สิทธิเกษตรกรเกี่ยวกับพันธุกรรมพืช

Main Article Content

สงกรานต์ จิตรากร

บทคัดย่อ

สิทธิเกษตรกรเกี่ยวกับพันธุกรรมพืช เกิดจากความต้องการความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ใช้และผู้ให้ทรัพยากรพันธุกรรมพืช องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติให้การยอมรับสิทธิเกษตรกร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532 โดยให้ความหมายของสิทธิเกษตรกรว่า "สิทธิอันเกิดจากการมีส่วนร่วมของเกษตรกรจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในการ อนุรักษ์ ปรับปรุงพันธุ์ และการทําให้เกิดการดํารงไว้ซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมพืช" สิทธิดังกล่าวครอบคลุมถึงชุมชนเกษตรกรทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเกษตรกรและชุมชนเกษตรกรจากประเทศนั้นๆ จะได้ร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต จากการใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช สิทธิเกษตรกรได้ถูกกําหนดไว้ในมาตรา 9 ของสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร (ITPGRFA) ประเทศอินเดียและเปรูได้ กําหนดสิทธิเกษตรกรเกี่ยวกับพันธุกรรมพืชค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ และการขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช แต่ประเทศไทยไม่มีข้อความใดที่กล่าวถึงสิทธิเกษตรกรโดยตรงและชัดเจน ถึงแม้จะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 หรือพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 ก็ไม่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับสิทธิเกษตรกรที่ชัดเจน

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงพาณิชย์. 2551. ข้อมูลกฎหมายคุ้มครองพันธ์ุพืชของต่างประเทศ. Available source : http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php. 26 กรกฎาคม 2551.

กองคุ้มครองพันธ์ุพืช. 2542. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธ์ุพืช พ.ศ.2542. กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 30 หน้า.

มูลนิธิชีววิถี. 2551. ประชาชนกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ. Available source : http://www.biothai.net/web/print.php. 28 พฤษภาคม 2551.

Cullet, P. and R. Kolluru. 2003. Plant Variety Protection and Farmers' Rights. Towards a Broader Understanding. Delhi Law Review, Vol.24 : 41-59.

FAO. 1989. Report of the conference of FAO. Twentyfifth Session. Rome. 11-29 November 1989. C 1989/REP.

ITPGRFA. 2008. Available source : http://www.planttreaty.org /text_en.htm. April 26, 2008.

Mooney, P.R. 1983. The law of seed : Another development and plant genetic resources. Development Dialogue Vol. 1-2.

Muller, R. 2006. The farmers' rights projects - background study 3: farmers' rights in Peru - A case study. FNI report 5/2006.

Ramanna, A. 2006. The farmers' rights projects - background study 4 : farmers' rights in India - A case study. FNI report 6/2006.

Ravi, S. B. 2007. Realization of Farmers' Rights: Status and Key Issues. Informal International Consultation on Farmers' Rights. 18-20 Sept. 2007, Lusaka, Zambia. pp. 27-28.

UPOV. 2006. International Convention for the Protection of New Varieties of Plants of December 2, 1961 as revised at Geneva on October 23, 1978 and on March 19, 1991. 31p.

Visser, B. and N. Louwaars. 2007. Informal International Consultation on Farmers' Rights. 18-20 September 2007. pp. 57-67.