การวิจัยและพัฒนาข้าวอินทรีย์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

กรรณิกา นากลาง
พิบูลวัฒน์ ยังสุข
สุขวิทยา ภาโสภะ
ประทาย เคนเหลื่อม
ชนินทร์ เภสัชชา
เภสัช ลวดเงิน

บทคัดย่อ

การปลูกข้าวแบบอินทรีย์ เป็นการผลิตข้าวที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ศูนย์วิจัยข้าวอุดรธานี และศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ได้ทำการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ 3 การทดลอง ระหว่างปี 2547-2550 เพื่อหารูปแบบในการผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์ที่เหมาะสมทั้งด้านพันธุ์ การจัดการธาตุอาหารพืช วิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์คัดและพันธุ์หลักของข้าว 4 พันธุ์ ที่ปลูกขยายเมล็ดพันธุ์ของ ศูนย์วิจัยข้าวดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวอินทรีย์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรรมวิธีที่ทดลอง คือ ใส่ปุ๋ย เคมีใส่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่ใส่ปุ๋ย (วิธีธรรมชาติ) และการทำนาหว่านข้าวแห้งแล้วคลุมด้วยฟาง จากการประเมินผลผลิตของพันธุ์และสายพันธุ์ข้าว คือ พันธุ์หางยี่ 71 เหนียวอุบล 2 กข6 เจ้าแดง เหลือง 11 ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ IR779541-31 UBN6010PM-682-2-1-2 มะลิดำ 53SRNM561(1) และ KNLR84149SRN-35-1-1-1-2 เพื่อผลิตข้าวอินทรีย์ พบว่า ข้าวทุกพันธุ์/สายพันธุ์ที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้ผลผลิตสูงเช่นเดียวกับการผลิตแบบใส่ปุ๋ยเคมีและสูงกว่าวิธีธรรมชาติ การผลิตเมล็ดพันธุ์คัดและพันธุ์หลักแบบอินทรีย์มีแนวโน้มได้ผลดีเช่นเดียวกับวิธีผลิตแบบเคมีรูปแบบและวิธีการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกหรือปัจจัยที่มีอยู่ ที่ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ปลูกโสนแอฟริกันแล้วไถกลบ ถ้าปริมาณไม่พอจึงใส่ปุ๋ยหมักเพิ่ม ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ บางปีปลูกถั่วพุ่มหรือโสนก่อนปลูกข้าว บางปีใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก บางปีใส่ผสมผสานกัน จากการทดลอง ไม่พบโรคและแมลงศัตรูข้าวทำความเสียหายถึงระดับที่ต้องทำการกำจัด ที่ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร การปลูกพืชสดแล้วไถกลบ และปลูกข้าวแบบปักดำคุ้มทุนกว่าการปักดำแล้วใส่ปุ๋ยเคมี ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ การปลูกข้าวนาหว่านแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใช้ฟางคลุมไม่คุ้มทุนเพราะค่าแรงและวัสดุแพง เมื่อเปรียบเทียบกับการทำนาแบบธรรมชาติ การปลูกโสนแล้วไถกลบ ได้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มสูงที่สุด (309%) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ได้อัตราผลตอบแทนติดลบ (-771%) ส่วนการทำนาหว่านคลุมฟาง ได้อัตราผลตอบแทนเพิ่มเพียง 40%

Article Details

บท
Articles

References

กรรณิกา นากลาง และสว่าง โรจนกุศล. 2549 ก. การทำนาหว่านคลุมฟางเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ105. หน้า 372-380. ใน : เรื่องย่อ. การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาวประจำปี 2549. โรงแรมลองบีช, ชะอำ จ. เพชรบุรี.

กรรณิกา นากลาง และสว่าง โรจนกุศล. 2549 ข. ผลและผล Bureau of Rice Research and Development 28 Thai Rice Research Journal, Vol. 2 No. 2, May - August 2008 ตกค้างของการใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ระยะยาวที่มีผลต่อผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ105. หน้า 381-388. ใน: เรื่องย่อ. การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาวประจำปี 2549. โรงแรมลองบีช, ชะอำ จ. เพชรบุรี.

