อริษา จิตรติกรกุล
พยอม โคเบลลี่
สมใจ สาลีโท
รุจิรัตน์ วงศ์จันทร์แดง
ธนาภา สมใจ
ดวงกมล บุญช่วย
ชนสิริน กลิ่นมณี
อัญชลี ตาคำ
ศุภลักษณา สนคงนอก
มาสุฑล สัญพึ่ง
พุธชาติ ศรีพนม
ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี

บทคัดย่อ

โรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าวเกิดจากเชื้อรา Bipolaris oryzae (Breda de Haan) Shoemaker ปัจจุบันจัดเป็น โรคที่มีความสําคัญมากโรคหนึ่ง การใช้พันธุ์ต้านทานเป็นวิธีการป้องกันกําจัดที่มีประสิทธิภาพสูง อย่างไรก็ตาม ความ หลากหลายของลักษณะทางสัณฐานวิทยา และความสามารถในการก่อโรคของประชากรเชื้อสาเหตุโรค เป็นข้อมูลสําคัญ สําหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ําตาล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลาย ของลักษณะสัณฐานวิทยาและความสามารถในการก่อโรคของเชื้อรา B. oryzae ในประเทศไทย สําหรับการวางแผน ปรับปรุงพันธุ์ข้าว ดําเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย อุบลราชธานี ชัยนาท พัทลุง และเชียงใหม่ สถาบัน วิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ และกองวิจัยและพัฒนาข้าว ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2564 โดยการสํารวจและเก็บตัวอย่างโรค ใบจุดสีน้ําตาลของข้าว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงกรกฎาคม 2562 รวม 26 จังหวัด แยกได้เชื้อรา จํานวน 188 ไอโซเลท และศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อ จํานวน 77 ไอโซเลท สามารถจัดกลุ่มความหลากหลายของ ลักษณะเส้นใยของเชื้อ เมื่ออายุ 10 วันบนอาหาร PDA ได้ 7 กลุ่ม ส่วนลักษณะโคนิเดีย จําแนกเป็น 4 กลุ่ม การทดสอบ ความสามารถในการก่อโรคบนข้าว 50 พันธุ์ ของเชื้อรา B. oryzae จํานวน 40 ไอโซเลท จําแนกได้ 16 กลุ่ม โดยในกลุ่ม ที่ 1 พบว่า เชื้อ 25 ไอโซเลท มีความสามารถในการก่อโรครุนแรง โดยข้าวทดสอบ จํานวน 50 พันธุ์ แสดงปฏิกิริยาอ่อนแอ ต่อเชื้อดังกล่าว และพบลักษณะทางสัณฐานวิทยาและความสามารถในการก่อโรคของเชื้อมีความหลากหลาย โดยเฉพาะ ไอโซเลทที่แยกจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย

Article Details

บท
Articles

References

พยอม โคเบลลี่, ศุภลักษณา หล่าจันทึก, ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี, เมธวดี เดชหาญ และพิชามญชุ์ พัฒรักษ์. 2562. เทคนิคอย่างง่ายเพื่อการกระตุ้นการสร้างสปอร์ของเชื้อรา Bipolaris oryzae (Bredda de Haan) Shoemaker สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว. หน้า 154-165. ใน: การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 36 ประจำปี 2562. กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 12-15 พฤษภาคม 2562. ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน, จังหวัดนครศรีธรรมราช.

วรรณพรรณ จันลาภา, ทัสดาว เกตุเนตร, อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ และสมหมาย ศรีวิสุทธิ. 2557. ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการระบาดของโรคข้าวในภาคตะวันออก. หน้า 73-83. ใน: การประชุมวิชาการข้าว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตกประจำปี 2556. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. 26-28 มีนาคม 2557. ณ โรงแรมเอกไพลิน ริเวอร์แคว, จังหวัดกาญจนบุรี.

ศิริรัตน์ ศิริพรวิศาล. 2550. รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความหลากหลายของรา Bipolaris oryzae และความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคใบจุดสีน้ำตาลในพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 52 หน้า.

สถาบันวิจัยข้าว. 2539. ข้าว: ความรู้คู่ชาวนา. เอกสารวิชาการครบรอบ 80 ปี ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 191 หน้า.

สมคิด ดิสถาพร. 2532. ชาวนาปราบโรคข้าว. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร. 116 หน้า.

Farr, D.F. and A.Y. Rossman. 2013. Fungal databases, systematic mycology and microbiology laboratory. ARS, USDA. Available source: http://nt.ars-grin.gov/fungaldatabases. (January 8, 2020)

IRRI. 2014. Standard Evaluation System for Rice. 5th ed. International Rice Research Institute, DAPO Box 7777, Metro Manila 130, Philippines. 57 p.

Kumar, A., I.S. Solanki, J. Akthar and V. Gupta. 2016. Morpho-molecular diversity of Bipolaris oryzae causing brown spot of paddy. Indian J. Agri. Sci. 86(5): 55-60.

Magar, P.B. 2015. Screening of rice varieties against brown leaf spot disease at Jyotinagar, Chitwan, Nepal. Int. J. Appl. Sci. Biotechnol. 3(1): 56-60.

Manamgoda, D.S., A.Y. Rossman, L.A. Castlebury, P.W. Crous, H. Madrid, E. Chukeatirote and K.D. Hyde. 2014. The genus Bipolaris, Studies of Mycology 79: 221-288.

Manamgoda, D.S., L. Cai, E.H.C. McKenzie, P.W. Crous, H. Madrid, E. Chukeatirote, R.G. Shivas, Y.P.Tan and K.D. Hyde. 2012. A phylogenetic and taxonomic re-evaluation of the Bipolaris - Cochliobolus - Curvularia Complex. Fungal Diversity 56: 131-144.

Mukherjee, J. 2015. Hungry Bengal: War, Famine and the End of Empire. New York, NY: Oxford University Press. 329 p.

Nazari, S., M. Javan-nikkhah, K.B. Fotouhifar, V. Khosravi and A. Alizadeh. 2015. Bipolaris species associated with rice plant: pathogenicity and genetic diversity of Bipolaris oryzae using rep-PCR in Mazandaran province of Iran. J. Crop Prot. 4(4): 497-508.

Padmanabhan, S.Y. 1973. The Great Bengal Famine. Ann. Rev. Phytopathology 11: 11-26.

Scheffer, R.P. 1997. The Nature of Disease in Plants. Cambridge University Press, Cambridge, UK, 325 p.

Subramanian, C.V. and V.R. Bhat. 1978. Taxonomy of Drechslera oryzae (Breda de Haan) Subramanian & Jain a reappraisal. pp. 136-148. In: Subramanian, C.V. (ed.), Taxonomy of Fungi. Proceeding of the International Symposium on Taxonomy of Fungi (1973). University of Madras.

Sunder, S., R. Singh and R. Agarwal. 2014. Brown spot of rice: an overview. Indian Phytopath 67(3): 201-215.

Valarmathi, P. and D. Ladhalakshmi. 2018. Morphological characterization of Bipolaris oryzae causing brown spot disease of rice. Int. J. Curr. Microbiol. App. Sci. 7(2): 161-170.