ผลิตภัณฑ์ข้าวพองอัดแท่งผสมรำข้าวสกัดน้ำมัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
รําข้าวที่ผ่านการสกัดน้ำมันออกแล้ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีน 15.86% ใยอาหาร 33.57% และเถ้า 10.97% แต่มีไขมันเพียง 1.04% เหมาะที่จะนํามาทําผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ จึงนํารําข้าวที่สกัดน้ำมันออก แล้วมาใช้ในผลิตภัณฑ์ข้าวพองอัดแท่ง ดําเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 กันยายน 2551 ทําการผลิตข้าวพองผสมรําข้าวสกัดน้ำมัน โดยใช้เครื่องอัดแรงดันสูง (extruder) พบว่า ส่วนผสมที่เหมาะสมประกอบ ด้วย แป้งข้าวกล้อง 100 กรัม CaCO3 1 กรัม น้ำตาล 5 กรัม เกล็ดข้าวโพด 24 กรัม และ รําข้าวสกัดน้ำมัน 5 กรัม โดยบดวัตถุดิบทุกชนิดให้ละเอียด 80-100 เมช เพื่อเพิ่มปริมาณรําข้าวที่จะผสมลงในผลิตภัณฑ์ จึงทําการผลิตแผ่นรําข้าวอบแห้ง โดยใช้การอบแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ (drum drying process) สูตรที่เหมาะสมประกอบด้วยรําข้าวสกัดน้ำมัน แป้งข้าวกล้องพันธุ์ปทุมธานี 1 และน้ำ ในอัตราส่วน 6:6:30 โดยน้ำหนัก การทําผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องพองอัดแท่ง เริ่มจากการเคลือบข้าวกล้องพอง โดยใช้ส่วนผสมน้ำตาลบดละเอียด 20 กรัม นมผง 22 กรัม เกลือ 1.75 กรัม กลูโคสไซรับ 7.5 กรัม และน้ำร้อน 15 มล. ต่อข้าวพอง 100 กรัม สําหรับส่วนผสมอื่น ประกอบด้วย ข้าวโพดอบแห้ง 10 กรัม ถั่วเขียว ทอดกรอบ 40 กรัม ข้าวตอก 10 กรัม งาขาว/งาดําคั่ว 10 กรัม แผ่นรําข้าวอบกรอบ 10 กรัม และข้าวกล้องพอง 100 กรัม โดยมีเดกซ์ตริน 20 กรัม นมผง 60 กรัม และน้ำร้อน 50 มล. คลุกเคล้าลงไปเพื่อให้รสชาติ และทําให้ผลิตภัณฑ์เกาะติดกัน เมื่อผ่านการอัดเป็นแท่งจะได้ผลิตภัณฑ์ข้าวพองอัดแท่งผสมรําข้าวสกัดน้ำมันพร้อมบริโภค
Article Details
References
ดวงใจ มาลัย และบุญทวี กุยยกานนท์ เบทส์. 2544. การประเมินคุณภาพของรำข้าวเจ้า เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. วารสารโภชนาการ 36 (4) : 29-39.
วัชรี สุขวิวัฒน์ และสุนันทา วงศ์ปิยชน. 2551. ผลิตภัณฑ์ข้าวพองอัดแท่ง. หน้า 374-384. ใน : เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี2551. เล่มที่ 2/2 สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว 8 - 10 เมษายน 2551 โรงแรมชลจันทร์ พัทยารีสอร์ท ชลบุรี.
AOAC. 1990. Official Method of Analysis. 15 thed. Association of Official Analitical Chemist, Washington D.C. 1298 p.
Kreuzer, H. 2000. Dividends from Rice. Food Product Design, Weeks Publishing Company, USA Rice Foundation, Texas.
Villareal, C.P. and B.O. Juliano. 1989. Variability in contents of thiamine and riboflavin in brown rice, crude oil in brown rice and bran-polish and silicon in hull of IR rices. Plant Foods Hum. Nutr. 39 : 287-297.