กรรณิกา นากลาง, สุนทรี มีเพ็ชร, บุญหนัก เปลี่ยนพิจิตร, สว่าง โรจนกุศล, สุดา ศรีโปฎก, โยธิน คนบุญ และ ปัญญา ร่มเย็น. 2548. การใส่ปุ๋ยคอก ฟางข้าว และปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านข้าวแห้งในเขตทุ่งกุลาร้องไห้. หน้า 64-68. ใน : เรื่องย่อ การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2548. 7-8 มีนาคม 2548. โรงแรมรอยัลฮิลล์ รีสอร์ท จ.นครนายก.

กรรณิกา นากลาง, วราภรณ์ วงศ์บุญ, โยธิน คนบุญ, ประเสริฐ ไชยวัฒน์ และรณชัย ช่างศรี. 2549. การจัดการพืชบำรุงดินอย่างเหมาะสมในนาข้าวอินทรีย์. หน้า 214-221. ใน : เรื่องย่อ การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาวประจำปี 2549 ณ โรงแรมลองบีช ชะอำ จ. เพชรบุรี.

ควพร พุ่มเชย, ปิยะพันธุ์ ศรีคุ้ม, กรรณิกา นากลาง และ โยธิน คนบุญ. 2549. เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาเกษตรกร. หน้า 191-200. ใน : เรื่องย่อการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาวประจำปี 2549. โรงแรมลองบีช, ชะอำ จ. เพชรบุรี.

จามีกร ศรีสุมล, องอาจ วีระโสภณ, จินตนา หัสวายุกุล, ชวนชม ดีรัศมี, วิญญู วงศ์อุบล และสมใจ สาลีโท. 2548. การจัดการปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่นาชลประทาน. หน้า 56-59. ใน : เรื่องย่อ การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 248. 7-8 มีนาคม 2548. โรงแรมรอยัลฮิลล์ รีสอร์ท, จ.นครนายก.

พิบูลวัฒน์ ยังสุข. 2549. ข้าวอินทรีย์ที่ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร. หน้า 335-344. ใน : เรื่องย่อ การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาวประจำปี 2549. โรงแรมลองบีช, ชะอำ จ. เพชรบุรี.

เสรี ดาหาญ. 2548. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินและผลผลิตข้าว. หน้า 60. ใน : เรื่องย่อ การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2548. 7-8 มีนาคม 2548. โรงแรมรอยัลฮิลล์ รีสอร์ท, จ.นครนายก.

CIMMYT. 2005. An Economics Training Manual. From Agronomic Data to Farmer Recommendations. http://www.cimmyt.org/english/docs/manual/agronomic/manual/fromAgronomic_manual.pdf.

Jiang, M. X. and J. A. Cheng. 2004. Effects of manure use on seasonal patterns of arthropods in rice with special reference to modified biological control of white backed planthopper, Sogatella furcifera Horvath (Homoptera: Delphacidae). Journal of Pest Science 77(4) : 185-189.

Kajimura T., N. Widiarta, K. Nagai, K. Fujisaki and F. Nakasuji. 1995. Effect of organic rice farming on planthoppers 4. Reproduction of the white backed planthopper, Sogatella furcifera Horvath (Homoptera: Delphacidae). Researches on Population Ecology 37(2) : 219-224.

Lee Y.H., S.M. Lee, Y.J. Lee and D.H. Choi. 2004. Rice cultivation using organic farming system with organic input materials in Korea. New directions for a diverse planet : Proceedings of the 4th International Crop Science Conference. 26 Sep. - 1 Oct. 2004 Brisbane, Australia.

Naklang, K., D. Harnpichitvitaya, S. T. Amarante, L. J. Wade and S. M. Haefele. 2006. Internal efficiency, nutrient uptake, and the relation to field water resources in rainfed lowland rice of northeast Thailand. Plant and Soil 286 : 193-208.